ลำปาง - กรมควบคุมมลพิษยังคงเดินหน้าเสนอร่างมาตรการแก้ปัญหาหมอกควัน ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ก่อนชง 9 แนวทางเสนอ ครม.ต่อ
รายงานข่าวแจ้งว่า กรมควบคุมมลพิษยังคงเดินสายจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นต่อการเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งในจังหวัดภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้จัดการประชุมขึ้นที่ห้องเวียงแก้ว โรงแรมลำปางเวียงทอง อ.เมือง จ.ลำปาง
โดยมีนายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จ.ลำปาง เกี่ยวกับมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควัน ไฟป่า ทั้งด้านกฎหมาย การควบคุม การจัดระเบียบ และการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการประชุมมีประชาชนมากกว่า 400 คนจากทั้ง 13 อำเภอของ จ.ลำปาง ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น
นายวิเชียรกล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษขอเสนอ (ร่าง) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งปี 2556 จำนวน 9 มาตรการ ซึ่งทางกรมฯ ได้ทำการประเมินปัญหาและกำหนดแนวทางมาตรการร่วมกับ 13 หน่วยงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนำมาเสนอเพื่อขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่มีต่อมาตรการทั้ง 9 ข้อ
ประกอบด้วย 1. การห้ามเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ วัชพืชในช่วง 80 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 21 ม.ค.-10 เม.ย. 2556 โดยขอให้ทางจังหวัดออกเป็นประกาศ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็นข้อบัญญัติห้ามเผาในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิด ส่วนในพื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.อุทยาน เน้นย้ำปีนี้ต้องเฉียบขาดเอาจริงเอาจังไม่มีการละเว้น
2. มีการจัดระเบียบการเผาช่วง 80 วันอันตรายของแต่ละจังหวัดตามขนาดพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต โดยกรมควบคุมมลพิษจะเป็นผู้คำนวณอัตราส่วนและให้จังหวัดนำไปดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการขออนุญาตเผา และให้มีหน่วยงานเข้าไปควบคุมการเผาด้วย
3. มีการป้องกันการเกิดไฟป่าอย่างเข้มข้น ด้วยการให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านการควบคุมป้องกัน จัดทำแนวกันไฟให้แล้วเสร็จก่อนช่วง 80 วันอันตราย 4. สนับสนุนให้มีชุมชนมาตรฐานหมู่บ้านปลอดการเผา 5. ส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
6. มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปสู่กลุ่มเป้าหมาย 7. มีการแจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควันเป็นระยะๆ เพื่อควบคุมอัตราปริมาณการเผา 8. การให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน และ 9. ให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันแก้ไขสถานการณ์หมอกควันไฟป่า
เมื่อมีการนำเสนอมาตรการทั้ง 9 ผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็นแล้ว ทางกรมควบคุมมลพิษจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการจัดการไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อไป
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษได้กล่าวในตอนท้ายว่า ปีนี้หากจังหวัดลำปางสามารถทำตามมาตรการทั้ง 9 ข้อให้บรรลุได้ตามเป้าหมายเพียง 70-80% คาดว่าปัญหาหมอกควันปีนี้คงจะไม่เกิดขึ้น และหากจังหวัดลำปางนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถแก้ปัญหาหมอกควันได้อย่างยั่งยืนแน่นอน
รายงานข่าวแจ้งว่า กรมควบคุมมลพิษยังคงเดินสายจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นต่อการเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งในจังหวัดภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้จัดการประชุมขึ้นที่ห้องเวียงแก้ว โรงแรมลำปางเวียงทอง อ.เมือง จ.ลำปาง
โดยมีนายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จ.ลำปาง เกี่ยวกับมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควัน ไฟป่า ทั้งด้านกฎหมาย การควบคุม การจัดระเบียบ และการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการประชุมมีประชาชนมากกว่า 400 คนจากทั้ง 13 อำเภอของ จ.ลำปาง ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น
นายวิเชียรกล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษขอเสนอ (ร่าง) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งปี 2556 จำนวน 9 มาตรการ ซึ่งทางกรมฯ ได้ทำการประเมินปัญหาและกำหนดแนวทางมาตรการร่วมกับ 13 หน่วยงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนำมาเสนอเพื่อขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่มีต่อมาตรการทั้ง 9 ข้อ
ประกอบด้วย 1. การห้ามเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ วัชพืชในช่วง 80 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 21 ม.ค.-10 เม.ย. 2556 โดยขอให้ทางจังหวัดออกเป็นประกาศ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็นข้อบัญญัติห้ามเผาในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิด ส่วนในพื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.อุทยาน เน้นย้ำปีนี้ต้องเฉียบขาดเอาจริงเอาจังไม่มีการละเว้น
2. มีการจัดระเบียบการเผาช่วง 80 วันอันตรายของแต่ละจังหวัดตามขนาดพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต โดยกรมควบคุมมลพิษจะเป็นผู้คำนวณอัตราส่วนและให้จังหวัดนำไปดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการขออนุญาตเผา และให้มีหน่วยงานเข้าไปควบคุมการเผาด้วย
3. มีการป้องกันการเกิดไฟป่าอย่างเข้มข้น ด้วยการให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านการควบคุมป้องกัน จัดทำแนวกันไฟให้แล้วเสร็จก่อนช่วง 80 วันอันตราย 4. สนับสนุนให้มีชุมชนมาตรฐานหมู่บ้านปลอดการเผา 5. ส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
6. มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปสู่กลุ่มเป้าหมาย 7. มีการแจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควันเป็นระยะๆ เพื่อควบคุมอัตราปริมาณการเผา 8. การให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน และ 9. ให้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันแก้ไขสถานการณ์หมอกควันไฟป่า
เมื่อมีการนำเสนอมาตรการทั้ง 9 ผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็นแล้ว ทางกรมควบคุมมลพิษจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการจัดการไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อไป
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษได้กล่าวในตอนท้ายว่า ปีนี้หากจังหวัดลำปางสามารถทำตามมาตรการทั้ง 9 ข้อให้บรรลุได้ตามเป้าหมายเพียง 70-80% คาดว่าปัญหาหมอกควันปีนี้คงจะไม่เกิดขึ้น และหากจังหวัดลำปางนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถแก้ปัญหาหมอกควันได้อย่างยั่งยืนแน่นอน