ตราด - ประมง จ.ตราด ตั้งศูนย์เฝ้าระวังโลมาเสียชีวิต ให้ประมง อ.คลองใหญ่เป็นผู้ประสาน ส่งเรือประมงตรวจการณ์เกาะช้างเฝ้าระวัง ขณะประธานเครือข่ายฯ โวยส่วนราชการตำหนิไม่ให้ความร่วมมือ
นายไชยันต์ การสมเนตร ประมง จ.ตราด เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสรุปจากประมง อ.คลองใหญ่ และประมงเมืองตราด ถึงการเสียชีวิตของโลมาอิรวดีในอ่าวตราด ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2556 ว่า ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 พบโลมาตาย จำนวน 4 ตัว วันที่ 7 กุมภาพันธ์ จำนวน 2 ตัว รวมทั้งสิ้น 6 ตัว เป็นโลมาอิรวดีตัวเต็มวัย ความยาว 1.55-2.20 เมตร น้ำหนัก 80-90 กิโลกรัม โดยประมาณสภาพเน่าหนังถลอก ไม่พบบาดแผลฉกรรจ์ ไม่พบเศษอวน หรือเชือกพันธนาการ คาดตายมาแล้ว 4-5 วัน ซากฝังไว้ที่บ้านตาหนึก ม .3 ต.คลองใหญ่ 2 ตัว และบ้านคลองตะเคียน ม. 5 ต.ไม้รูด 4 ตัว
ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดขอบจากศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ผ่าพิสูจน์ซากพบมีอาหารเต็มกระเพาะ สันนิษฐานเบื้องต้นว่า มิใช่เป็นการตายโดยธรรมชาติ แต่เป็นการตายแบบฉับพลันโดยการขาดอากาศหายใจ และได้เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่ออวัยวะภายในส่งห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
“การแก้ไขในขณะนี้ เบื้องต้น สำนักงานฯ ได้ประสานศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยบริหารจัดการประมงทะเลเกาะช้าง จ.ตราด ได้จัดเรือตรวจการณ์พร้อมเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังฝูงโลมาที่เหลือ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการทำการประมง และเน้นควบคุมการทำการประมงของเรืออวนลากคู่ไม่ให้เข้ามาทำการประมงใกล้บริเวณที่พบฝูงโลมา และเน้นควบคุมการทำการประมงของเรือประมงใกล้บริเวณที่พบฝูงโลมา โดยตั้งศูนย์เฝ้าระวัง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ต.ไม้รูด โดยมอบหมายให้ประมงอำเภอคลองใหญ่ ร่วมประสานงานการแก้ไขปัญหาโลมาตายกับท้องถิ่น และกลุ่มอนุรักษ์โดยเร็ว”
ขณะที่นายกิตติภาส แสงศรีขจร แกนนำเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ต.ไม้รูด กล่าวว่า หลังมีข่าวออกไปปรากฏว่า มีส่วนราชการบางหน่วยได้ติดต่อขอทราบรายละเอียด พร้อมต่อว่าหาว่าทางเครือข่ายฯ ไม่แจ้ง หาว่าไม่ยอมให้ความร่วมมือ ทั้งๆ ที่ผ่านมา ได้นำเสนอปัญหามาแล้วแต่ไม่มีใครสนใจ การทำงานของเครือข่ายที่มีกันเพียง 7 คน โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกอีก 1 คน ที่ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกไปเก็บซากตรวจพิสูจน์ บันทึกข้อมูล แต่กลับถูกต่อว่าทำให้เสียกำลังใจมาก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหาหาก ต.ไม้รูด ได้ร่วมกันเก็บซาก และผ่าพิสูจน์โลมาที่เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.-9 ก.พ.56 รวม 17 ตัวแล้ว 1 ในจำนวนนี้เป็นโลมาหัวบาตร 1 ตัว
นายไชยันต์ การสมเนตร ประมง จ.ตราด เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสรุปจากประมง อ.คลองใหญ่ และประมงเมืองตราด ถึงการเสียชีวิตของโลมาอิรวดีในอ่าวตราด ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2556 ว่า ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 พบโลมาตาย จำนวน 4 ตัว วันที่ 7 กุมภาพันธ์ จำนวน 2 ตัว รวมทั้งสิ้น 6 ตัว เป็นโลมาอิรวดีตัวเต็มวัย ความยาว 1.55-2.20 เมตร น้ำหนัก 80-90 กิโลกรัม โดยประมาณสภาพเน่าหนังถลอก ไม่พบบาดแผลฉกรรจ์ ไม่พบเศษอวน หรือเชือกพันธนาการ คาดตายมาแล้ว 4-5 วัน ซากฝังไว้ที่บ้านตาหนึก ม .3 ต.คลองใหญ่ 2 ตัว และบ้านคลองตะเคียน ม. 5 ต.ไม้รูด 4 ตัว
ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดขอบจากศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ผ่าพิสูจน์ซากพบมีอาหารเต็มกระเพาะ สันนิษฐานเบื้องต้นว่า มิใช่เป็นการตายโดยธรรมชาติ แต่เป็นการตายแบบฉับพลันโดยการขาดอากาศหายใจ และได้เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่ออวัยวะภายในส่งห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
“การแก้ไขในขณะนี้ เบื้องต้น สำนักงานฯ ได้ประสานศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยบริหารจัดการประมงทะเลเกาะช้าง จ.ตราด ได้จัดเรือตรวจการณ์พร้อมเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังฝูงโลมาที่เหลือ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการทำการประมง และเน้นควบคุมการทำการประมงของเรืออวนลากคู่ไม่ให้เข้ามาทำการประมงใกล้บริเวณที่พบฝูงโลมา และเน้นควบคุมการทำการประมงของเรือประมงใกล้บริเวณที่พบฝูงโลมา โดยตั้งศูนย์เฝ้าระวัง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ต.ไม้รูด โดยมอบหมายให้ประมงอำเภอคลองใหญ่ ร่วมประสานงานการแก้ไขปัญหาโลมาตายกับท้องถิ่น และกลุ่มอนุรักษ์โดยเร็ว”
ขณะที่นายกิตติภาส แสงศรีขจร แกนนำเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ต.ไม้รูด กล่าวว่า หลังมีข่าวออกไปปรากฏว่า มีส่วนราชการบางหน่วยได้ติดต่อขอทราบรายละเอียด พร้อมต่อว่าหาว่าทางเครือข่ายฯ ไม่แจ้ง หาว่าไม่ยอมให้ความร่วมมือ ทั้งๆ ที่ผ่านมา ได้นำเสนอปัญหามาแล้วแต่ไม่มีใครสนใจ การทำงานของเครือข่ายที่มีกันเพียง 7 คน โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกอีก 1 คน ที่ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกไปเก็บซากตรวจพิสูจน์ บันทึกข้อมูล แต่กลับถูกต่อว่าทำให้เสียกำลังใจมาก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหาหาก ต.ไม้รูด ได้ร่วมกันเก็บซาก และผ่าพิสูจน์โลมาที่เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.-9 ก.พ.56 รวม 17 ตัวแล้ว 1 ในจำนวนนี้เป็นโลมาหัวบาตร 1 ตัว