ศรีสะเกษ - ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ เรียกถกคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตทางการเกษตรระดับจังหวัด เร่งเปิดจุดรับซื้อพยุงราคาหอมแดงตกต่ำ ช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 300 ล้าน
วันนี้ (17 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ รองผู้ว่าฯศรีสะเกษ และคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรกร ระดับจังหวัดศรีสะกษ ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือในการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงแนวทางการดำเนินโครงการ และเร่งจัดเตรียมสถานที่รองรับจุดรับซื้อและรวบรวมหอมแดง
นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากองค์การคลังสินค้าหรือ อคส. ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาหอมแดง ฤดูกาลผลิต ปี 2554/55 ทั้งระบบ เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการผลิตหอมแดงในราคาที่คุ้มค่าการลงทุน ซึ่งทาง อคส.ได้อนุมัติเงินทุนเพื่อเป็นเงินหมุนเวียนจำนวน 334.50 ล้านบาท
แยกเป็นเงินทุนหมุนเวียน 295 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อหอมแดง ในราคานำตลาด เพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต และส่งออกไปต่างประเทศปริมาณไม่น้อยกว่า 15,000 ตัน และส่วนที่เป็นเงินจ่ายขาดวงเงิน 29.50 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารการ ตลาด และภาวะขาดทุนของ อคส.ตามที่เกิดขึ้นจริง โดยจะรับซื้อในกิโลกรัมละ 15 บาท และจะเริ่มเปิดจุดรองรับการซื้อหอมแดงที่ตลาดหอมแดง อ.วังหิน และ อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ
วันนี้ (17 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ รองผู้ว่าฯศรีสะเกษ และคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรกร ระดับจังหวัดศรีสะกษ ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือในการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงแนวทางการดำเนินโครงการ และเร่งจัดเตรียมสถานที่รองรับจุดรับซื้อและรวบรวมหอมแดง
นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากองค์การคลังสินค้าหรือ อคส. ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาหอมแดง ฤดูกาลผลิต ปี 2554/55 ทั้งระบบ เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการผลิตหอมแดงในราคาที่คุ้มค่าการลงทุน ซึ่งทาง อคส.ได้อนุมัติเงินทุนเพื่อเป็นเงินหมุนเวียนจำนวน 334.50 ล้านบาท
แยกเป็นเงินทุนหมุนเวียน 295 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อหอมแดง ในราคานำตลาด เพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต และส่งออกไปต่างประเทศปริมาณไม่น้อยกว่า 15,000 ตัน และส่วนที่เป็นเงินจ่ายขาดวงเงิน 29.50 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารการ ตลาด และภาวะขาดทุนของ อคส.ตามที่เกิดขึ้นจริง โดยจะรับซื้อในกิโลกรัมละ 15 บาท และจะเริ่มเปิดจุดรองรับการซื้อหอมแดงที่ตลาดหอมแดง อ.วังหิน และ อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ