มหาสารคาม-สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคามติวเข้มเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ก่อนนำไปถ่ายทอดเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพสินค้าเกษตร เตรียมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
รายงานข่าวแจ้งว่า ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการเสวนาการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัด จำนวน 140 คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวและมันสำปะหลังด้วยวิธีผสมผสาน
โดยเฉพาะการใช้เชื้อราที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าว การใช้น้ำส้มควันไม้ และแมลงช้างปีกใสควบคุมการแพร่ระบาดเพลี้ยแป้งสีชมพูในแปลงมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีแทนการใช้สารเคมี และการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง เตรียมความพร้อมการแข่งขันด้านการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนในปี 2558
โดยมีวิทยากรจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่นให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เพื่อนำไปต่อยอดถ่ายทอดให้เกษตรกรทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดมหาสารคามในหมู่บ้านนำร่องด้านข้าว 13 หมู่บ้าน เกษตรกร 500 คน และมันสำปะหลัง 26 หมู่บ้าน เกษตรกร 1,000 คน โดยร่วมกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนทั้ง 39 ศูนย์ก่อนดำเนินกิจกรรมย่อย ซึ่งมีสำนักงานเกษตรอำเภอเป็นผู้ดำเนินการ
ทั้งนี้ คาดหวังว่าการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีจะช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้ ทั้งจากปัญหาภัยธรรมชาติ ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ำ รวมถึงปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
รายงานข่าวแจ้งว่า ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการเสวนาการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัด จำนวน 140 คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวและมันสำปะหลังด้วยวิธีผสมผสาน
โดยเฉพาะการใช้เชื้อราที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าว การใช้น้ำส้มควันไม้ และแมลงช้างปีกใสควบคุมการแพร่ระบาดเพลี้ยแป้งสีชมพูในแปลงมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธีแทนการใช้สารเคมี และการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง เตรียมความพร้อมการแข่งขันด้านการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนในปี 2558
โดยมีวิทยากรจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่นให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เพื่อนำไปต่อยอดถ่ายทอดให้เกษตรกรทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดมหาสารคามในหมู่บ้านนำร่องด้านข้าว 13 หมู่บ้าน เกษตรกร 500 คน และมันสำปะหลัง 26 หมู่บ้าน เกษตรกร 1,000 คน โดยร่วมกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนทั้ง 39 ศูนย์ก่อนดำเนินกิจกรรมย่อย ซึ่งมีสำนักงานเกษตรอำเภอเป็นผู้ดำเนินการ
ทั้งนี้ คาดหวังว่าการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีจะช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้ ทั้งจากปัญหาภัยธรรมชาติ ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ำ รวมถึงปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง