ฉะเชิงเทรา -“สมหมาย อุ้ยหะ” แม่ชีผู้จุดแสงเทียนส่องสว่าง บนเส้นทางธรรม หวังนำวิถีชุมชนดั้งเดิมกลับคืนสู่ท้องถิ่น
หากเทียนพรรษาที่บรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชน เพียงแต่พากันนำมาถวายวัดตามประเพณีทิ้งไว้ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา แต่ยังไร้คนจุดส่องสว่างนำทางสู่ทางธรรมแล้วนั้น คุณประโยชน์ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามความหมายในประเพณี เช่นเดียวกันกับประกายแสงสว่างแห่งทางธรรม หากยังไร้คนจุด ขาดผู้ชี้แนะ และผู้ปฏิบัติ ก็คงไม่ต่างอะไรกับธรรมมะที่ไม่อาจส่องประกายแสงนำทางสว่างสู่ชีวิตให้กับผู้ใดได้
แม่ชี“สมหมาย อุ้ยหะ” จึงได้ริเริ่มก่อประกายแสงแห่งความศรัทธา ด้วยการรื้อฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ที่สังคมคนยุคใหม่ห่างเหิน เสริมสร้างความอบอุ่นสู่สังคมครอบครัวในโลกภายนอก จนได้รับการยอมรับถึงความพยายาม ที่จะนำวิถีชุมชนดั้งเดิมกลับคืนสู่ท้องถิ่น จนสุดท้ายกลายเป็นการคืนชีพ ยืดรอยต่อทางวัฒนธรรมให้อยู่รอดต่อไปได้ในที่สุด
แม่ชีสมหมาย อุ้ยหะ วัย 53 ปี พื้นเพดั้งเดิมถิ่นกำเนิดนั้น เป็นชาว ต.หนองพระ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เมื่อกว่า 12 ปีก่อนได้เบนเส้นทางเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ด้วยการหันหน้าเข้าสู่ทางธรรม เข้าบวชเป็นสาวกในพระศาสนา เป็นแม่ชีที่สำนักวัดปากน้ำ ย่านเขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ แต่ต่อมาได้ย้ายวิถีทางในการเจริญธรรม ในการต่อยอดช่วยเผยแผ่พระศาสนา ได้เข้ามาอยู่ยังสำนักปฏิบัติธรรมในเขตวัดต่างๆ ย่าน จ.ฉะเชิงเทรา จนในที่สุดเมื่อช่วงต้นปี 2552 (20 ม.ค.52) จึงได้ย้ายเข้ามาปักหลัก เป็นผู้มีมานะในการพลิกฟื้นคืนวัฒนธรรมการเรียนรู้ สู่ประเพณีวิถีชุมชน ยังที่ วัดสายชล ณ รังษี ตั้งอยู่พื้นที่ ม.2 ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ด้วยเหตุทางสังคมบ้านเมือง ที่ประเพณีรูปแบบใหม่เริ่มรุกคืบกลืนกินวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทยจนแทบสูญสลาย คนรุ่นใหม่เริ่มใส่ใจต่อสิ่งปลุกเร้ารอบด้านจากวัฒนธรรมนำเข้า ผู้เฒ่า ผู้แก่ คนในวัยชราหมดสิ้นเรี่ยวแรง และหนทางที่จะเสริมปัญญาให้แก่ลูกหลานในการสานต่อรอยอดีตให้คงไว้สู่คนรุ่นหลังได้ชื่นชม จึงทำให้ทั้งสถาปัตยกรรมโบราณสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ รวมถึงงานประเพณีดั้งเดิมของคนในชุมชนถูกทิ้งห่าง ไร้คนสืบทอดดูแล
สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นภาพรอยลึก แห่งความเสื่อมโทรม จึงกลายมาเป็นภารกิจอันสำคัญยิ่งของแม่ชีสมหมาย ที่มีแนวทางที่จะยึดยื้อช่วยเหนี่ยวรั้ง เก็บนำเบ้าหลอมทางสังคมที่สำคัญของคนรุ่นเก่าก่อนเหล่านี้เอาไว้ ไม่ให้สิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชุมชน ต้องมาสูญสลายไปในยุคนี้ หลักสำคัญของแม่ชีในวัยกลางคนผู้นี้ คือ ความท้าทายต่อการทวงคืนความอบอุ่นของชุมชนให้หวนคืนกลับมา ด้วยการเร่งสืบสานคงไว้ก่อนถึงกาลดับสลาย
จากวันที่เริ่มก้าวเข้าสู่ชุมชน แม่ชีได้เริ่มภารกิจฟื้นรอยประเพณีเก่า ด้วยการเปลี่ยนจากหลอดไฟฟ้าส่องสว่างทางในงานบุญประเพณี มาเป็นการจุดโคมตะเกียงไฟ และกะลาเทียน ปักหลักเรียงรายแทนธงเป็นทิวแถว ซึ่งถือเป็นภาพที่ดูโดดเด่นสะดุดตา ท้าทายความแปลกใจให้แก่ผู้คนในสังคมยุคใหม่ที่สัญจรผ่าน สลับกับภาพของสถูป เจดีย์ และโบสถ์ยุคทรงโบราณอายุเก่าแก่ ช่วยสร้างบรรยากาศแบบย้อนสมัย ที่ตั้งตะง่านอยู่ในบริเวณวัดมานานนับร้อยๆ ปีได้เป็นอย่างดี
นับวันจึงทำให้การเดินตามทวงคืนวัฒนธรรมแบบเก่าเริ่มเห็นผล เมื่อมีผู้คนเดินผ่านมาจนนำไปสู่การบอกต่อ และเกิดเป็นความอยากรู้อยากเห็น ต่อเนื่องให้กลายมาเป็นความศรัทธาที่เพิ่มทวีคูณ จึงนำไปสู่ความมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นทางสังคม จากวันคืนที่ประกายแสงเทียนเพียงไม่กี่เล่ม ทอแสงอย่างริบหรี่ท่ามกลางกลุ่มคนสูงวัยเพียงไม่กี่สิบชีวิต เดินถือสาดส่องวนเวียนรอบอุโบสถ์ ในการประกอบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระศาสนา กลับกลายมาเป็นแสงเทียนแห่งธรรมระยับตา ลุกโชนวนเวียนจนเต็มล้นกำแพงแก้ว สิ่งที่ปรากฏให้เห็น คือ ภาพแห่งความอบอุ่นของชุมชน ที่เต็มพร้อมไปด้วยความเอิบอิ่มในงานบุญ
จากภารกิจแรกในการเรียกคนเข้าวัด สิ่งที่แม่ชีได้สานต่อยอดขึ้นมาอีกระยะ คือ การรื้อฟื้นประเพณีลอยกระทงสายแบบดั้งเดิมที่เคยมีมาแต่โบราณ ของคนชุมชนตำบลบ้านใหม่ (วัดแหลมบน) ที่ปล่อยลอยสายกระทงทอดยาวไกลลงไปในสายน้ำ ตามลำน้ำบางปะกง ให้เห็นแสงระยิบ ระยับ ประกอบกับการอนุรักษ์ผืนน้ำ ด้วยการสนับสนุนให้คู่หนุ่มสาว แขกเหรื่อประชาชน และชาวบ้านทั่วไป ได้หันมาลอยกระทงตามประเพณีด้วยกะลา แทนการใช้วัสดุที่ยากต่อการย่อยสลายเองโดยธรรมชาติ
ถึงวันนี้ วัดสายชล ณ.รังษี ได้กลายมาเป็นอีกมุมหนึ่งทางวัฒนธรรมที่แปลกตา ควรค่าแก่การอนุรักษ์แบบไม่เหมือนใครในลุ่มน้ำสายตะวันออก ทั้งการเคาท์ดาวน์ปีใหม่ที่สังคมภายนอกพากันจุดพลุยิงตะไล จัดงานคอนเสิร์ตอึกทึก เปลี่ยนมาเป็นการสวดมนต์ข้ามปี และงานประเพณีบุญทางพระศาสนาที่ห่างเหินให้กลายมาเป็นความนิยมธรรมอย่างเป็นทวีคูณ ทั้งการจัดบวชชีพราหมณ์ การจัดกิจกรรมสวดมนต์นั่งสมาธิ รักษาศีล รวมทั้งการช่วยชี้แนะสนทนาธรรมสู่ประชาชนผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ ตามหลักแนวทางของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ
ที่ผ่านมามีทั้งผู้ที่ได้รับทุกข์ และผู้ที่อยากจะพ้นจากทุกข์ รวมถึงผู้ที่บอบช้ำทั้งทางด้านจิตใจ และหน้าที่การงาน ได้หันหน้ามาพึ่งพาในทางที่เยือกเย็น ในที่สงบ แม่ชีก็ยังได้ช่วยชำระจิต ล้างใจที่ว้าวุ่นให้สงบ สะอาด และสบาย ให้แก่ผู้ที่ตกไปอยู่ในความอ่อนไหวเหล่านั้นได้ใช้เป็นที่พึ่งพิง และถือเป็นภารกิจอีกด้านหนึ่งของนักบวชด้วยเช่นกัน
แม่ชีสมหมาย จึงถือได้ว่า เป็นบุคคลที่มีคุณค่าในเชิงการอนุรักษ์ ทั้งด้านสังคมประเพณี และวัฒนธรรม ตลอดจนการอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้เดินควบคู่เคียงอยู่ด้วยกันต่อไปได้ ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคแห่งกาลเวลาสมัยใหม่ จนสามารถปลุกฟื้นคืนประเพณีเก่าที่เกือบจะสูญสลายให้หวนคืนชีพกลับมาได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นเส้นทางแห่งการสร้างความสุข สร้างรอยยิ้ม สร้างความอบอุ่นให้กับสังคม ด้วยการดึงคนกลับบ้าน
หากเทียนพรรษาที่บรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชน เพียงแต่พากันนำมาถวายวัดตามประเพณีทิ้งไว้ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา แต่ยังไร้คนจุดส่องสว่างนำทางสู่ทางธรรมแล้วนั้น คุณประโยชน์ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามความหมายในประเพณี เช่นเดียวกันกับประกายแสงสว่างแห่งทางธรรม หากยังไร้คนจุด ขาดผู้ชี้แนะ และผู้ปฏิบัติ ก็คงไม่ต่างอะไรกับธรรมมะที่ไม่อาจส่องประกายแสงนำทางสว่างสู่ชีวิตให้กับผู้ใดได้
แม่ชี“สมหมาย อุ้ยหะ” จึงได้ริเริ่มก่อประกายแสงแห่งความศรัทธา ด้วยการรื้อฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ที่สังคมคนยุคใหม่ห่างเหิน เสริมสร้างความอบอุ่นสู่สังคมครอบครัวในโลกภายนอก จนได้รับการยอมรับถึงความพยายาม ที่จะนำวิถีชุมชนดั้งเดิมกลับคืนสู่ท้องถิ่น จนสุดท้ายกลายเป็นการคืนชีพ ยืดรอยต่อทางวัฒนธรรมให้อยู่รอดต่อไปได้ในที่สุด
แม่ชีสมหมาย อุ้ยหะ วัย 53 ปี พื้นเพดั้งเดิมถิ่นกำเนิดนั้น เป็นชาว ต.หนองพระ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เมื่อกว่า 12 ปีก่อนได้เบนเส้นทางเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ด้วยการหันหน้าเข้าสู่ทางธรรม เข้าบวชเป็นสาวกในพระศาสนา เป็นแม่ชีที่สำนักวัดปากน้ำ ย่านเขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ แต่ต่อมาได้ย้ายวิถีทางในการเจริญธรรม ในการต่อยอดช่วยเผยแผ่พระศาสนา ได้เข้ามาอยู่ยังสำนักปฏิบัติธรรมในเขตวัดต่างๆ ย่าน จ.ฉะเชิงเทรา จนในที่สุดเมื่อช่วงต้นปี 2552 (20 ม.ค.52) จึงได้ย้ายเข้ามาปักหลัก เป็นผู้มีมานะในการพลิกฟื้นคืนวัฒนธรรมการเรียนรู้ สู่ประเพณีวิถีชุมชน ยังที่ วัดสายชล ณ รังษี ตั้งอยู่พื้นที่ ม.2 ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
ด้วยเหตุทางสังคมบ้านเมือง ที่ประเพณีรูปแบบใหม่เริ่มรุกคืบกลืนกินวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทยจนแทบสูญสลาย คนรุ่นใหม่เริ่มใส่ใจต่อสิ่งปลุกเร้ารอบด้านจากวัฒนธรรมนำเข้า ผู้เฒ่า ผู้แก่ คนในวัยชราหมดสิ้นเรี่ยวแรง และหนทางที่จะเสริมปัญญาให้แก่ลูกหลานในการสานต่อรอยอดีตให้คงไว้สู่คนรุ่นหลังได้ชื่นชม จึงทำให้ทั้งสถาปัตยกรรมโบราณสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ รวมถึงงานประเพณีดั้งเดิมของคนในชุมชนถูกทิ้งห่าง ไร้คนสืบทอดดูแล
สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นภาพรอยลึก แห่งความเสื่อมโทรม จึงกลายมาเป็นภารกิจอันสำคัญยิ่งของแม่ชีสมหมาย ที่มีแนวทางที่จะยึดยื้อช่วยเหนี่ยวรั้ง เก็บนำเบ้าหลอมทางสังคมที่สำคัญของคนรุ่นเก่าก่อนเหล่านี้เอาไว้ ไม่ให้สิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชุมชน ต้องมาสูญสลายไปในยุคนี้ หลักสำคัญของแม่ชีในวัยกลางคนผู้นี้ คือ ความท้าทายต่อการทวงคืนความอบอุ่นของชุมชนให้หวนคืนกลับมา ด้วยการเร่งสืบสานคงไว้ก่อนถึงกาลดับสลาย
จากวันที่เริ่มก้าวเข้าสู่ชุมชน แม่ชีได้เริ่มภารกิจฟื้นรอยประเพณีเก่า ด้วยการเปลี่ยนจากหลอดไฟฟ้าส่องสว่างทางในงานบุญประเพณี มาเป็นการจุดโคมตะเกียงไฟ และกะลาเทียน ปักหลักเรียงรายแทนธงเป็นทิวแถว ซึ่งถือเป็นภาพที่ดูโดดเด่นสะดุดตา ท้าทายความแปลกใจให้แก่ผู้คนในสังคมยุคใหม่ที่สัญจรผ่าน สลับกับภาพของสถูป เจดีย์ และโบสถ์ยุคทรงโบราณอายุเก่าแก่ ช่วยสร้างบรรยากาศแบบย้อนสมัย ที่ตั้งตะง่านอยู่ในบริเวณวัดมานานนับร้อยๆ ปีได้เป็นอย่างดี
นับวันจึงทำให้การเดินตามทวงคืนวัฒนธรรมแบบเก่าเริ่มเห็นผล เมื่อมีผู้คนเดินผ่านมาจนนำไปสู่การบอกต่อ และเกิดเป็นความอยากรู้อยากเห็น ต่อเนื่องให้กลายมาเป็นความศรัทธาที่เพิ่มทวีคูณ จึงนำไปสู่ความมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นทางสังคม จากวันคืนที่ประกายแสงเทียนเพียงไม่กี่เล่ม ทอแสงอย่างริบหรี่ท่ามกลางกลุ่มคนสูงวัยเพียงไม่กี่สิบชีวิต เดินถือสาดส่องวนเวียนรอบอุโบสถ์ ในการประกอบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระศาสนา กลับกลายมาเป็นแสงเทียนแห่งธรรมระยับตา ลุกโชนวนเวียนจนเต็มล้นกำแพงแก้ว สิ่งที่ปรากฏให้เห็น คือ ภาพแห่งความอบอุ่นของชุมชน ที่เต็มพร้อมไปด้วยความเอิบอิ่มในงานบุญ
จากภารกิจแรกในการเรียกคนเข้าวัด สิ่งที่แม่ชีได้สานต่อยอดขึ้นมาอีกระยะ คือ การรื้อฟื้นประเพณีลอยกระทงสายแบบดั้งเดิมที่เคยมีมาแต่โบราณ ของคนชุมชนตำบลบ้านใหม่ (วัดแหลมบน) ที่ปล่อยลอยสายกระทงทอดยาวไกลลงไปในสายน้ำ ตามลำน้ำบางปะกง ให้เห็นแสงระยิบ ระยับ ประกอบกับการอนุรักษ์ผืนน้ำ ด้วยการสนับสนุนให้คู่หนุ่มสาว แขกเหรื่อประชาชน และชาวบ้านทั่วไป ได้หันมาลอยกระทงตามประเพณีด้วยกะลา แทนการใช้วัสดุที่ยากต่อการย่อยสลายเองโดยธรรมชาติ
ถึงวันนี้ วัดสายชล ณ.รังษี ได้กลายมาเป็นอีกมุมหนึ่งทางวัฒนธรรมที่แปลกตา ควรค่าแก่การอนุรักษ์แบบไม่เหมือนใครในลุ่มน้ำสายตะวันออก ทั้งการเคาท์ดาวน์ปีใหม่ที่สังคมภายนอกพากันจุดพลุยิงตะไล จัดงานคอนเสิร์ตอึกทึก เปลี่ยนมาเป็นการสวดมนต์ข้ามปี และงานประเพณีบุญทางพระศาสนาที่ห่างเหินให้กลายมาเป็นความนิยมธรรมอย่างเป็นทวีคูณ ทั้งการจัดบวชชีพราหมณ์ การจัดกิจกรรมสวดมนต์นั่งสมาธิ รักษาศีล รวมทั้งการช่วยชี้แนะสนทนาธรรมสู่ประชาชนผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ ตามหลักแนวทางของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ
ที่ผ่านมามีทั้งผู้ที่ได้รับทุกข์ และผู้ที่อยากจะพ้นจากทุกข์ รวมถึงผู้ที่บอบช้ำทั้งทางด้านจิตใจ และหน้าที่การงาน ได้หันหน้ามาพึ่งพาในทางที่เยือกเย็น ในที่สงบ แม่ชีก็ยังได้ช่วยชำระจิต ล้างใจที่ว้าวุ่นให้สงบ สะอาด และสบาย ให้แก่ผู้ที่ตกไปอยู่ในความอ่อนไหวเหล่านั้นได้ใช้เป็นที่พึ่งพิง และถือเป็นภารกิจอีกด้านหนึ่งของนักบวชด้วยเช่นกัน
แม่ชีสมหมาย จึงถือได้ว่า เป็นบุคคลที่มีคุณค่าในเชิงการอนุรักษ์ ทั้งด้านสังคมประเพณี และวัฒนธรรม ตลอดจนการอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้เดินควบคู่เคียงอยู่ด้วยกันต่อไปได้ ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคแห่งกาลเวลาสมัยใหม่ จนสามารถปลุกฟื้นคืนประเพณีเก่าที่เกือบจะสูญสลายให้หวนคืนชีพกลับมาได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นเส้นทางแห่งการสร้างความสุข สร้างรอยยิ้ม สร้างความอบอุ่นให้กับสังคม ด้วยการดึงคนกลับบ้าน