ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ศูนย์เตือนภัยธุรกิจภาคเหนือ เปิดผลสำรวจความเห็นผู้ประกอบการ 6 หมวดธุรกิจเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เชื่อมั่นไตรมาสแรกปีนี้ธุรกิจขยายตัว “ที่พัก-บริการ” รุ่งสุด หลากกิจกรรมหนุน “กำไร-ยอดขาย” พุ่ง
ศูนย์เตือนภัยธุรกิจภาคเหนือ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่ง ดร.ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย เป็นผู้อำนวยการ ได้เผยแพร่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัดเชียงใหม่ ประจำไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.55) ซึ่งสามารถชี้วัดหมวดธุรกิจที่สำคัญ และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ 6 หมวดธุรกิจ
คือ 1.การผลิตผ้าทอและเครื่องนุ่งห่มจากผ้าทอ 2.การผลิตหัตถกรรมจากไม้ 3.การผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป 4.การบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ 5.การบริการอาหารและเครื่องดื่ม และ 6.การบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว และทำให้เห็นถึงภาพรวมสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้
ในไตรมาสที่ 1/55 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา (4/2554) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่า แนวโน้มธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะดัชนีด้านกำไรและยอดขาย ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 72.8 และ 80.3 ตามลำดับ ผู้ประกอบการคาดการณ์ ว่า จะมีกำไรและยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมาลดลงอย่างมาก อีกทั้งไตรมาสแรกของปียังอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ของจังหวัดเชียงใหม่ และมีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งงานปีใหม่ งานวันเด็ก มหกรรมพืชสวนโลก เฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ เป็นต้น
ผู้ประกอบการในกลุ่มของธุรกิจบริการ เช่น หมวดธุรกิจบริการที่พักแรมสำหรับนักท่องเที่ยว และหมวดธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีความเชื่อมั่นว่า จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในเชียงใหม่มากขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
และการจัดมหกรรมพืชสวนโลก เฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ช่วงเดือนธันวาคม 54 - เดือนมีนาคม 55 ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเชียงใหม่ให้คึกคักขึ้นทำให้มีอัตราการจองห้องพักเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการจ้างงาน กำลังการผลิต และการลงทุน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.6, 68.3 และ 79.0 ตามลำดับ ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ของผู้ประกอบการที่คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น
ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นด้านต้นทุนธุรกิจ ถึงแม้จะปรับตัวในทิศทางที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 89.5 แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางด้านต้นทุนวัตถุดิบ พลังงาน ราคาน้ำมัน และค่าขนส่ง รวมไปถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลชุดใหม่จะปรับเพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งผู้ประกอบการบางรายยังได้รับปัญหาจากอุทกภัยทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
เมื่อแยกตามหมวดธุรกิจ พบว่า หมวดธุรกิจบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวและหมวดธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นด้านยอดขาย และกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทำให้การจ้างงานและการลงทุนเพิ่มตามไปด้วย
เช่นเดียวกับหมวดการผลิตผ้าทอและเครื่องนุ่งห่ม จากผ้าทอ และหมวดการผลิตหัตถกรรมจากไม้ ค่าดัชนี ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เพราะมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว
ส่วนหมวดธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปและหมวดธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ ดัชนีทุกองค์ประกอบอยู่ระดับที่มากกว่า 50.0 ยกเว้นด้านการจ้างงานของหมวดธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ปรับตัวในทิศทางที่ลดลง อันอาจเนื่องจากความต้องการในการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งพิจารณาโดยรวมแล้วผู้ประกอบการทุกหมวดธุรกิจ มีความเชื่อมั่นต่อภาวะทางธุรกิจประจำไตรมาสที่ 1/55 อยู่ในระดับที่ดีมากทีเดียว
ทั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยธุรกิจภาคเหนือฯ ได้รวบรวมความคิดเห็นและการคาดการณ์ผู้ประกอบการ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง และมีประสบการณ์ในธุรกิจที่มี โดยมีการสุ่มตัวอย่างมาตามหลักการทางสถิติ กำหนดค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 0-100 ถ้าค่าดัชนีมีค่ามากกว่า 50 หมายถึง ผู้ประกอบการโดยรวมคาดการณ์ว่าองค์ประกอบนั้นๆ มีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ถ้าค่าดัชนีมีค่าเท่ากับ 50 หมายถึงผู้ประกอบการ โดยรวมคาดว่า องค์ประกอบนั้นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือคงอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าค่าดัชนีมีค่าน้อยกว่า 50 หมายถึง ผู้ประกอบการ โดยรวมคาดว่า องค์ประกอบนั้นๆ มีการปรับตัวในทิศทางที่ลดลง
ศูนย์เตือนภัยธุรกิจภาคเหนือ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่ง ดร.ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย เป็นผู้อำนวยการ ได้เผยแพร่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัดเชียงใหม่ ประจำไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.55) ซึ่งสามารถชี้วัดหมวดธุรกิจที่สำคัญ และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ 6 หมวดธุรกิจ
คือ 1.การผลิตผ้าทอและเครื่องนุ่งห่มจากผ้าทอ 2.การผลิตหัตถกรรมจากไม้ 3.การผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป 4.การบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ 5.การบริการอาหารและเครื่องดื่ม และ 6.การบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว และทำให้เห็นถึงภาพรวมสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้
ในไตรมาสที่ 1/55 เดือนมกราคม-มีนาคม 2555 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา (4/2554) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่า แนวโน้มธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะดัชนีด้านกำไรและยอดขาย ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 72.8 และ 80.3 ตามลำดับ ผู้ประกอบการคาดการณ์ ว่า จะมีกำไรและยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมาลดลงอย่างมาก อีกทั้งไตรมาสแรกของปียังอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ของจังหวัดเชียงใหม่ และมีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งงานปีใหม่ งานวันเด็ก มหกรรมพืชสวนโลก เฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ เป็นต้น
ผู้ประกอบการในกลุ่มของธุรกิจบริการ เช่น หมวดธุรกิจบริการที่พักแรมสำหรับนักท่องเที่ยว และหมวดธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีความเชื่อมั่นว่า จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในเชียงใหม่มากขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
และการจัดมหกรรมพืชสวนโลก เฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ช่วงเดือนธันวาคม 54 - เดือนมีนาคม 55 ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเชียงใหม่ให้คึกคักขึ้นทำให้มีอัตราการจองห้องพักเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการจ้างงาน กำลังการผลิต และการลงทุน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.6, 68.3 และ 79.0 ตามลำดับ ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ของผู้ประกอบการที่คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น
ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นด้านต้นทุนธุรกิจ ถึงแม้จะปรับตัวในทิศทางที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 89.5 แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางด้านต้นทุนวัตถุดิบ พลังงาน ราคาน้ำมัน และค่าขนส่ง รวมไปถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลชุดใหม่จะปรับเพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งผู้ประกอบการบางรายยังได้รับปัญหาจากอุทกภัยทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
เมื่อแยกตามหมวดธุรกิจ พบว่า หมวดธุรกิจบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวและหมวดธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นด้านยอดขาย และกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทำให้การจ้างงานและการลงทุนเพิ่มตามไปด้วย
เช่นเดียวกับหมวดการผลิตผ้าทอและเครื่องนุ่งห่ม จากผ้าทอ และหมวดการผลิตหัตถกรรมจากไม้ ค่าดัชนี ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เพราะมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว
ส่วนหมวดธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปและหมวดธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ ดัชนีทุกองค์ประกอบอยู่ระดับที่มากกว่า 50.0 ยกเว้นด้านการจ้างงานของหมวดธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ปรับตัวในทิศทางที่ลดลง อันอาจเนื่องจากความต้องการในการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งพิจารณาโดยรวมแล้วผู้ประกอบการทุกหมวดธุรกิจ มีความเชื่อมั่นต่อภาวะทางธุรกิจประจำไตรมาสที่ 1/55 อยู่ในระดับที่ดีมากทีเดียว
ทั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยธุรกิจภาคเหนือฯ ได้รวบรวมความคิดเห็นและการคาดการณ์ผู้ประกอบการ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง และมีประสบการณ์ในธุรกิจที่มี โดยมีการสุ่มตัวอย่างมาตามหลักการทางสถิติ กำหนดค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 0-100 ถ้าค่าดัชนีมีค่ามากกว่า 50 หมายถึง ผู้ประกอบการโดยรวมคาดการณ์ว่าองค์ประกอบนั้นๆ มีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ถ้าค่าดัชนีมีค่าเท่ากับ 50 หมายถึงผู้ประกอบการ โดยรวมคาดว่า องค์ประกอบนั้นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือคงอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าค่าดัชนีมีค่าน้อยกว่า 50 หมายถึง ผู้ประกอบการ โดยรวมคาดว่า องค์ประกอบนั้นๆ มีการปรับตัวในทิศทางที่ลดลง