ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - “แม่โจ้โพลล์” สำรวจพบชาวบ้าน 86.2% หวั่นนโยบายคืนภาษีรถคันแรกทำรถติดมากขึ้น และคนเป็นหนี้เพิ่ม ข้อเสียตามมาเป็นพรวน ชี้ควรนำเงินภาษีช่วยประชาชนด้านอื่นมากกว่า แต่ในภาพรวมกว่า 60% ติดใจประชานิยม
วันนี้ (27 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานผลการสำรวจของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ หรือแม่โจ้โพลล์ ซึ่งได้สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั่วทุกภาคระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคมที่ผ่านมา ในประเด็นนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกช่วยแก้ปัญหาหรือยิ่งสร้างปัญหา 812 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้ 74.4% ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ อีก 25.6% เข้าร่วมโครงการ เมื่อสอบถามความคิดเห็นทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า 59.1% เห็นด้วยกับโครงการ อีก 40.9% ไม่เห็นด้วย
ประเด็นผลดี-ผลเสียนั้น ด้านผลดีพบว่า 57.6% เห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ได้รับเงินภาษีรถยนต์คืน 1 แสนบาท ขณะที่ 57.1% เห็นว่าทำให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อรถยนต์ได้ ส่วน 40.9% มองว่าเป็นการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ภายในประเทศ และส่งผลให้มีรถยนต์ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น เนื่องจากมีการจำกัดขนาดเครื่องยนต์ไม่ให้เกิน 1500 ซีซี
ด้านผลเสียนั้น กลุ่มตัวอย่าง 86.2% มองว่าทำให้การจราจรติดขัดมากยิ่งขึ้น ขณะที่ 72.5% เห็นว่าทำให้ประชาชนมีหนี้สินมากขึ้น ส่วน 67.5% เห็นว่าอาจต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น อีก 63.1% เชื่อว่าจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษในอากาศมากขึ้น และ 35.7% เห็นว่ารัฐต้องเสียงบประมาณในการแก้ปัญหา เช่น สร้างถนนเพิ่มขึ้นเพื่อแก้ปัญหารถติด
เมื่อสอบถามข้อเสนอแนะต่อโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก พบว่า 91.3% เห็นว่าควรนำงบประมาณไปใช้ช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่า อีก 3.8% เห็นว่าควรขยายเวลาคืนภาษี เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี 2554 และมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก ส่วน 3.6% ต้องการให้รัฐบาลวางแผนระยะยาวถึงกรณีปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบายดังกล่าว เช่น ปัญหาหนี้เสีย รถติด และ 1.3% เห็นว่านโยบายควรจะชัดเจนกว่านี้ เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจเท่าที่ควร
แม่โจ้โพลล์ยังได้สอบถามถึงอันดับความพึงพอใจต่อโครงการอื่นที่อยู่ในนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน โดยให้คะแนนเฉลี่ยเต็ม 5 คะแนน พบว่าอันดับ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.06 ได้แก่ โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได อันดับ 2 มีค่าเฉลี่ย 3.67 ได้แก่ โครงการปรับอัตราเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาท อันดับ 3 มีค่าเฉลี่ย 3.64 ได้แก่ โครงการเพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน อันดับ 4 มีค่าเฉลี่ย 3.52 ได้แก่โครงการบ้านหลังแรก อันดับ 5 มีค่าเฉลี่ย 3.38 ได้แก่ โครงการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี อันดับ 6 มีค่าเฉลี่ย 2.96 ได้แก่ โครงการรับจำนำข้าว และอันดับ 7 มีค่าเฉลี่ย 2.53 ได้แก่ โครงการแจกแท็บเล็ตนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึงผลดีและผลเสียในภาพรวมนโยบายประเภทประชานิยม ด้านผลดีพบว่า 61.1% เห็นว่ามีผลดีที่หลายโครงการสามารถช่วยเหลือ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ขณะที่ 26.4% เห็นว่าทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 12.5% มองว่าบางโครงการเป็นการช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น
ส่วนผลเสียนั้น กลุ่มตัวอย่าง 41.7% เห็นว่าบางโครงการทำให้ประชาชนใช้จ่ายเกินกำลัง และเป็นหนี้สินมากขึ้น อีก 25.1% เห็นว่าจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาว ส่วน 16.7% เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง คอยรับการช่วยเหลือจากรัฐตลอดเวลา และ 16.5% มองว่าเป็นการสร้างภาพเพื่อหวังคะแนนเสียง ประชาชนได้รับการช่วยเหลือไม่ทั่วถึงทุกกลุ่ม เกิดการทุจริตในโครงการ
วันนี้ (27 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานผลการสำรวจของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ หรือแม่โจ้โพลล์ ซึ่งได้สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั่วทุกภาคระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคมที่ผ่านมา ในประเด็นนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกช่วยแก้ปัญหาหรือยิ่งสร้างปัญหา 812 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้ 74.4% ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ อีก 25.6% เข้าร่วมโครงการ เมื่อสอบถามความคิดเห็นทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า 59.1% เห็นด้วยกับโครงการ อีก 40.9% ไม่เห็นด้วย
ประเด็นผลดี-ผลเสียนั้น ด้านผลดีพบว่า 57.6% เห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ได้รับเงินภาษีรถยนต์คืน 1 แสนบาท ขณะที่ 57.1% เห็นว่าทำให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อรถยนต์ได้ ส่วน 40.9% มองว่าเป็นการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ภายในประเทศ และส่งผลให้มีรถยนต์ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น เนื่องจากมีการจำกัดขนาดเครื่องยนต์ไม่ให้เกิน 1500 ซีซี
ด้านผลเสียนั้น กลุ่มตัวอย่าง 86.2% มองว่าทำให้การจราจรติดขัดมากยิ่งขึ้น ขณะที่ 72.5% เห็นว่าทำให้ประชาชนมีหนี้สินมากขึ้น ส่วน 67.5% เห็นว่าอาจต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น อีก 63.1% เชื่อว่าจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษในอากาศมากขึ้น และ 35.7% เห็นว่ารัฐต้องเสียงบประมาณในการแก้ปัญหา เช่น สร้างถนนเพิ่มขึ้นเพื่อแก้ปัญหารถติด
เมื่อสอบถามข้อเสนอแนะต่อโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก พบว่า 91.3% เห็นว่าควรนำงบประมาณไปใช้ช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่า อีก 3.8% เห็นว่าควรขยายเวลาคืนภาษี เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี 2554 และมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก ส่วน 3.6% ต้องการให้รัฐบาลวางแผนระยะยาวถึงกรณีปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบายดังกล่าว เช่น ปัญหาหนี้เสีย รถติด และ 1.3% เห็นว่านโยบายควรจะชัดเจนกว่านี้ เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจเท่าที่ควร
แม่โจ้โพลล์ยังได้สอบถามถึงอันดับความพึงพอใจต่อโครงการอื่นที่อยู่ในนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน โดยให้คะแนนเฉลี่ยเต็ม 5 คะแนน พบว่าอันดับ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.06 ได้แก่ โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได อันดับ 2 มีค่าเฉลี่ย 3.67 ได้แก่ โครงการปรับอัตราเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาท อันดับ 3 มีค่าเฉลี่ย 3.64 ได้แก่ โครงการเพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน อันดับ 4 มีค่าเฉลี่ย 3.52 ได้แก่โครงการบ้านหลังแรก อันดับ 5 มีค่าเฉลี่ย 3.38 ได้แก่ โครงการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี อันดับ 6 มีค่าเฉลี่ย 2.96 ได้แก่ โครงการรับจำนำข้าว และอันดับ 7 มีค่าเฉลี่ย 2.53 ได้แก่ โครงการแจกแท็บเล็ตนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึงผลดีและผลเสียในภาพรวมนโยบายประเภทประชานิยม ด้านผลดีพบว่า 61.1% เห็นว่ามีผลดีที่หลายโครงการสามารถช่วยเหลือ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ขณะที่ 26.4% เห็นว่าทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 12.5% มองว่าบางโครงการเป็นการช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น
ส่วนผลเสียนั้น กลุ่มตัวอย่าง 41.7% เห็นว่าบางโครงการทำให้ประชาชนใช้จ่ายเกินกำลัง และเป็นหนี้สินมากขึ้น อีก 25.1% เห็นว่าจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาว ส่วน 16.7% เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง คอยรับการช่วยเหลือจากรัฐตลอดเวลา และ 16.5% มองว่าเป็นการสร้างภาพเพื่อหวังคะแนนเสียง ประชาชนได้รับการช่วยเหลือไม่ทั่วถึงทุกกลุ่ม เกิดการทุจริตในโครงการ