ศูนย์ข่าวศรีราชา - สรุปตัวเลขส่งเสริมการลงทุนช่วงไตรมาส 2 ของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 พบ จ.ระยอง ครองแชมป์ 163 โครงการ 1.31 แสนล้านบาท ชลบุรี 150 โครงการ 4.72 หมื่นล้านบาท
วันนี้ (15 ส.ค.) ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สรุปภาวะการลงทุนในภาคตะวันออก ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556 พบว่า จ.ระยอง ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด 163 โครงการ วงเงินลงทุน 1.31 แสน ล้านบาท อันดับ 2 คือ จ.ชลบุรี 150 โครงการ วงเงินลงทุ 4.72 หมื่นล้านบาท อันดับ 3 จ.ปราจีนบุรี 43 โครงการ วงเงินลงทุน 1.37 หมื่นล้านบาท
โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติสะสมถึงไตรมาส 2 รวม 386 โครงการ วงเงินลงทุน 2.06 แสนล้านบาท จ้างงาน 37,585 คน ส่วนแนวโน้มการลงทุนในภาคตะวันออก คาดว่าจะขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และกิจการสาธารณูปโภค
สำหรับภาพรวมการลงทุนในภาคตะวันออก ไตรมาส 2 ยังเป็นการลงทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะสำหรับยานยนต์ และส่วนประกอบรถยนต์ รองลงมาได้แก่ โครงการผลิตเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก ด้านบริการลอจิสติกส์ และกิจการเขตอุตสาหกรรม โดยกิจการตั้งอยู่ใน จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี เป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจมาลงทุนในภาคตะวันออก เป็นเพราะระบบสาธารณูปโภคที่มีความพร้อม และยังมีผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสนับสนุนกัน เห็นได้ชัดว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนว่ามีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นถึง 40% วงเงินลงทุนสูงขึ้นถึง 78% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีแนวโน้มขยายการผลิตซึ่งประเทศไทยคาดหวังที่จะผลิตยานยนต์ 3 ล้านคัน ภายในปี 2558 เพื่อติด 1 ใน 10 ประเทศผู้ผลิต และส่งออกยานยนต์
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปี 2556 ของภาคตะวันออก เชื่อว่ายังมีการขยายตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักร โลหะ ปิโตรเคมี กระดาษและพลาสติก อุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ยังขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิต
วันนี้ (15 ส.ค.) ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สรุปภาวะการลงทุนในภาคตะวันออก ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556 พบว่า จ.ระยอง ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด 163 โครงการ วงเงินลงทุน 1.31 แสน ล้านบาท อันดับ 2 คือ จ.ชลบุรี 150 โครงการ วงเงินลงทุ 4.72 หมื่นล้านบาท อันดับ 3 จ.ปราจีนบุรี 43 โครงการ วงเงินลงทุน 1.37 หมื่นล้านบาท
โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติสะสมถึงไตรมาส 2 รวม 386 โครงการ วงเงินลงทุน 2.06 แสนล้านบาท จ้างงาน 37,585 คน ส่วนแนวโน้มการลงทุนในภาคตะวันออก คาดว่าจะขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และกิจการสาธารณูปโภค
สำหรับภาพรวมการลงทุนในภาคตะวันออก ไตรมาส 2 ยังเป็นการลงทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะสำหรับยานยนต์ และส่วนประกอบรถยนต์ รองลงมาได้แก่ โครงการผลิตเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก ด้านบริการลอจิสติกส์ และกิจการเขตอุตสาหกรรม โดยกิจการตั้งอยู่ใน จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี เป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจมาลงทุนในภาคตะวันออก เป็นเพราะระบบสาธารณูปโภคที่มีความพร้อม และยังมีผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสนับสนุนกัน เห็นได้ชัดว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนว่ามีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นถึง 40% วงเงินลงทุนสูงขึ้นถึง 78% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีแนวโน้มขยายการผลิตซึ่งประเทศไทยคาดหวังที่จะผลิตยานยนต์ 3 ล้านคัน ภายในปี 2558 เพื่อติด 1 ใน 10 ประเทศผู้ผลิต และส่งออกยานยนต์
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปี 2556 ของภาคตะวันออก เชื่อว่ายังมีการขยายตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักร โลหะ ปิโตรเคมี กระดาษและพลาสติก อุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ยังขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิต