จันทบุรี - จังหวัดจันทบุรีจัดพิธีวัน “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” ประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ
วันนี้ (11 ก.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้นำหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน กลุ่มพลังมวลชน นักเรียน-นักศึกษา ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายเครื่องราชสักการะเนื่องในวันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าประสาททอง พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา กับพระมารดา ผู้ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พุทธศักราช 2175 เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาการจนแตกฉาน มีความเชี่ยวชาญในทุกด้าน ทั้งศิลปะวิชาไตรเภท ยุทธศาสตร์ และการปกครอง ครั้นเมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประวัติศาสตร์ของชาติได้จารึกพระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านต่างๆ ไว้นานัปการ ทั้งในด้านการที่ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้กล้าหาญ ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในบูรพาที่เป็นมิตร และสนิทสนมกับชาวยุโรป ด้วยพระปรีชาญาณ ได้ทรงตัดสินพระทัยเลือกเจริญสัมพันธไมตรีอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับประเทศฮอลันดาได้ดำเนินการทางการทูตด้วยความละเอียด สุขุม รอบคอบ
ทรงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนทูต ยังปกครองอาณาประชาราษฎร์ด้วยทรงขอเวลาศึกษาไตร่ตรองหลักคำสอนของคริสต์ศาสนา ผลแห่งการกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป เป็นผลให้เกิดการถ่ายเทอารยธรรม ยังความเจริญในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ การค้า และสถาปัตยกรรมแก่สยามประเทศ
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาในด้านศิลปะวรรณคดีเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไทยไว้หลายเรื่อง เช่น พระราชนิพนธ์โคลงเรื่องทศรถสอนพระราม พาลีสอนน้อง ราชสวัสดิ์ และสมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นต้น
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จดำรงราชสมบัตินานถึง 32 ปี จึงทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พุทธศักราช 2231 สิริรวมพระชนมายุได้ 56 พรรษา
วันนี้ (11 ก.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้นำหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน กลุ่มพลังมวลชน นักเรียน-นักศึกษา ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายเครื่องราชสักการะเนื่องในวันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าประสาททอง พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา กับพระมารดา ผู้ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พุทธศักราช 2175 เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาการจนแตกฉาน มีความเชี่ยวชาญในทุกด้าน ทั้งศิลปะวิชาไตรเภท ยุทธศาสตร์ และการปกครอง ครั้นเมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประวัติศาสตร์ของชาติได้จารึกพระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านต่างๆ ไว้นานัปการ ทั้งในด้านการที่ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้กล้าหาญ ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในบูรพาที่เป็นมิตร และสนิทสนมกับชาวยุโรป ด้วยพระปรีชาญาณ ได้ทรงตัดสินพระทัยเลือกเจริญสัมพันธไมตรีอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับประเทศฮอลันดาได้ดำเนินการทางการทูตด้วยความละเอียด สุขุม รอบคอบ
ทรงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนทูต ยังปกครองอาณาประชาราษฎร์ด้วยทรงขอเวลาศึกษาไตร่ตรองหลักคำสอนของคริสต์ศาสนา ผลแห่งการกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป เป็นผลให้เกิดการถ่ายเทอารยธรรม ยังความเจริญในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ การค้า และสถาปัตยกรรมแก่สยามประเทศ
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาในด้านศิลปะวรรณคดีเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไทยไว้หลายเรื่อง เช่น พระราชนิพนธ์โคลงเรื่องทศรถสอนพระราม พาลีสอนน้อง ราชสวัสดิ์ และสมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นต้น
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จดำรงราชสมบัตินานถึง 32 ปี จึงทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พุทธศักราช 2231 สิริรวมพระชนมายุได้ 56 พรรษา