พระนครศรีอยุธยา - ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา ประกาศภัยพิบัติ 6 อำเภอลุ่มน้ำแล้ว เตรียมพื้นที่รับน้ำในทุ่งชลประทาน
วันนี้ (11 ก.ย.) นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการส่วนหน้าพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์ฯ ว่า ขณะนี้ได้ประกาศให้พื้นที่ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอผักไห่ บางบาล เสนา บางปะอิน บางไทร และอำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉินแล้ว
ล่าสุด มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำล้นตลิ่งเข้าไปในพื้นที่ถึง 5,000 หลังคาเรือน เฉลี่ยน้ำอยู่ในระดับ 10-50 เซนติเมตร โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำเงินทดรองจ่ายไปใช้ในการป้องกัน และช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนได้ พร้อมสั่งการให้คณะกรรมการใน 4 ลุ่มน้ำ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบายน้ำ และหาพื้นที่รองรับน้ำเข้าทุ่ง
ขณะนี้ จังหวัดได้ประชุม และสั่งการให้ชลประทานพื้นที่ อำเภอ และเกษตรอำเภอ ดูว่าเราจะสามารถระบายน้ำจากลุ่มน้ำเข้าไปในระบบชลประทานในพื้นที่รับน้ำในทุ่งต่างๆ ใดได้บ้าง เพื่อลดระดับน้ำในแม่น้ำลง โดยต้องระมัดระวังบ้านเรือนประชาชน กับพื้นที่การเกษตร รวมถึงคณะกรรมการลุ่มน้ำไปดูว่า พื้นที่เกษตรส่วนไหนที่ยังจำเป็นต้องป้องกันไว้ หรือต้องทำคันดินเสริมให้พื้นที่นาเหล่านั้น หรือรอจนกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งพื้นที่ไหนสามารถเก็บเกี่ยวได้ให้อำเภอจัดหารถเกี่ยว รถบรรทุก อำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บเกี่ยวหนีน้ำได้ทัน”
ส่วนการรายงานความเสียหาย และความช่วยเหลือของประชาชนนั้น นายวิทยา ย้ำว่า จะต้องมีบ้านเลขที่ มีจำนวนคนในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบที่ชัดเจนเพื่อให้การบริหารจัดการช่วยเหลือเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน
วันนี้ (11 ก.ย.) นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการส่วนหน้าพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์ฯ ว่า ขณะนี้ได้ประกาศให้พื้นที่ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอผักไห่ บางบาล เสนา บางปะอิน บางไทร และอำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉินแล้ว
ล่าสุด มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำล้นตลิ่งเข้าไปในพื้นที่ถึง 5,000 หลังคาเรือน เฉลี่ยน้ำอยู่ในระดับ 10-50 เซนติเมตร โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำเงินทดรองจ่ายไปใช้ในการป้องกัน และช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนได้ พร้อมสั่งการให้คณะกรรมการใน 4 ลุ่มน้ำ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบายน้ำ และหาพื้นที่รองรับน้ำเข้าทุ่ง
ขณะนี้ จังหวัดได้ประชุม และสั่งการให้ชลประทานพื้นที่ อำเภอ และเกษตรอำเภอ ดูว่าเราจะสามารถระบายน้ำจากลุ่มน้ำเข้าไปในระบบชลประทานในพื้นที่รับน้ำในทุ่งต่างๆ ใดได้บ้าง เพื่อลดระดับน้ำในแม่น้ำลง โดยต้องระมัดระวังบ้านเรือนประชาชน กับพื้นที่การเกษตร รวมถึงคณะกรรมการลุ่มน้ำไปดูว่า พื้นที่เกษตรส่วนไหนที่ยังจำเป็นต้องป้องกันไว้ หรือต้องทำคันดินเสริมให้พื้นที่นาเหล่านั้น หรือรอจนกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งพื้นที่ไหนสามารถเก็บเกี่ยวได้ให้อำเภอจัดหารถเกี่ยว รถบรรทุก อำนวยความสะดวกให้สามารถเก็บเกี่ยวหนีน้ำได้ทัน”
ส่วนการรายงานความเสียหาย และความช่วยเหลือของประชาชนนั้น นายวิทยา ย้ำว่า จะต้องมีบ้านเลขที่ มีจำนวนคนในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบที่ชัดเจนเพื่อให้การบริหารจัดการช่วยเหลือเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน