แม่ฮ่องสอน - สาธารณสุขจังหวัดฯ แนะผู้ปกครองเด็กเล็กดูแลความสะอาดให้ล้างมือบ่อยๆ พร้อมย้ำให้พี่เลี้ยงศูนย์เด็กเล็กดูแลความสะอาดสถานที่ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก หลังพบมีเด็กเมืองสามหมอกป่วยแล้ว 117 ราย
นพ.ไพศาล ธัญญาวินิจกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ตามที่มีข่าวการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศกัมพูชา มีรายงานเด็กเสียชีวิต 50 กว่าราย เป็นเชื้อโรคที่ชื่อ เอนเทอโรไวรัส 71 ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน คือ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ ที่รุนแรงคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ส่วนเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปากในประเทศไทยเป็นเชื้อไวรัสคอกซากี สายพันธุ์เอและสายพันธ์บี พวกนี้จะไม่รุนแรง ขอให้อย่าวิตกกังวล โรคนี้มักจะเกิดแก่เด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบลงมา ส่วนใหญ่จะเป็นวัยเตรียมอนุบาล หรืออนุบาล อาการเจ็บป่วยเป็นแผลในปาก และมีผื่นคันตามฝ่ามือและเท้า บางรายจะมีอาการไข้สูง โดยเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วันก็จะหาย ส่วนใหญ่มักจะพบมากในฤดูหนาว หรือช่วงที่มีอากาศเย็นทำให้เด็กป่วยกันประปราย ไม่ถือว่าเป็นการระบาด
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอนเปิดเผยว่า สำหรับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ มกราคม-11 ก.ค. 55 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 117 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากคือ เด็กอายุ 0-4 ขวบ รองลงมาคืออายุ 5-9 ขวบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในความดูแลของผู้ปกครองและพี่เลี้ยง
สำหรับการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ผู้ปกครองต้องดูแลบุตรหลานของตนเองด้วย ดูแลเรื่องความสะอาด ฝึกสุขนิสัยให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ดูแลความสะอาดตามสถานที่ของเล่นของเด็ก หากพบอาการดังกล่าวให้นำไปพบแพทย์ทันที
กรณีพบเด็กป่วยในศูนย์เด็กเล็กจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและควบคุมโรค เพราะโรคนี้ติดต่อกันทางสัมผัส เชื้อจะอยู่ในอุจาระและบริเวณแผล เช่น ถ้าหากพบเด็กในห้องเรียนป่วย 2-5 ราย ให้ปิดศูนย์เด็กเล็กชั่วคราว ส่วนโรงเรียนต่างๆ ถ้าพบนักเรียนป่วยในห้องเรียนป่วย 2-5 คน ให้ปิดห้องเรียนนั้น ถ้ามีผู้ป่วย 2-5 ห้องเรียนให้ปิดทั้งชั้นเรียน หากมีเด็กป่วยตั้งแต่ 5 ห้องขึ้นไปให้ปิดโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดอาคาร โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดอาคารในส่วนที่เด็กสัมผัส รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนทุกชนิด รวมถึงภาชนะต่างๆ ด้วยการต้มในน้ำร้อน และนำไปตากแดดทุกวัน
นพ.ไพศาล ธัญญาวินิจกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ตามที่มีข่าวการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศกัมพูชา มีรายงานเด็กเสียชีวิต 50 กว่าราย เป็นเชื้อโรคที่ชื่อ เอนเทอโรไวรัส 71 ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน คือ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ ที่รุนแรงคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ส่วนเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปากในประเทศไทยเป็นเชื้อไวรัสคอกซากี สายพันธุ์เอและสายพันธ์บี พวกนี้จะไม่รุนแรง ขอให้อย่าวิตกกังวล โรคนี้มักจะเกิดแก่เด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบลงมา ส่วนใหญ่จะเป็นวัยเตรียมอนุบาล หรืออนุบาล อาการเจ็บป่วยเป็นแผลในปาก และมีผื่นคันตามฝ่ามือและเท้า บางรายจะมีอาการไข้สูง โดยเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วันก็จะหาย ส่วนใหญ่มักจะพบมากในฤดูหนาว หรือช่วงที่มีอากาศเย็นทำให้เด็กป่วยกันประปราย ไม่ถือว่าเป็นการระบาด
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอนเปิดเผยว่า สำหรับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ มกราคม-11 ก.ค. 55 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 117 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากคือ เด็กอายุ 0-4 ขวบ รองลงมาคืออายุ 5-9 ขวบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในความดูแลของผู้ปกครองและพี่เลี้ยง
สำหรับการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ผู้ปกครองต้องดูแลบุตรหลานของตนเองด้วย ดูแลเรื่องความสะอาด ฝึกสุขนิสัยให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ดูแลความสะอาดตามสถานที่ของเล่นของเด็ก หากพบอาการดังกล่าวให้นำไปพบแพทย์ทันที
กรณีพบเด็กป่วยในศูนย์เด็กเล็กจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและควบคุมโรค เพราะโรคนี้ติดต่อกันทางสัมผัส เชื้อจะอยู่ในอุจาระและบริเวณแผล เช่น ถ้าหากพบเด็กในห้องเรียนป่วย 2-5 ราย ให้ปิดศูนย์เด็กเล็กชั่วคราว ส่วนโรงเรียนต่างๆ ถ้าพบนักเรียนป่วยในห้องเรียนป่วย 2-5 คน ให้ปิดห้องเรียนนั้น ถ้ามีผู้ป่วย 2-5 ห้องเรียนให้ปิดทั้งชั้นเรียน หากมีเด็กป่วยตั้งแต่ 5 ห้องขึ้นไปให้ปิดโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดอาคาร โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดอาคารในส่วนที่เด็กสัมผัส รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนทุกชนิด รวมถึงภาชนะต่างๆ ด้วยการต้มในน้ำร้อน และนำไปตากแดดทุกวัน