ศรีสะเกษ - ผวจ.ศรีสะเกษ สั่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการตรวจสอบยาแก้หวัดซูโดอีเฟดรีนหายไปจาก รพ.ภูสิงห์ เผยอ้างว่าจ่ายยาให้ทหารตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา แต่ไม่มีหลักฐานการจ่ายยาให้ทหาร เตรียมตั้งสอบเอาผิดทางวินัยราชการ
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ศรีสะเกษว่า จากกรณีที่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ไปตรวจสอบการรับ-จ่ายยาแก้หวัดสูตรซูโดอีเฟดรีนของ รพ.ภูสิงห์ และพบว่ายาแก้หวัดสูตรดังกล่าวหายไปจาก รพ.ภูสิงห์จำนวน 250,000 เม็ด ซึ่งต่อมา ผวจ.ศรีสะเกษได้สั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลให้ทราบโดยด่วนนั้น
เมื่อเวลา 08.00 น.วันนี้ (2 เม.ย.) นายประทีป กีรติเรขา ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ตนได้รับรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ รพ.ภูสิงห์แล้ว
ผลการตรวจสอบพบว่าหลักฐานการจ่ายยาไม่ถูกต้อง มีเพียงหลักฐานการซื้อยา แต่ไม่มีหลักฐานการจ่ายยาออกไป ทำให้ยอดจำนวนยาหายไปจากบัญชีจำนวนทั้งสิ้น 250,000 เม็ด ตรงตามที่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มาตรวจสอบไว้แล้ว
โดยผู้เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบเรื่องนี้อ้างว่า สาเหตุที่ยาไม่ครบถ้วนตามหลักฐานที่ซื้อยามาเนื่องจากว่าได้มีการจ่ายยาให้ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ไปเป็นจำนวนมาก แต่จากการตรวจสอบของคณะกรรมการ พบว่ามีเพียงหลักฐานเอกสารการขอยาจากทหารเท่านั้น แต่ไม่มีหลักฐานการจ่ายยา หรือหลักฐานการรับยาของทหารออกไปแต่อย่างใด
ผวจ.ศรีสะเกษกล่าวต่อไปว่า ผลการตรวจสอบดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าผู้เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบยาดังกล่าวบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งพบว่ามีผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้นจำนวน 3 คน รวมทั้งคณะกรรมการที่ตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการผู้ตรวจรับยาทั้งหมดด้วย
สำหรับผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงคือ เภสัชกรประจำ รพ.ภูสิงห์ และการตรวจสอบเรื่องนี้ได้มีการรายงานผลการตรวจสอบไปยังกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ซึ่งตนทราบข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขจะมีการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงต่อผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้
ในส่วนของ จ.ศรีสะเกษ ตนในฐานะที่อยู่ดูแลสำนักงานสาธารณสุข จ.ศรีสะเกษ ได้แต่งตั้งนายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ รอง ผวจ.ศรีสะเกษ และคณะ จำนวน 3 คน เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการตรวจสอบเรื่องนี้ โดยให้ศึกษาระเบียบ กฎหมาย อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกรณีนี้ เพื่อที่จะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เนื่องจากตนไม่มั่นใจว่าอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ เป็นอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข หรือว่าเป็นอำนาจของ ผวจ.ศรีสะเกษ โดยให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งรายงานผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 3 วัน เพื่อจะได้พิจารณาสั่งการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ศรีสะเกษว่า จากกรณีที่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ไปตรวจสอบการรับ-จ่ายยาแก้หวัดสูตรซูโดอีเฟดรีนของ รพ.ภูสิงห์ และพบว่ายาแก้หวัดสูตรดังกล่าวหายไปจาก รพ.ภูสิงห์จำนวน 250,000 เม็ด ซึ่งต่อมา ผวจ.ศรีสะเกษได้สั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลให้ทราบโดยด่วนนั้น
เมื่อเวลา 08.00 น.วันนี้ (2 เม.ย.) นายประทีป กีรติเรขา ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ตนได้รับรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ รพ.ภูสิงห์แล้ว
ผลการตรวจสอบพบว่าหลักฐานการจ่ายยาไม่ถูกต้อง มีเพียงหลักฐานการซื้อยา แต่ไม่มีหลักฐานการจ่ายยาออกไป ทำให้ยอดจำนวนยาหายไปจากบัญชีจำนวนทั้งสิ้น 250,000 เม็ด ตรงตามที่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มาตรวจสอบไว้แล้ว
โดยผู้เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบเรื่องนี้อ้างว่า สาเหตุที่ยาไม่ครบถ้วนตามหลักฐานที่ซื้อยามาเนื่องจากว่าได้มีการจ่ายยาให้ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ไปเป็นจำนวนมาก แต่จากการตรวจสอบของคณะกรรมการ พบว่ามีเพียงหลักฐานเอกสารการขอยาจากทหารเท่านั้น แต่ไม่มีหลักฐานการจ่ายยา หรือหลักฐานการรับยาของทหารออกไปแต่อย่างใด
ผวจ.ศรีสะเกษกล่าวต่อไปว่า ผลการตรวจสอบดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าผู้เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบยาดังกล่าวบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งพบว่ามีผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้นจำนวน 3 คน รวมทั้งคณะกรรมการที่ตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการผู้ตรวจรับยาทั้งหมดด้วย
สำหรับผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงคือ เภสัชกรประจำ รพ.ภูสิงห์ และการตรวจสอบเรื่องนี้ได้มีการรายงานผลการตรวจสอบไปยังกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ซึ่งตนทราบข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขจะมีการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงต่อผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้
ในส่วนของ จ.ศรีสะเกษ ตนในฐานะที่อยู่ดูแลสำนักงานสาธารณสุข จ.ศรีสะเกษ ได้แต่งตั้งนายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ รอง ผวจ.ศรีสะเกษ และคณะ จำนวน 3 คน เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการตรวจสอบเรื่องนี้ โดยให้ศึกษาระเบียบ กฎหมาย อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกรณีนี้ เพื่อที่จะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เนื่องจากตนไม่มั่นใจว่าอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ เป็นอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข หรือว่าเป็นอำนาจของ ผวจ.ศรีสะเกษ โดยให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งรายงานผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 3 วัน เพื่อจะได้พิจารณาสั่งการต่อไป