กาฬสินธุ์-จังหวัดกาฬสินธุ์ประกาศพื้นที่ 7 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ง เบื้องต้นมีนาข้าวตายแล้วกว่า 4 หมื่น 5 พันไร่ ราษฎรขาดแคลนน้ำดื่มกว่า 5 หมื่นครอบครัว
วันนี้( 22 ต.ค.) ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ นายสุวิทย์ สุบงกฎ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ ปภ. ฝ่ายปกครอง เข้ารับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากตัวแทนประชาชนซึ่งประสบภัยแล้งซ้ำซากทุกปี พร้อมกับเข้าตรวจสอบสภาพต้นข้าวตายแล้ง ซึ่งได้ครอบคลุมทั้งตำบลกว่า 2 หมื่นไร่ และในขณะนี้ยังพบว่าประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ทำให้ทาง อบต.หลักเหลี่ยมต้องนำน้ำไปแจกจ่ายตลอดทั้งวัน
นายสุวิทย์กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่นอกเขตชลประทานประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งทางจังหวัดได้ประกาศให้พื้นที่ 7 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองกาฬสินธุ์ อ.นามน อ.สามชัย อ.ห้วยผึ้ง อ.สหัสขันธ์ อ.ดอนจาน และ อ.นาคู 46 ตำบล 486 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ง
ในจำนวนนี้มีราษฎรเดือดร้อน 159,121 คน หรือ 51,212 ครัวเรือน มีพื้นที่นาข้าวยืนต้นตายแล้ง 46,136 ไร่ และพืชไร่อีก 500 ไร่ และคาดว่าจะมีรายงานความเดือดร้อนมาครบทั้ง 18 อำเภอ
อย่างไรก็ตาม แนวทางการช่วยเหลือเฉพาะหน้าจะเป็นการจัดหาน้ำดื่มและน้ำอุปโภคบริโภคออกแจกจ่าย ซึ่งขณะนี้อำเภอที่ประกาศภัยแล้งสามารถใช้เงินได้อำเภอละ 1 ล้านบาท เป็นการบรรเทาภัยในเบื้องต้น
วันนี้( 22 ต.ค.) ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ นายสุวิทย์ สุบงกฎ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ ปภ. ฝ่ายปกครอง เข้ารับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากตัวแทนประชาชนซึ่งประสบภัยแล้งซ้ำซากทุกปี พร้อมกับเข้าตรวจสอบสภาพต้นข้าวตายแล้ง ซึ่งได้ครอบคลุมทั้งตำบลกว่า 2 หมื่นไร่ และในขณะนี้ยังพบว่าประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ทำให้ทาง อบต.หลักเหลี่ยมต้องนำน้ำไปแจกจ่ายตลอดทั้งวัน
นายสุวิทย์กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่นอกเขตชลประทานประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งทางจังหวัดได้ประกาศให้พื้นที่ 7 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองกาฬสินธุ์ อ.นามน อ.สามชัย อ.ห้วยผึ้ง อ.สหัสขันธ์ อ.ดอนจาน และ อ.นาคู 46 ตำบล 486 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ง
ในจำนวนนี้มีราษฎรเดือดร้อน 159,121 คน หรือ 51,212 ครัวเรือน มีพื้นที่นาข้าวยืนต้นตายแล้ง 46,136 ไร่ และพืชไร่อีก 500 ไร่ และคาดว่าจะมีรายงานความเดือดร้อนมาครบทั้ง 18 อำเภอ
อย่างไรก็ตาม แนวทางการช่วยเหลือเฉพาะหน้าจะเป็นการจัดหาน้ำดื่มและน้ำอุปโภคบริโภคออกแจกจ่าย ซึ่งขณะนี้อำเภอที่ประกาศภัยแล้งสามารถใช้เงินได้อำเภอละ 1 ล้านบาท เป็นการบรรเทาภัยในเบื้องต้น