ศูนย์ข่าวศรีราชา- เมืองพัทยาหวั่นปัญหาสิ่งแวดล้อม เร่งของบรัฐบาล 885 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ หลังเริ่มมีปัญหาจากภาวการณ์เติบโตจนระบบไม่สามารถรองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันนี้ (6 พ.ย.) ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา นายวิรัตน์ จิระศรีไพฑูรย์ ผอ.กองช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเขตชุมชนเมืองพัทยา เกี่ยวกับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียในพื้นที่พัทยา นาเกลือ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการ รวมทั้งยังเป็นการรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อโครงการ พร้อมทั้งการรับฟังปัญหาความเดือดร้อน และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
การดำเนินการในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลในการนำเสนอขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการแผนปฏิบัติการการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมประจำปีงบประมาณ 2557 ในงบประมาณก่อสร้าง 885,000,000 บาท จากภาครัฐบาล โดยมีตัวแทนชุมชนต่างๆ ในเมืองพัทยาเข้าร่วมรับฟังอย่างพร้อมเพรียง
นายวิรัตน์ กล่าวว่า เมืองพัทยาเป็นพื้นที่เมืองท่องเที่ยวพิเศษ และเป็นเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งอดีตที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำลายภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ภาครัฐจึงอนุมัติงบประมาณ 1,800 ล้านบาท เพื่อมาดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้น เพื่อบำบัดน้ำที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคให้มีคุณภาพก่อนปล่อยทิ้งลงสู่ทะเล ซึ่งพบว่าทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ชายหาดและน้ำทะเลมีความใสสะอาด จนสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวดีขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การบำบัดน้ำเสียในพื้นที่พัทยา และนาเกลือมีปัญหาอย่างต่อเนื่องเช่นกันในหลายด้าน เช่น ปัญหาที่ไม่มีโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสียที่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ชุมชน โดยที่ผ่านมาพบว่า มีสัดส่วนของการรองรับการบำบัดน้ำได้เพียง 75% ของพื้นที่ ยังเหลือในพื้นที่ช่วงรอยต่อกับเทศบาลตำบลบางละมุง และด้านทิศเหนือของเมืองพัทยาบางส่วน
นายวิรัตน์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ อุปกรณ์ในสถานีสูบน้ำเสียเองก็เริ่มมีอาการเสื่อมสภาพและชำรุด ขณะที่ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในเมืองพัทยานั้น มีปริมาณเพิ่มจนเกินขีดความสามารถในการรองรับของระบบที่จะสามารถรองรับได้เพียง 65,000 ลบ.ม./วัน แต่ปัจจุบัน กลับมีน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดถึง 75,000 ลบ.ม./วัน ด้วยปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว และด้วยปริมาณน้ำที่มากจนเกินมาตรฐานการรองรับ จึงทำให้คุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดและปล่อยลงสู่ทะเลบริเวณตลาดนาเกลือ ซึ่งถือเป็นแหล่งรองรับน้ำนั้น พบว่ามีปริมาณสารประกอบจำพวกไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูงขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดผละกระทบต่อคุณภาพน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวได้
ปัญหาเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน เพื่อให้การบำบัดน้ำเสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เมืองพัทยา และนาเกลือได้อย่างเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำต่อไป เมืองพัทยาจึงเร่งดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เมืองพัทยา และนาเกลือให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อให้ระบบเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการบำบัดน้ำเสียได้ถึง 130,000 ลบ.ม./วัน โดยจะมีการก่อสร้างท่อระบายน้ำขึ้นใหม่ในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการอีก 25% เพื่อทำการรวบรวมน้ำเข้าสู่ระบบบำบัด
รวมทั้งทำการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มีความสามารถบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้น โดยให้มีเสริมประสิทธิภาพในการกำจัดสารอาหารจำพวกไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งให้อยู่ในค่ามาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งการปรับปรุงท่อระบายน้ำทิ้งหลังบำบัดให้มีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำเสีย และน้ำทิ้ง และการเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการนำน้ำหลังการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวถือเป็นสิ่งจำเป็ นและเมืองพัทยาจะได้จัดทำเพื่อขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในปีงบประมาณ 2557 โดยการจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นจะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อขอรับความเห็นชอบต่อไป
วันนี้ (6 พ.ย.) ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา นายวิรัตน์ จิระศรีไพฑูรย์ ผอ.กองช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเขตชุมชนเมืองพัทยา เกี่ยวกับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียในพื้นที่พัทยา นาเกลือ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการ รวมทั้งยังเป็นการรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อโครงการ พร้อมทั้งการรับฟังปัญหาความเดือดร้อน และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
การดำเนินการในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลในการนำเสนอขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการแผนปฏิบัติการการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมประจำปีงบประมาณ 2557 ในงบประมาณก่อสร้าง 885,000,000 บาท จากภาครัฐบาล โดยมีตัวแทนชุมชนต่างๆ ในเมืองพัทยาเข้าร่วมรับฟังอย่างพร้อมเพรียง
นายวิรัตน์ กล่าวว่า เมืองพัทยาเป็นพื้นที่เมืองท่องเที่ยวพิเศษ และเป็นเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งอดีตที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำลายภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ภาครัฐจึงอนุมัติงบประมาณ 1,800 ล้านบาท เพื่อมาดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้น เพื่อบำบัดน้ำที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคให้มีคุณภาพก่อนปล่อยทิ้งลงสู่ทะเล ซึ่งพบว่าทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ชายหาดและน้ำทะเลมีความใสสะอาด จนสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวดีขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การบำบัดน้ำเสียในพื้นที่พัทยา และนาเกลือมีปัญหาอย่างต่อเนื่องเช่นกันในหลายด้าน เช่น ปัญหาที่ไม่มีโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสียที่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ชุมชน โดยที่ผ่านมาพบว่า มีสัดส่วนของการรองรับการบำบัดน้ำได้เพียง 75% ของพื้นที่ ยังเหลือในพื้นที่ช่วงรอยต่อกับเทศบาลตำบลบางละมุง และด้านทิศเหนือของเมืองพัทยาบางส่วน
นายวิรัตน์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ อุปกรณ์ในสถานีสูบน้ำเสียเองก็เริ่มมีอาการเสื่อมสภาพและชำรุด ขณะที่ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในเมืองพัทยานั้น มีปริมาณเพิ่มจนเกินขีดความสามารถในการรองรับของระบบที่จะสามารถรองรับได้เพียง 65,000 ลบ.ม./วัน แต่ปัจจุบัน กลับมีน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดถึง 75,000 ลบ.ม./วัน ด้วยปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว และด้วยปริมาณน้ำที่มากจนเกินมาตรฐานการรองรับ จึงทำให้คุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดและปล่อยลงสู่ทะเลบริเวณตลาดนาเกลือ ซึ่งถือเป็นแหล่งรองรับน้ำนั้น พบว่ามีปริมาณสารประกอบจำพวกไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูงขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดผละกระทบต่อคุณภาพน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวได้
ปัญหาเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน เพื่อให้การบำบัดน้ำเสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เมืองพัทยา และนาเกลือได้อย่างเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำต่อไป เมืองพัทยาจึงเร่งดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เมืองพัทยา และนาเกลือให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อให้ระบบเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการบำบัดน้ำเสียได้ถึง 130,000 ลบ.ม./วัน โดยจะมีการก่อสร้างท่อระบายน้ำขึ้นใหม่ในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการอีก 25% เพื่อทำการรวบรวมน้ำเข้าสู่ระบบบำบัด
รวมทั้งทำการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มีความสามารถบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้น โดยให้มีเสริมประสิทธิภาพในการกำจัดสารอาหารจำพวกไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งให้อยู่ในค่ามาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งการปรับปรุงท่อระบายน้ำทิ้งหลังบำบัดให้มีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำเสีย และน้ำทิ้ง และการเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการนำน้ำหลังการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวถือเป็นสิ่งจำเป็ นและเมืองพัทยาจะได้จัดทำเพื่อขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในปีงบประมาณ 2557 โดยการจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นจะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อขอรับความเห็นชอบต่อไป