ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผอ.อพท. มอบพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา สานต่อนโยบายจัดตั้งศาลท่องเที่ยว อาสาช่วยประสานภาคีเครือข่าย เตรียมจัดประชุมฟังความคิดเห็นภาคเอกชน เก็บข้อมูลเสนอหน่วยงานรัฐ พร้อมโยกงบประจำปี 2556 ตั้งศูนย์บริการข้อมูลทางกฎหมายไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา และพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.3) นำนโยบายการจัดตั้งศาลท่องเที่ยวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ไปขยายผลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ อพท. ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของ อพท. ในเรื่องของการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว
เบื้องต้นเห็นชอบให้ สพพ.3 เตรียมจัดประชุมกับผู้ประกอบการ และภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยว เพื่อรับฟังปัญหา พร้อมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อประเด็นการจัดตั้งศาลท่องเที่ยว นอกจากนั้น ยังจะจัดกิจกรรมอบรม และสัมมนาผู้ประกอบการและภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยว โดยเชิญผู้แทนศาลยุติธรรม อัยการ มาให้ความรู้ทางกฎหมาย และสร้างความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง
“อพท. ได้รับมอบหมายให้ประสานและพัฒนาทั้งเมืองพัทยาซึ่งรวมพื้นที่เกาะล้าน เกาะไผ่ แล้วยังมีอีก 9 ตำบล ในพื้นที่เชื่อมโยง คือ บางละมุง ตะเคียนเตี้ย โป่ง ห้วยใหญ่ นาจอมเทียน เขาชีจรรย์ หนองปลาไหล เขาไม้แก้ว และเทศบาลเมืองหนองปรือ ซึ่งทุกพื้นที่จะได้รับการบริหารการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หากทุกฝ่ายเข้าใจและบูรณาการร่วมกันในเรื่องการดูแลนักท่องเที่ยว จะยิ่งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับพื้นที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวก็เกิดความมั่นใจในชีวิต และทรัพย์สิน”
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้จัดการพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.3) กล่าวว่า สพพ. 3 อยู่ระหว่างการประสานงานไปยังหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อเตรียมจัดประชุมหารือ และรับฟังความคิดเห็น คาดว่าจะจัดประชุมได้ราวปลายเดือนมิถุนายน หรือต้นเดือนกรกฎาคมศกนี้ จากนั้นจะประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐนำความคิดเห็น และปัญหาที่เป็นข้อมูลในการจัดตั้งศาลท่องเที่ยว รวมถึงหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ทั้งนี้ ในระยะสั้นจะโยกเงินจากงบประจำปี 2556 จัดทำศูนย์บริการข้อมูลทางกฎหมาย สำหรับให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว หรือเจ้าของคดี ในการแปลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดี ตลอดจนสำนวนคดีต่างๆ รวมถึงจัดหาทนายความเพื่อว่าความในคดี โดยหาแนวทางความร่วมมือกับเมืองพัทยา กระทรวงยุติธรรม สภาทนายความ
อย่างไรก็ตาม รายงานจากกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว ระบุว่าภาพรวมปี 2555 มีนักท่องเที่ยวแจ้งจับ และดำเนินคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีท่องเที่ยว 3,805 คดี เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับปี 2554 มีการจับกุมและดำเนินคดีจำนวน 2,527 คดี ซึ่งคดีที่มีการกระทำผิดและจับได้อันดับ 1 คือ การกระทำผิดพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จับได้ 1,436 คดี เพิ่มขึ้น 1,067% จากปี 2554 ซึ่งมีการจับกุม จำนวน 123 คดี อันดับ 2 คือ คดีก่อความวุ่นวาย วิ่งราว จับได้ จำนวน 830 คดี ลดลงจากปี 2554 ราว 11% จาก 943 คดี ในปี 2554 และอันดับ 3 คือ ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 455 คดี เพิ่มขึ้น 42% จากปี 2554 ที่มีจำนวน 263 คดี
สำหรับเฉพาะเมืองพัทยา ในปี 2555 สถิติคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเมืองพัทยา มีแนวโน้มที่ลดลง จากเดิม 20-30 คดีต่อวัน นับจากที่มีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดขึ้น
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา และพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.3) นำนโยบายการจัดตั้งศาลท่องเที่ยวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ไปขยายผลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ อพท. ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของ อพท. ในเรื่องของการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว
เบื้องต้นเห็นชอบให้ สพพ.3 เตรียมจัดประชุมกับผู้ประกอบการ และภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยว เพื่อรับฟังปัญหา พร้อมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อประเด็นการจัดตั้งศาลท่องเที่ยว นอกจากนั้น ยังจะจัดกิจกรรมอบรม และสัมมนาผู้ประกอบการและภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยว โดยเชิญผู้แทนศาลยุติธรรม อัยการ มาให้ความรู้ทางกฎหมาย และสร้างความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง
“อพท. ได้รับมอบหมายให้ประสานและพัฒนาทั้งเมืองพัทยาซึ่งรวมพื้นที่เกาะล้าน เกาะไผ่ แล้วยังมีอีก 9 ตำบล ในพื้นที่เชื่อมโยง คือ บางละมุง ตะเคียนเตี้ย โป่ง ห้วยใหญ่ นาจอมเทียน เขาชีจรรย์ หนองปลาไหล เขาไม้แก้ว และเทศบาลเมืองหนองปรือ ซึ่งทุกพื้นที่จะได้รับการบริหารการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หากทุกฝ่ายเข้าใจและบูรณาการร่วมกันในเรื่องการดูแลนักท่องเที่ยว จะยิ่งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับพื้นที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวก็เกิดความมั่นใจในชีวิต และทรัพย์สิน”
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้จัดการพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.3) กล่าวว่า สพพ. 3 อยู่ระหว่างการประสานงานไปยังหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อเตรียมจัดประชุมหารือ และรับฟังความคิดเห็น คาดว่าจะจัดประชุมได้ราวปลายเดือนมิถุนายน หรือต้นเดือนกรกฎาคมศกนี้ จากนั้นจะประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐนำความคิดเห็น และปัญหาที่เป็นข้อมูลในการจัดตั้งศาลท่องเที่ยว รวมถึงหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ทั้งนี้ ในระยะสั้นจะโยกเงินจากงบประจำปี 2556 จัดทำศูนย์บริการข้อมูลทางกฎหมาย สำหรับให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว หรือเจ้าของคดี ในการแปลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดี ตลอดจนสำนวนคดีต่างๆ รวมถึงจัดหาทนายความเพื่อว่าความในคดี โดยหาแนวทางความร่วมมือกับเมืองพัทยา กระทรวงยุติธรรม สภาทนายความ
อย่างไรก็ตาม รายงานจากกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว ระบุว่าภาพรวมปี 2555 มีนักท่องเที่ยวแจ้งจับ และดำเนินคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีท่องเที่ยว 3,805 คดี เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับปี 2554 มีการจับกุมและดำเนินคดีจำนวน 2,527 คดี ซึ่งคดีที่มีการกระทำผิดและจับได้อันดับ 1 คือ การกระทำผิดพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จับได้ 1,436 คดี เพิ่มขึ้น 1,067% จากปี 2554 ซึ่งมีการจับกุม จำนวน 123 คดี อันดับ 2 คือ คดีก่อความวุ่นวาย วิ่งราว จับได้ จำนวน 830 คดี ลดลงจากปี 2554 ราว 11% จาก 943 คดี ในปี 2554 และอันดับ 3 คือ ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 455 คดี เพิ่มขึ้น 42% จากปี 2554 ที่มีจำนวน 263 คดี
สำหรับเฉพาะเมืองพัทยา ในปี 2555 สถิติคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเมืองพัทยา มีแนวโน้มที่ลดลง จากเดิม 20-30 คดีต่อวัน นับจากที่มีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดขึ้น