อุบลราชธานี - กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี จับมือชุมชนล่อแหลมร่วมต้านอาชญากรรม โดยปรับแนวคิดจากตั้งรับเป็นฝ่ายรุก เพื่อควบคุมพื้นที่ไม่ให้เกิดอาชญากรรม
วันนี้ (14 มิ.ย.) พ.ต.อ.อภิศักดิ์ เดชะคำภู รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับชาวชุมชนดอนปู่เจ้าทองแดง 2 ถนนพลแพน ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี เปิดใช้สถานีตำรวจชุมชนตามโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ประชาชน”
สำหรับชุมชนดอนปู่เจ้าทองแดง 2 มีผู้อยู่อาศัย จำนวน 157 ครอบครัว มีประชากรรวม 526 คน อดีตชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งเพาะอาชญากรรม เนื่องจากมีพื้นที่ล่อแหลมหลายจุด แต่ต่อมา ชาวชุมชนได้ร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็ง จึงได้รับการเสนอให้เป็นชุมชนตัวอย่างด้านการป้องกันอาชญากรรม
พ.ต.อ.อภิศักดิ์ เดชะคำภู รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวยอมรับว่า การป้องกันอาชญากรรมลำพังเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนช่วยดูแล เนื่องจากเป็นผู้อยู่ใกล้ชิด ทำให้ทราบการเคลื่อนไหวของกลุ่มอาชญากรรมนอกพื้นที่ที่แฝงตัวเข้ามา และการควบคุมอาชญากรรม หากใช้แนวคิดแบบเก่าคือ ตั้งรับรอปัญหาเกิดจึงติดตามจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี
ซึ่งวิธีคิดดังกล่าว ทำให้สูญเสียกำลังพล และงบประมาณ แต่การทำงานร่วมกับชุมชนจะเป็นการทำงานเชิงรุก เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมพื้นที่ไม่ให้เกิดอาชญากรรมขึ้นโดยง่าย ช่วยลดปัญหาอาชญากรรมทั้งต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจในสังคมได้อย่างดี
วันนี้ (14 มิ.ย.) พ.ต.อ.อภิศักดิ์ เดชะคำภู รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับชาวชุมชนดอนปู่เจ้าทองแดง 2 ถนนพลแพน ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี เปิดใช้สถานีตำรวจชุมชนตามโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ประชาชน”
สำหรับชุมชนดอนปู่เจ้าทองแดง 2 มีผู้อยู่อาศัย จำนวน 157 ครอบครัว มีประชากรรวม 526 คน อดีตชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งเพาะอาชญากรรม เนื่องจากมีพื้นที่ล่อแหลมหลายจุด แต่ต่อมา ชาวชุมชนได้ร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็ง จึงได้รับการเสนอให้เป็นชุมชนตัวอย่างด้านการป้องกันอาชญากรรม
พ.ต.อ.อภิศักดิ์ เดชะคำภู รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวยอมรับว่า การป้องกันอาชญากรรมลำพังเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนช่วยดูแล เนื่องจากเป็นผู้อยู่ใกล้ชิด ทำให้ทราบการเคลื่อนไหวของกลุ่มอาชญากรรมนอกพื้นที่ที่แฝงตัวเข้ามา และการควบคุมอาชญากรรม หากใช้แนวคิดแบบเก่าคือ ตั้งรับรอปัญหาเกิดจึงติดตามจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี
ซึ่งวิธีคิดดังกล่าว ทำให้สูญเสียกำลังพล และงบประมาณ แต่การทำงานร่วมกับชุมชนจะเป็นการทำงานเชิงรุก เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมพื้นที่ไม่ให้เกิดอาชญากรรมขึ้นโดยง่าย ช่วยลดปัญหาอาชญากรรมทั้งต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจในสังคมได้อย่างดี