ตราด - ปธ.ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนตราด เผยชุมชนมีหนี้ท่วมหัว เหตุมีกองทุนให้กู้นับสิบ สุดท้ายไม่สามารถใช้คืนได้ หันกู้เงินนอกระบบจนหนี้ครัวเรือนสูง จังหวัดใบ้กิน แก้ไม่ได้
วันนี้ (24 เม.ย.) นายอาคม ภูติภัทร์ ประธานศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชน จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการลงไปทำงานในชุมชน พบปัญหาหนี้นอกระบบ และหนี้กองทุนกู้ยืมต่างๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้านจำนวนมาก บางหมู่บ้านมีถึง 10 กองทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนพัฒนาสตรี กองทุนแม่บ้าน กองทุน อสม. กองทุนสัจจะสะสมทรัพย์ กองทุนเอสเอ็มแอล กองทุนเครดิตยูเนี่ยน เป็นต้น
โดยที่ประชาชนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกองทุนเหล่านี้ มีสิทธิในการกู้ยืมตามระเบียบ ทำให้ประชาชนแต่ละหมู่บ้านกู้ยืมเงินหลายกองทุนพร้อมกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการใช้คืน และเมื่อประสบปัญหาการใช้คืนก็หันไปกู้เงินนอกระบบมาคืนกองทุน และไม่สามารถใช้คืนหนี้นอกระบบได้ จนหมดปัญญาที่จะใช้คืน เช่น บ้านยายม่อม ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ ที่ชาวบ้านร้อยละ 80 ติดหนี้นอกระบบคนละ 30,000-80,000 บาท และไม่มีปัญญาใช้หนี้
“บางหมู่บ้านมี 10 กองทุน แต่ละกองทุนสามารถกู้ได้ 30,000-100,000 บาท แต่ละคนกู้ 3-5 กองทุน แล้วบริหารจัดการไม่เป็น จนไม่สามารถหารายได้มาใช้หนี้กองทุนได้ เพราะรายได้ไม่เพียงพอ ในที่สุดต้องวิ่งไปกู้เงินนอกระบบที่ดอกเบี้ยแพงมาใช้หนี้กองทุน จนเป็นหนี้ท่วมเงินต้น วันนี้หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผลต่อการเป็นหนี้ที่เรื้อรัง”
นายอาคม กล่าวว่า ที่บ้านหมื่นด่าน อ.บ่อไร่ มีลูกหนี้ลักษณะเดียวกันนี้ผูกคอตายหนีหนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมา อีกรายหนีออกจากบ้าน ปัญหาเหล่านี้จะเกิดมากขึ้นหากทางราชการไม่เข้าไปแก้ไข หรือดูแลด้วยการบริหารจัดการให้ และนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ที่เป็นช่วงหน้าฝน เกษตรกรมีรายได้น้อย ทั้งผลไม้ สวนยางพารา หรือประมง จะยิ่งเกิดปัญหามากขึ้นอีก
นายอาคม กล่าวว่า หากจังหวัดจะแก้ไขควรทำโมเดลหมู่บ้านนำร่องขึ้นมา แล้วนำแหล่งทุน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย หรือแหล่งทุนอื่นมาช่วยแนะนำการบริหารหนี้ ไม่เช่นนั้นหนี้สินครัวเรือนจะกลายเป็นภัยเงียบในครัวเรือน
ด้านนายณรงค์ ธีรจันทรางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า ปัญหาหนี้นอกระบบนั้น ทางจังหวัด อำเภอ หรือผู้ใหญ่บ้านเข้าไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้ รวมทั้งกองทุนหมู่บ้านหากไม่โอนให้จังหวัดหวัดดูแล ซึ่งการแก้ปัญหาขณะนี้ไม่ได้สามารถบอกได้ว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งวันนี้จังหวัดก็เป็นห่วง แต่เข้าไปแก้ปัญหาไม่ได้ ได้แต่รับรู้ปัญหา และรู้ว่ามีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น หากรวมทั้งโครงการบ้านหลังแรก หรือโครงการรถยนต์คันแรกไปด้วย ชาวบ้านจะมีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นอีกมาก แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นทางออกได้ คือ การทำบัญชีครัวเรือน เริ่มจากการวิเคราะห์ตัวเอง คิดเองว่าควรจะแก้ไขอย่างไร ถ้าคิดและวิเคราะห์ได้ ทางราชการก็เข้าไปช่วยได้ แต่จะมีสักกี่รายที่ทำได้
วันนี้ (24 เม.ย.) นายอาคม ภูติภัทร์ ประธานศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชน จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการลงไปทำงานในชุมชน พบปัญหาหนี้นอกระบบ และหนี้กองทุนกู้ยืมต่างๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้านจำนวนมาก บางหมู่บ้านมีถึง 10 กองทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนพัฒนาสตรี กองทุนแม่บ้าน กองทุน อสม. กองทุนสัจจะสะสมทรัพย์ กองทุนเอสเอ็มแอล กองทุนเครดิตยูเนี่ยน เป็นต้น
โดยที่ประชาชนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกองทุนเหล่านี้ มีสิทธิในการกู้ยืมตามระเบียบ ทำให้ประชาชนแต่ละหมู่บ้านกู้ยืมเงินหลายกองทุนพร้อมกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการใช้คืน และเมื่อประสบปัญหาการใช้คืนก็หันไปกู้เงินนอกระบบมาคืนกองทุน และไม่สามารถใช้คืนหนี้นอกระบบได้ จนหมดปัญญาที่จะใช้คืน เช่น บ้านยายม่อม ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ ที่ชาวบ้านร้อยละ 80 ติดหนี้นอกระบบคนละ 30,000-80,000 บาท และไม่มีปัญญาใช้หนี้
“บางหมู่บ้านมี 10 กองทุน แต่ละกองทุนสามารถกู้ได้ 30,000-100,000 บาท แต่ละคนกู้ 3-5 กองทุน แล้วบริหารจัดการไม่เป็น จนไม่สามารถหารายได้มาใช้หนี้กองทุนได้ เพราะรายได้ไม่เพียงพอ ในที่สุดต้องวิ่งไปกู้เงินนอกระบบที่ดอกเบี้ยแพงมาใช้หนี้กองทุน จนเป็นหนี้ท่วมเงินต้น วันนี้หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผลต่อการเป็นหนี้ที่เรื้อรัง”
นายอาคม กล่าวว่า ที่บ้านหมื่นด่าน อ.บ่อไร่ มีลูกหนี้ลักษณะเดียวกันนี้ผูกคอตายหนีหนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมา อีกรายหนีออกจากบ้าน ปัญหาเหล่านี้จะเกิดมากขึ้นหากทางราชการไม่เข้าไปแก้ไข หรือดูแลด้วยการบริหารจัดการให้ และนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ที่เป็นช่วงหน้าฝน เกษตรกรมีรายได้น้อย ทั้งผลไม้ สวนยางพารา หรือประมง จะยิ่งเกิดปัญหามากขึ้นอีก
นายอาคม กล่าวว่า หากจังหวัดจะแก้ไขควรทำโมเดลหมู่บ้านนำร่องขึ้นมา แล้วนำแหล่งทุน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย หรือแหล่งทุนอื่นมาช่วยแนะนำการบริหารหนี้ ไม่เช่นนั้นหนี้สินครัวเรือนจะกลายเป็นภัยเงียบในครัวเรือน
ด้านนายณรงค์ ธีรจันทรางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า ปัญหาหนี้นอกระบบนั้น ทางจังหวัด อำเภอ หรือผู้ใหญ่บ้านเข้าไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้ รวมทั้งกองทุนหมู่บ้านหากไม่โอนให้จังหวัดหวัดดูแล ซึ่งการแก้ปัญหาขณะนี้ไม่ได้สามารถบอกได้ว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งวันนี้จังหวัดก็เป็นห่วง แต่เข้าไปแก้ปัญหาไม่ได้ ได้แต่รับรู้ปัญหา และรู้ว่ามีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น หากรวมทั้งโครงการบ้านหลังแรก หรือโครงการรถยนต์คันแรกไปด้วย ชาวบ้านจะมีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นอีกมาก แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นทางออกได้ คือ การทำบัญชีครัวเรือน เริ่มจากการวิเคราะห์ตัวเอง คิดเองว่าควรจะแก้ไขอย่างไร ถ้าคิดและวิเคราะห์ได้ ทางราชการก็เข้าไปช่วยได้ แต่จะมีสักกี่รายที่ทำได้