กาญจนบุรี - นายกเล็กทองผาภูมิ กาญจนบุรี ประกาศเดินหน้านำมวลชนคัดค้านการทำเหมืองแร่ตะกั่ว-สังกะสี ในพื้นที่อำเภอทองผาภูมิเต็มที่ ชี้คณะศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เบื้องต้นฯ เข้าข่ายฝืนมติ ครม.2544 พร้อมจี้กรมควบคุมมลพิษเร่งฟื้นฟูสภาพลำห้วยที่เต็มไปด้วยสารตะกั่ว ที่ชาวคลิตี้ต้องใช้ในการอุปโภคบริโภคอยู่ทุกวันนี้ เพราะลำห้วยยังมีสารพิษเหล่านี้ตกค้างอยู่
เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (29 พ.ค.) นายประเทศ บุญยงค์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทองผาภูมิ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการ “การศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เบื้องต้น เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี (แร่ตะกั่ว-สังกะสี) บริเวณพื้นที่ของอำเภอทองผาภูมิ” ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนซึ่งส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน และได้รวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการเปิดเหมืองอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการจัดเวทีสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม และแสดงความคิดเห็นถึงเหตุผลว่าเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยเพราะเหตุผลอันใด ซึ่งทางกลุ่มรักทองผาภูมิได้แสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด พร้อมทั้งบอกเหตุผลว่า ทำไมถึงไม่เห็นด้วย และได้สอบถามต่อที่ปรึกษาซึ่งเป็นอาจารย์จากจุฬาฯ ว่า ก่อนที่ทีมงานจะเข้ามาศึกษาเรื่องของเหมืองแร่ตะกั่ว-สังกะสี ในพื้นที่ของอำเภอทองผาภูมิ ได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ผังเมืองของ จ.กาญจนบุรีว่า มีการแบ่งโซนพื้นที่แบบไหนอย่างไรมาก่อนหรือไม่
โดยเฉพาะพื้นที่ของ อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี อ.ไทรโยค และ อ.ศรีสวัสดิ์ ที่ถูกจัดให้เป็นพื้นที่โซนสีเขียว นอกจากนี้ เรายังได้ถามอีกว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยุติการทำกิจกรรมเหมืองแร่และโรงแต่งแร่อย่างเด็ดขาด โดยคณะรัฐมนตรีมีมติออกมาเมื่อปี พ.ศ.2544 ท่านทราบหรือไม่ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ยกเลิกเหมืองแร่ทั้งหมดโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และขอให้ตรวจสอบการทำผิดกฎหมายของเหมืองเคมโก้ด้วย
“ผลคำตอบ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ไม่สามารถตอบข้อซักถามของชาวทองผาภูมิได้เลย เมื่อเป็นเช่นนั้น เรากลุ่มรักทองผาภูมิ และประชาชนชาวอำเภอทองผาภูมิ จึงกล่าว และบอกให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจัดเวทีเสนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นให้ทราบว่า ท่านกำลังทำผิดกฎหมายอยู่ อีกทั้งยังฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ.2544 เราไม่สามารถยอมรับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมของบุคคลเหล่านี้ได้ รวมทั้งเสนอขอให้หยุด หรือยุติโครงการ”
“พร้อมทั้งขอให้กรมควบคุมมลพิษที่มีคำสั่งศาลปกครองให้ดำเนินการเร่งฟื้นฟูสภาพลำห้วยที่เต็มไปด้วยสารตะกั่ว ที่ชาวคลิตี้ต้องใช้ในการอุปโภคบริโภคอยู่ทุกวัน เพราะลำห้วยยังมีสารพิษเหล่านี้ตกค้างอยู่ โดยจะต้องเร่งฟื้นฟูสภาพลำห้วยให้กลับคืนสู่สภาพดังเดิมเหมือนเช่นในอดีตโดยเร็ว หากเป็นไปได้ควรที่จะใช้งบประมาณที่นำมาจัดเวทีรับฟังแสดงความคิดเห็น มาช่วยเหลือชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูลำห้วยจะมีประโยชน์มากกว่าด้วยซ้ำ” นายประเทศ กล่าว
นายประเทศ กล่าวต่อว่า เราได้มีการสอบถาม หรือพูดคุยกับผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่มาก่อน จึงทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับสารตะกั่ว เช่น กรณีน้ำยาที่ใช้สำหรับล้างแร่ที่มีสารอันตราย หากซึมลงสู่ใต้พื้นดิน หรือไหลลงสู่ลำห้วย หรือแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียง จะเกิดอันตรายต่อคน สัตว์เลี้ยง หรือเกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำหรือไม่ ตัวอย่างเช่นน้ำยาที่ใช้ล้างแร่ โดยปกติจะต้องเก็บไว้ภายในโรงงานอย่างมิดชิด ซึ่งผู้ที่เคยทำงาน หรือคลุกคลีอยู่กับเหมืองแร่ ต่างทราบดีว่า หากนำน้ำยามาล้างแร่ในระยะ 50 เมตร ยังได้กลิ่นเหม็นอยู่เลย
“นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่เคยทำงานในเหมืองแร่ในอดีตได้ถามเจ้าหน้าที่ว่าน้ำยาที่นำมาล้างแร่เป็นนำยาอะไร ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าเป็นน้ำมันสน ความจริงแล้วมันไม่ใช่น้ำมันสน นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการเหมืองแร่ในอดีตได้ปกปิดความจริงไม่ให้คนงานได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริง อีกทั้งที่ผ่านมาในอดีต กรมควบคุมมลพิษ ก็ไม่เคยที่จะเข้ามาตรวจสอบอย่างจริงจัง ทั้งหมดจึงทำให้ชาวอำเภอทองผาภูมิเกิดความวิตกกังวลขึ้นมาหากมีการเปิดเหมืองแร่ขึ้นมาในพื้นที่จริง” นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทองผาภูมิกล่าว
เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (29 พ.ค.) นายประเทศ บุญยงค์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทองผาภูมิ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการ “การศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เบื้องต้น เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี (แร่ตะกั่ว-สังกะสี) บริเวณพื้นที่ของอำเภอทองผาภูมิ” ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนซึ่งส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน และได้รวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการเปิดเหมืองอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการจัดเวทีสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม และแสดงความคิดเห็นถึงเหตุผลว่าเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยเพราะเหตุผลอันใด ซึ่งทางกลุ่มรักทองผาภูมิได้แสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด พร้อมทั้งบอกเหตุผลว่า ทำไมถึงไม่เห็นด้วย และได้สอบถามต่อที่ปรึกษาซึ่งเป็นอาจารย์จากจุฬาฯ ว่า ก่อนที่ทีมงานจะเข้ามาศึกษาเรื่องของเหมืองแร่ตะกั่ว-สังกะสี ในพื้นที่ของอำเภอทองผาภูมิ ได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ผังเมืองของ จ.กาญจนบุรีว่า มีการแบ่งโซนพื้นที่แบบไหนอย่างไรมาก่อนหรือไม่
โดยเฉพาะพื้นที่ของ อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี อ.ไทรโยค และ อ.ศรีสวัสดิ์ ที่ถูกจัดให้เป็นพื้นที่โซนสีเขียว นอกจากนี้ เรายังได้ถามอีกว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยุติการทำกิจกรรมเหมืองแร่และโรงแต่งแร่อย่างเด็ดขาด โดยคณะรัฐมนตรีมีมติออกมาเมื่อปี พ.ศ.2544 ท่านทราบหรือไม่ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ยกเลิกเหมืองแร่ทั้งหมดโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และขอให้ตรวจสอบการทำผิดกฎหมายของเหมืองเคมโก้ด้วย
“ผลคำตอบ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ไม่สามารถตอบข้อซักถามของชาวทองผาภูมิได้เลย เมื่อเป็นเช่นนั้น เรากลุ่มรักทองผาภูมิ และประชาชนชาวอำเภอทองผาภูมิ จึงกล่าว และบอกให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจัดเวทีเสนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นให้ทราบว่า ท่านกำลังทำผิดกฎหมายอยู่ อีกทั้งยังฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ.2544 เราไม่สามารถยอมรับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมของบุคคลเหล่านี้ได้ รวมทั้งเสนอขอให้หยุด หรือยุติโครงการ”
“พร้อมทั้งขอให้กรมควบคุมมลพิษที่มีคำสั่งศาลปกครองให้ดำเนินการเร่งฟื้นฟูสภาพลำห้วยที่เต็มไปด้วยสารตะกั่ว ที่ชาวคลิตี้ต้องใช้ในการอุปโภคบริโภคอยู่ทุกวัน เพราะลำห้วยยังมีสารพิษเหล่านี้ตกค้างอยู่ โดยจะต้องเร่งฟื้นฟูสภาพลำห้วยให้กลับคืนสู่สภาพดังเดิมเหมือนเช่นในอดีตโดยเร็ว หากเป็นไปได้ควรที่จะใช้งบประมาณที่นำมาจัดเวทีรับฟังแสดงความคิดเห็น มาช่วยเหลือชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูลำห้วยจะมีประโยชน์มากกว่าด้วยซ้ำ” นายประเทศ กล่าว
นายประเทศ กล่าวต่อว่า เราได้มีการสอบถาม หรือพูดคุยกับผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่มาก่อน จึงทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับสารตะกั่ว เช่น กรณีน้ำยาที่ใช้สำหรับล้างแร่ที่มีสารอันตราย หากซึมลงสู่ใต้พื้นดิน หรือไหลลงสู่ลำห้วย หรือแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียง จะเกิดอันตรายต่อคน สัตว์เลี้ยง หรือเกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำหรือไม่ ตัวอย่างเช่นน้ำยาที่ใช้ล้างแร่ โดยปกติจะต้องเก็บไว้ภายในโรงงานอย่างมิดชิด ซึ่งผู้ที่เคยทำงาน หรือคลุกคลีอยู่กับเหมืองแร่ ต่างทราบดีว่า หากนำน้ำยามาล้างแร่ในระยะ 50 เมตร ยังได้กลิ่นเหม็นอยู่เลย
“นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่เคยทำงานในเหมืองแร่ในอดีตได้ถามเจ้าหน้าที่ว่าน้ำยาที่นำมาล้างแร่เป็นนำยาอะไร ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าเป็นน้ำมันสน ความจริงแล้วมันไม่ใช่น้ำมันสน นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการเหมืองแร่ในอดีตได้ปกปิดความจริงไม่ให้คนงานได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริง อีกทั้งที่ผ่านมาในอดีต กรมควบคุมมลพิษ ก็ไม่เคยที่จะเข้ามาตรวจสอบอย่างจริงจัง ทั้งหมดจึงทำให้ชาวอำเภอทองผาภูมิเกิดความวิตกกังวลขึ้นมาหากมีการเปิดเหมืองแร่ขึ้นมาในพื้นที่จริง” นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทองผาภูมิกล่าว