ศูนย์ข่าวศรีราชา - พนักงานผลิตยาง บริดจสโตน รวมตัวประท้วงขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าฯ ชลบุรี หลังเรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าจ้างแบบเป็นธรรม แต่กลับถูกลอยแพ ขณะที่ประธานสหภาพฯ โร่แจ้งความเหตุบริษัทปิดโรงงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันนี้ (20 เม.ย.) พนักงานบริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตยางรถยนต์ส่งออกทั่วโลก ยี่ห้อบริดจสโตน ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จำนวนหลายร้อยคน ได้ร่วมตัวกันเดินทางมาขอให้นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นคนกลางเจรจากับนายมะเหะ ฮาร่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ที่สั่งปิดโรงงานแบบกะทันหัน ในช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานฝ่ายผลิตใหม่ และประกาศให้เงินเดือนสูงกว่าเดิม ในราคาฝึกงาน 300 บาทต่อวัน และหากรับเข้าทำงานใหม่จะได้วันละ 335 บาท ไม่รวมสวัสดิการ ทำให้พนักงานเดิมกว่า 1,400 คน ต้องตกงาน
ทั้งนี้ สาเหตุของการเลิกจ้างดังกล่าว มาจากการที่สหภาพแรงงานของโรงงาน ที่นำโดย นายเพชรรุ่ง ผลสุข ประธานสหภาพ ได้เป็นตัวแทนพนักงานทั้งหมดยื่นหนังสือเรียกร้องขอให้ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ยกเลิกระบบการคิดเงินเดือนในอัตราค่าจ้างใหม่ เพราะในช่วงปีที่ผ่านมา โรงงานได้นำระบบกระบอกเงินเดือนแบบโรงงานในประเทศญี่ปุ่นมาใช้ กล่าวคือ เป็นระบบเงินเดือนที่อายุงานยิ่งนาน เงินเดือนยิ่งน้อย และแรงงานที่ทำอยู่จะได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่เคยได้
จึงเรียกร้องขอให้บริษัทฯ กลับไปใช้ระบบกระบอกเงินเดือนแบบเดิม คือให้เงินค่าจ้างตามอายุงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน
เมื่อสหภาพฯ ได้ทำหนังสือเรียกร้อง และขอให้ไปเจรจากันที่สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี ก็ได้มีการเจรจากันถึง 4 ครั้ง กระทั่งในช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้บริหารได้สั่งปิดประตูโรงงาน พร้อมติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ ทำให้บรรดาพนักงานต้องไปรวมกันที่หน้าโรงงาน แต่โรงงานกลับส่ง SMS ชักชวนพนักงานให้กลับไปทำงานตามเดิม จนทำให้มีพนักงานบางส่วนยินยอมกลับเข้าทำงาน
ขณะที่นายเพชรรุ่ง ผลสุข พร้อมพรรคพวกอีก 5 คน ได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.อนุชา พงศ์เรืองรอง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพานทอง เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของโรงงานในข้อหา “ปิดโรงงานโดยไม่ชอบ” โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งยังลอยแพพนักงาน
และวันนี้ (20 เมษายน) ซึ่งเป็นวันที่เงินเดือนออกหลังถูกลอยแพ พนักงานกลับได้ค่าจ้างแค่ 13 วัน ซึ่งทางพนักงานทั้งหมด จะเดินทางไปยังสำนักงานแรงงานจังหวัดในวันพรุ่งนี้ เพื่อทำหนังสือแจ้งให้โรงงานจ่ายส่วนที่ยังจ่ายไม่ครบอีกด้วย
สำหรับโรงงานแห่งนี้ ได้ดำเนินการผลิตยางรถยนต์เพื่อส่งออกทั่วโลก และมีกำลังการผลิต 8,400 เส้นต่อวัน และมีแผนที่จะขยายกำลังผลิตเป็นวันละ 13,000 เส้นในอีก 3 ปีข้างหน้า
วันนี้ (20 เม.ย.) พนักงานบริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตยางรถยนต์ส่งออกทั่วโลก ยี่ห้อบริดจสโตน ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จำนวนหลายร้อยคน ได้ร่วมตัวกันเดินทางมาขอให้นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นคนกลางเจรจากับนายมะเหะ ฮาร่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ที่สั่งปิดโรงงานแบบกะทันหัน ในช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานฝ่ายผลิตใหม่ และประกาศให้เงินเดือนสูงกว่าเดิม ในราคาฝึกงาน 300 บาทต่อวัน และหากรับเข้าทำงานใหม่จะได้วันละ 335 บาท ไม่รวมสวัสดิการ ทำให้พนักงานเดิมกว่า 1,400 คน ต้องตกงาน
ทั้งนี้ สาเหตุของการเลิกจ้างดังกล่าว มาจากการที่สหภาพแรงงานของโรงงาน ที่นำโดย นายเพชรรุ่ง ผลสุข ประธานสหภาพ ได้เป็นตัวแทนพนักงานทั้งหมดยื่นหนังสือเรียกร้องขอให้ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ยกเลิกระบบการคิดเงินเดือนในอัตราค่าจ้างใหม่ เพราะในช่วงปีที่ผ่านมา โรงงานได้นำระบบกระบอกเงินเดือนแบบโรงงานในประเทศญี่ปุ่นมาใช้ กล่าวคือ เป็นระบบเงินเดือนที่อายุงานยิ่งนาน เงินเดือนยิ่งน้อย และแรงงานที่ทำอยู่จะได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่เคยได้
จึงเรียกร้องขอให้บริษัทฯ กลับไปใช้ระบบกระบอกเงินเดือนแบบเดิม คือให้เงินค่าจ้างตามอายุงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน
เมื่อสหภาพฯ ได้ทำหนังสือเรียกร้อง และขอให้ไปเจรจากันที่สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี ก็ได้มีการเจรจากันถึง 4 ครั้ง กระทั่งในช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้บริหารได้สั่งปิดประตูโรงงาน พร้อมติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ ทำให้บรรดาพนักงานต้องไปรวมกันที่หน้าโรงงาน แต่โรงงานกลับส่ง SMS ชักชวนพนักงานให้กลับไปทำงานตามเดิม จนทำให้มีพนักงานบางส่วนยินยอมกลับเข้าทำงาน
ขณะที่นายเพชรรุ่ง ผลสุข พร้อมพรรคพวกอีก 5 คน ได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.อนุชา พงศ์เรืองรอง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพานทอง เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของโรงงานในข้อหา “ปิดโรงงานโดยไม่ชอบ” โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งยังลอยแพพนักงาน
และวันนี้ (20 เมษายน) ซึ่งเป็นวันที่เงินเดือนออกหลังถูกลอยแพ พนักงานกลับได้ค่าจ้างแค่ 13 วัน ซึ่งทางพนักงานทั้งหมด จะเดินทางไปยังสำนักงานแรงงานจังหวัดในวันพรุ่งนี้ เพื่อทำหนังสือแจ้งให้โรงงานจ่ายส่วนที่ยังจ่ายไม่ครบอีกด้วย
สำหรับโรงงานแห่งนี้ ได้ดำเนินการผลิตยางรถยนต์เพื่อส่งออกทั่วโลก และมีกำลังการผลิต 8,400 เส้นต่อวัน และมีแผนที่จะขยายกำลังผลิตเป็นวันละ 13,000 เส้นในอีก 3 ปีข้างหน้า