สกลนคร - ผอ.ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลฯ เตือนระวังโรคหนอนห่อใบข้าว แต่แนะเกษตรกรอย่าตื่นตกใจเพราะเป็นการระบาดในระยะสั้นๆ
นายสมบัติ ทัศนารักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร กล่าวเตือนเกษตรกรให้หมั่นลงนาข้าวเพื่อตรวจความผิดปกติเพื่อป้องกันการกลับมาระบาดของโรคหนอนห่อใบข้าวในช่วง 1-2 เดือนนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นข้าวกำลังแตกยอด ออกรวง โดยหากพบเห็นให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ ที่สำคัญอย่าเร่งใส่ปุ๋ยบำรุงเพราะจะเร่งให้ต้นข้าวเจริญเติบโต และจะยืนต้นตาย ซึ่งการระบาดรอบสองจะทำให้ต้นข้าวยืนต้นตาย 100 เปอร์เซ็นต์ไม่กลับมาเจริญเติบโตอีก
ในพื้นที่จังหวัดสกลนครได้มีการระบาดของโรคหนอนห่อใบข้าวมาแล้วครั้งหนึ่ง หลังเกษตรกรปักดำกล้าแล้วเสร็จ ช่วงนั้นหนอนห่อใบข้าวทำลายต้นข้าวกินพื้นที่เกือบ 3 แสนไร่ครอบคลุมทั้ง 18 อำเภอ จากพื้นที่ปลูกข้าว 2 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 44,000 ครัวเรือน
แต่หลังการระบาด เมื่อเกษตรกรตัดใบต้นข้าวทิ้ง ต้นกล้าก็สามารถเจริญเติบโตได้อีก ทำให้มีความเสียหายเป็นบางพื้นที่ ซึ่งหนอนห่อใบข้าวเกิดจากตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน มาฟักไข่ไว้ในใบข้าว และตัวอ่อนจะกัดกินใบข้าวที่เป็นสีเขียว ทำให้ใบข้าวสังเคราะห์แสงลดน้อยลง จนแห้งเฉาและตายในที่สุด
นายสมบัติกล่าวต่ออีกว่า ขอให้เกษตรกรอย่าตื่นตกใจจนเกินเหตุ เพราะสาเหตุที่แท้จริงแล้ว ในระยะนี้มีสภาพอากาศที่แปรปรวน การระบาดจึงมีมาก แต่ถ้าวันไหนมีแสงแดดร้อนตัวหนอนก็จะตายไปเอง จากนั้นต้นข้าวที่เหี่ยวก็จะกลับงอกขึ้นมาใหม่ทดแทนของเดิม
นายสมบัติ ทัศนารักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร กล่าวเตือนเกษตรกรให้หมั่นลงนาข้าวเพื่อตรวจความผิดปกติเพื่อป้องกันการกลับมาระบาดของโรคหนอนห่อใบข้าวในช่วง 1-2 เดือนนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นข้าวกำลังแตกยอด ออกรวง โดยหากพบเห็นให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ ที่สำคัญอย่าเร่งใส่ปุ๋ยบำรุงเพราะจะเร่งให้ต้นข้าวเจริญเติบโต และจะยืนต้นตาย ซึ่งการระบาดรอบสองจะทำให้ต้นข้าวยืนต้นตาย 100 เปอร์เซ็นต์ไม่กลับมาเจริญเติบโตอีก
ในพื้นที่จังหวัดสกลนครได้มีการระบาดของโรคหนอนห่อใบข้าวมาแล้วครั้งหนึ่ง หลังเกษตรกรปักดำกล้าแล้วเสร็จ ช่วงนั้นหนอนห่อใบข้าวทำลายต้นข้าวกินพื้นที่เกือบ 3 แสนไร่ครอบคลุมทั้ง 18 อำเภอ จากพื้นที่ปลูกข้าว 2 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 44,000 ครัวเรือน
แต่หลังการระบาด เมื่อเกษตรกรตัดใบต้นข้าวทิ้ง ต้นกล้าก็สามารถเจริญเติบโตได้อีก ทำให้มีความเสียหายเป็นบางพื้นที่ ซึ่งหนอนห่อใบข้าวเกิดจากตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน มาฟักไข่ไว้ในใบข้าว และตัวอ่อนจะกัดกินใบข้าวที่เป็นสีเขียว ทำให้ใบข้าวสังเคราะห์แสงลดน้อยลง จนแห้งเฉาและตายในที่สุด
นายสมบัติกล่าวต่ออีกว่า ขอให้เกษตรกรอย่าตื่นตกใจจนเกินเหตุ เพราะสาเหตุที่แท้จริงแล้ว ในระยะนี้มีสภาพอากาศที่แปรปรวน การระบาดจึงมีมาก แต่ถ้าวันไหนมีแสงแดดร้อนตัวหนอนก็จะตายไปเอง จากนั้นต้นข้าวที่เหี่ยวก็จะกลับงอกขึ้นมาใหม่ทดแทนของเดิม