ศูนย์ข่าวขอนแก่น-อีสานโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นของชาวอีสาน ภายหลังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการแก้รัฐธรรมนูญ” ส่วนใหญ่พอใจในคำวินิจฉัย และต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราและทำประชามติในกรณีแก้ทั้งฉบับ และส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยกับการยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยถึงการสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อการเมืองไทย ภายหลังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า กลุ่มสำรวจร้อยละ 43.6 ให้ความสนใจและติดตามข่าวการมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญพอสมควร และอีกร้อยละ 12 ให้การติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ก็ยังมีอีกกว่าร้อยละ 36.4 ที่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าว และร้อยละ 8 ที่ไม่สนใจติดตามข่าวนี้เลย
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างต่อว่ามีความพึงพอใจต่อผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ในครั้งนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40.6 ไม่ยินดียินร้ายในเรื่องนี้ รองลงมาร้อยละ 37.5 รู้สึกพึงพอใจกับผลการตัดสิน และอีกร้อยละ 22 รู้สึกไม่พึงพอใจ และเมื่อถามว่า หากท่านมีอำนาจในการตัดสินกรณีนี้ท่านจะให้การตัดสินอย่างไร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 48.2 ตอบว่า ให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เพียงบางมาตรา และให้ทำประชามติถามความเห็นประชาชนก่อนหากจะแก้ทั้งฉบับ
รองลงมาร้อยละ 25.5 ไม่มีความเห็นในประเด็นนี้ อีกร้อยละ 14.8 จะตัดสินว่าให้สภาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามวาระได้เลย
สำหรับความเชื่อมั่นที่กลุ่มตัวอย่างชาวอีสานมีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ในครั้งนี้ว่าจะเป็นไปเพื่อประชาชนโดยแท้จริงหรือไม่ พบว่าผู้ที่ไม่เชื่อมั่นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้จริงนั้นมีร้อยละ 33.3 และร้อยละ 32.3 รู้สึกไม่แน่ใจ-เฉยๆ กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ส่วนผู้ที่เชื่อมั่นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นไปเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงมีร้อยละ 34.4
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างชาวอีสานกว่าร้อยละ 52 ให้ความเห็นว่าความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 นี้ หากเกิดขึ้นก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองได้ มีเพียงร้อยละ 23.2 เท่านั้นที่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะนำมาซึ่งการคลี่คลายปัญหาการเมืองไทย ส่วนอีกร้อยละ 24.8 ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้
เมื่อถามต่อว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญของคนกลุ่มหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 46 ไม่เห็นด้วย และอีกร้อยละ 38.5 ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ มีเพียงร้อยละ 15.5 เท่านั้นที่รู้สึกเห็นด้วย
ดร.สุทินกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ทางอีสานโพลยังได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างชาวอีสานถึงสาเหตุของปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 56.5 เห็นว่าสาเหตุที่มีความร้ายแรงมากที่สุดคือ การทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ รองลงมาร้อยละ 21.4 เห็นว่าเกิดจากการใช้สิทธิและเสรีภาพที่เกินขอบเขตของประชาชน และมีอีกร้อยละ 22.1 ให้เหตุผลอื่นๆ ที่หลากหลาย เช่น การขาดความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ, ความละโมบของพ่อค้าและกลุ่มทุนต่างๆ เป็นต้น
ดร.สุทินระบุอีกว่า จากผลการสำรวจทำให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอีสานส่วนใหญ่รู้สึกพอใจต่อผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและเห็นด้วยกับคำแนะนำของศาลฯ และไม่เห็นด้วยที่จะยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ โดยส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่แน่ใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้จริง และยังเชื่อว่าอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองไทยได้ โดยสาเหตุที่สำคัญที่สุดของปัญหาการเมืองตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้เกิดจากการขาดคุณธรรมจริยธรรม และการทุจริตคอร์รัปชัน
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวดำเนินการระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2555 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,050 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยถึงการสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อการเมืองไทย ภายหลังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า กลุ่มสำรวจร้อยละ 43.6 ให้ความสนใจและติดตามข่าวการมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญพอสมควร และอีกร้อยละ 12 ให้การติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ก็ยังมีอีกกว่าร้อยละ 36.4 ที่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าว และร้อยละ 8 ที่ไม่สนใจติดตามข่าวนี้เลย
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างต่อว่ามีความพึงพอใจต่อผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ในครั้งนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40.6 ไม่ยินดียินร้ายในเรื่องนี้ รองลงมาร้อยละ 37.5 รู้สึกพึงพอใจกับผลการตัดสิน และอีกร้อยละ 22 รู้สึกไม่พึงพอใจ และเมื่อถามว่า หากท่านมีอำนาจในการตัดสินกรณีนี้ท่านจะให้การตัดสินอย่างไร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 48.2 ตอบว่า ให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เพียงบางมาตรา และให้ทำประชามติถามความเห็นประชาชนก่อนหากจะแก้ทั้งฉบับ
รองลงมาร้อยละ 25.5 ไม่มีความเห็นในประเด็นนี้ อีกร้อยละ 14.8 จะตัดสินว่าให้สภาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามวาระได้เลย
สำหรับความเชื่อมั่นที่กลุ่มตัวอย่างชาวอีสานมีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ในครั้งนี้ว่าจะเป็นไปเพื่อประชาชนโดยแท้จริงหรือไม่ พบว่าผู้ที่ไม่เชื่อมั่นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้จริงนั้นมีร้อยละ 33.3 และร้อยละ 32.3 รู้สึกไม่แน่ใจ-เฉยๆ กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ส่วนผู้ที่เชื่อมั่นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นไปเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงมีร้อยละ 34.4
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างชาวอีสานกว่าร้อยละ 52 ให้ความเห็นว่าความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 นี้ หากเกิดขึ้นก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองได้ มีเพียงร้อยละ 23.2 เท่านั้นที่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะนำมาซึ่งการคลี่คลายปัญหาการเมืองไทย ส่วนอีกร้อยละ 24.8 ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้
เมื่อถามต่อว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญของคนกลุ่มหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 46 ไม่เห็นด้วย และอีกร้อยละ 38.5 ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ มีเพียงร้อยละ 15.5 เท่านั้นที่รู้สึกเห็นด้วย
ดร.สุทินกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ทางอีสานโพลยังได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างชาวอีสานถึงสาเหตุของปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 56.5 เห็นว่าสาเหตุที่มีความร้ายแรงมากที่สุดคือ การทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ รองลงมาร้อยละ 21.4 เห็นว่าเกิดจากการใช้สิทธิและเสรีภาพที่เกินขอบเขตของประชาชน และมีอีกร้อยละ 22.1 ให้เหตุผลอื่นๆ ที่หลากหลาย เช่น การขาดความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ, ความละโมบของพ่อค้าและกลุ่มทุนต่างๆ เป็นต้น
ดร.สุทินระบุอีกว่า จากผลการสำรวจทำให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอีสานส่วนใหญ่รู้สึกพอใจต่อผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและเห็นด้วยกับคำแนะนำของศาลฯ และไม่เห็นด้วยที่จะยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ โดยส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่แน่ใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้จริง และยังเชื่อว่าอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองไทยได้ โดยสาเหตุที่สำคัญที่สุดของปัญหาการเมืองตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้เกิดจากการขาดคุณธรรมจริยธรรม และการทุจริตคอร์รัปชัน
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวดำเนินการระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2555 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,050 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ