ศูนย์ข่าวศรีราชา - ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี จัดเตรียมพื้นที่กว่า 2 แสนตารางเมตรรองรับตู้สินค้า ตู้เปล่า และรถยนต์ที่ไม่สามารถจัดส่งไปยังพื้นที่เป้าหมายที่ถูกน้ำท่วมได้ ขณะเดียวกันยังประสานไปยังบริษัทผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าฝากเก็บสินค้าอันตรายและตู้สินค้าอันตรายที่นำเข้าและไม่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมเป็นกรณีพิเศษ
นายชุนณ์ลพัทธ์ ศรีภาเพลิน หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ การท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เผยว่าตามที่ได้เกิดอุทกภัยขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสร้างความเดือดร้อนและความเสียหายแก่ประชาชนในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจุดซึ่งเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง อาทิ นิคมฯ โรจนะ นิคมฯ ไฮเทค (บ้านหว้า) นิคมฯ นวนคร นิคมฯ บางกะดี ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและเก็บชิ้นส่วนอุปกรณ์ และสินค้าชั้นกลางที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือประกอบรถยนต์ รวมทั้งยังเป็นสถานที่เก็บรวบรวมสินค้าและตู้สินค้าเพื่อนำเข้าและส่งออก เช่น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง ตลอดจนคลังเก็บสินค้า และโรงงานของเอกชนที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว
โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการท่าเรือตู้สินค้า B 1 B4 และ B5 รวมทั้งบริษัฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย ) ผู้ผลิตรถยนต์ส่งออก และบริษัท ดีวีเอ็ม อินเตอร์เทรด จำกัด ได้มีหนังสือขอรับการสนับสนุนพื้นที่ลานขนถ่ายตู้สินค้ารถไฟฝั่ง C และขอให้ท่าเรือแหลมฉบัง ลดค่าฝากเก็บสินค้าอันตรายเป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภถาวะปกติ เพื่อที่จะได้นำตู้สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งไม่สามารถขนส่งตู้สินค้าไปยังพื้นที่น้ำท่วมได้มาจัดเก็บที่ลานอเนกประสงค์ของท่าเรือแหลมฉบังนั้น
ฝ่ายบริหารท่าเรือแหลมฉบังจึงมีนโยบายในการกำหนดแผนรองรับและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการไม่สามารถขนส่งตู้สินค้าได้เป็นการชั่วคราว โดยได้จัดเตรียมพื้นที่ในการรองรับตู้สินค้า ตู้สินค้าเปล่า รถยนต์ที่นำเข้าผ่านท่าเรือแหลมฉบัง และไม่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จนภาวะจะกลับสู่ปกติ ประกอบด้วย 1.พื้นที่บริเวณลานขนถ่ายตู้สินค้ารถไฟฝั่ง C ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 8.4 หมื่นตารางเมตร สามารถรองรับตู้สินค้าวางซ้อน 3 ชั้นได้ประมาณ 3,960 ทีอียู โดยจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับกองเก็บตู้สินค้า
2.พื้นที่บริเวณลานกองเก็บสินค้าทั่วไป (ใกล้ประตูตรวจสอบ 3) พื้นที่ประมาณ 3.5 หมื่นตารางเมตร ซึ่งจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับกองเก็บตู้สินค้าเปล่า และสินค้าทั่วไป ส่วนบริเวณที่ 3 ลานจดรถบรรทุก (ตรงข้ามร้านกลางทุ่ง) พื้นที่ประมาณ 1.5 แสนตารางเมตร โดยจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับรองรับตู้สินค้าเปล่าและรถยนต์
นอกจากนั้น ท่าเรือแหลมฉบังยังได้ประสานงานไปยังบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (ผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย) ในการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าฝากเก็บสินค้าอันตรายและตู้สินค้าอันตรายที่นำเข้าและไม่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมด้วยเช่นกัน
โดยสินค้าอันตรายร้ายแรง ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด และประเภทที่ 2.3 ก๊าซพิษ ที่ระเบียบการท่าเรือแห่งประเทศไทยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าอันตรายของท่าเรือแหลมฉบัง กำหนดอนุญาตให้ขน่ถายข้างลำและนำออกนอกเขตท่าเรือแหลมฉบังโดยตรงนั้น ขอผ่อนผันให้ฝากเก็บที่คลังสินค้าอันตรายได้เป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งผู้นำเข้า-ส่งออกต้องจัดผู้เชี่ยวชาญมาควบคุม ดูแลความปลอดภัยที่คลังสินค้าอันตรายตลอดเวลา และรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
“นอกจากท่าเรือแหลมฉบังจะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่กำลังเดือดร้อนในเบื้องต้นเป็นการชั่วคราวแล้ว เรายังได้ประสานยังไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งขอความร่วมมือไปยังสำนักงานศุลกากรท่าเทียบเรือแหลมฉบัง เพื่ออำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน” นายชุนณ์ลพัทธ์กล่าว
นายชุนณ์ลพัทธ์ ศรีภาเพลิน หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ การท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เผยว่าตามที่ได้เกิดอุทกภัยขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสร้างความเดือดร้อนและความเสียหายแก่ประชาชนในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจุดซึ่งเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง อาทิ นิคมฯ โรจนะ นิคมฯ ไฮเทค (บ้านหว้า) นิคมฯ นวนคร นิคมฯ บางกะดี ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและเก็บชิ้นส่วนอุปกรณ์ และสินค้าชั้นกลางที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือประกอบรถยนต์ รวมทั้งยังเป็นสถานที่เก็บรวบรวมสินค้าและตู้สินค้าเพื่อนำเข้าและส่งออก เช่น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง ตลอดจนคลังเก็บสินค้า และโรงงานของเอกชนที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว
โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการท่าเรือตู้สินค้า B 1 B4 และ B5 รวมทั้งบริษัฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย ) ผู้ผลิตรถยนต์ส่งออก และบริษัท ดีวีเอ็ม อินเตอร์เทรด จำกัด ได้มีหนังสือขอรับการสนับสนุนพื้นที่ลานขนถ่ายตู้สินค้ารถไฟฝั่ง C และขอให้ท่าเรือแหลมฉบัง ลดค่าฝากเก็บสินค้าอันตรายเป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภถาวะปกติ เพื่อที่จะได้นำตู้สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งไม่สามารถขนส่งตู้สินค้าไปยังพื้นที่น้ำท่วมได้มาจัดเก็บที่ลานอเนกประสงค์ของท่าเรือแหลมฉบังนั้น
ฝ่ายบริหารท่าเรือแหลมฉบังจึงมีนโยบายในการกำหนดแผนรองรับและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการไม่สามารถขนส่งตู้สินค้าได้เป็นการชั่วคราว โดยได้จัดเตรียมพื้นที่ในการรองรับตู้สินค้า ตู้สินค้าเปล่า รถยนต์ที่นำเข้าผ่านท่าเรือแหลมฉบัง และไม่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จนภาวะจะกลับสู่ปกติ ประกอบด้วย 1.พื้นที่บริเวณลานขนถ่ายตู้สินค้ารถไฟฝั่ง C ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 8.4 หมื่นตารางเมตร สามารถรองรับตู้สินค้าวางซ้อน 3 ชั้นได้ประมาณ 3,960 ทีอียู โดยจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับกองเก็บตู้สินค้า
2.พื้นที่บริเวณลานกองเก็บสินค้าทั่วไป (ใกล้ประตูตรวจสอบ 3) พื้นที่ประมาณ 3.5 หมื่นตารางเมตร ซึ่งจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับกองเก็บตู้สินค้าเปล่า และสินค้าทั่วไป ส่วนบริเวณที่ 3 ลานจดรถบรรทุก (ตรงข้ามร้านกลางทุ่ง) พื้นที่ประมาณ 1.5 แสนตารางเมตร โดยจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับรองรับตู้สินค้าเปล่าและรถยนต์
นอกจากนั้น ท่าเรือแหลมฉบังยังได้ประสานงานไปยังบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (ผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย) ในการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าฝากเก็บสินค้าอันตรายและตู้สินค้าอันตรายที่นำเข้าและไม่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมด้วยเช่นกัน
โดยสินค้าอันตรายร้ายแรง ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด และประเภทที่ 2.3 ก๊าซพิษ ที่ระเบียบการท่าเรือแห่งประเทศไทยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าอันตรายของท่าเรือแหลมฉบัง กำหนดอนุญาตให้ขน่ถายข้างลำและนำออกนอกเขตท่าเรือแหลมฉบังโดยตรงนั้น ขอผ่อนผันให้ฝากเก็บที่คลังสินค้าอันตรายได้เป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งผู้นำเข้า-ส่งออกต้องจัดผู้เชี่ยวชาญมาควบคุม ดูแลความปลอดภัยที่คลังสินค้าอันตรายตลอดเวลา และรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
“นอกจากท่าเรือแหลมฉบังจะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่กำลังเดือดร้อนในเบื้องต้นเป็นการชั่วคราวแล้ว เรายังได้ประสานยังไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งขอความร่วมมือไปยังสำนักงานศุลกากรท่าเทียบเรือแหลมฉบัง เพื่ออำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน” นายชุนณ์ลพัทธ์กล่าว