ศูนย์ข่าวขอนแก่น- ก.สาธารณสุข ทุ่มงบจังหวัดละ 50 ล้านบาท สั่งซื้อเวชภัณฑ์ยาและถุงยังชีพให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ ย้ำ สาธารณสุขทุกจังหวัดเยียวยาผู้ประสบภัย หลังพบปัญหาโรคซึมเศร้าแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (25 ก.ย.) ที่หอผู้ป่วยใน ชั้น 3 อาคารสิรินธร รพ.ขอนแก่น นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข เข้าเยี่ยมอาการ น.ส.สวัสกมล ศรีดารานนท์ อายุ 29 ปี ชาว ต.คำม่วง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ซึ่งถูกคนร้ายบุกเข้าทำการข่มขืนภายในบ้านพักพร้อมทั้งทำร้ายร่างกาย ด.ช.เอ (นามสมมติ) อายุ 2 ปี จนเสียชีวิต เหตุเกิดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งเยี่ยมผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวภายใน รพ.ขอนแกน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจด้วย
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้มีคำสั่งอนุมัติงบประมาณให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในส่วนของ รพ.ประจำจังหวัด และ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดละ 50 ล้านบาท เฉพาะจังหวัดที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งในเรื่องของการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยารักษาโรคต่างๆ รวมไปถึงถุงยังชีพและน้ำดื่ม
หลังพบว่า มีพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติหลายจังหวัดที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังพายุฝนที่ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน
นายต่อพงษ์ กล่าวอีกว่า ตนได้กำชับและสั่งการให้ หน่วยงานสาธารณสุขทุกหน่วยในสังกัดที่ต้องทำงานกันแบบคู่แฝดมหัศจรรย์ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะเรื่องของโรคที่มากับน้ำ ไม่ว่าจะเป็นวัณโรค น้ำกัดเท้า มือเปื่อยเท้าเปื่อย โรคตาแดง หวัด และปอดบวม ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนจะต้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่และทั่วถึง ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานเองก็จะต้องระมัดระวังตนเอง โดยเฉพาะการลงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่จะต้องระมัดระวังและการสวมเสื้อชูชีพขณะลงเรือทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย”
รมช.สาธารณสุข กล่าวต่ออีกว่า สิ่งที่พบขณะนี้ คือ โรคซึมเศร้าและปัญหาโรคจิตของผู้ที่ประสบอุทกภัย เพราะยังคงไม่สามารถที่จะรับกับเหตุการณ์ได้ ผู้ประสบภัยบางคนที่ต้องสูญเสียคนรัก ทรัพย์สินหรือแม้กระทั่งสิ้นเนื้อประดาตัวไปกับภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งทั้งหมดยังคงในอาการภวังค์และต้องการทีมจิตแพทย์คอยให้คำปรึกษา
ดังนั้น ในสัปดาห์หน้า การปฏิบัติการเชิงรุกของทีมจิตแพทย์และทีมฟื้นฟู จะต้องเข้าไปทำกิจกรรมและพูดคุยกับผู้ประสบภัยควบคู่ไปกับการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างเข้าถึง และครอบคลุมพื้นที่ที่ประสบภัยทั้งหมดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (25 ก.ย.) ที่หอผู้ป่วยใน ชั้น 3 อาคารสิรินธร รพ.ขอนแก่น นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข เข้าเยี่ยมอาการ น.ส.สวัสกมล ศรีดารานนท์ อายุ 29 ปี ชาว ต.คำม่วง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ซึ่งถูกคนร้ายบุกเข้าทำการข่มขืนภายในบ้านพักพร้อมทั้งทำร้ายร่างกาย ด.ช.เอ (นามสมมติ) อายุ 2 ปี จนเสียชีวิต เหตุเกิดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งเยี่ยมผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวภายใน รพ.ขอนแกน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจด้วย
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้มีคำสั่งอนุมัติงบประมาณให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในส่วนของ รพ.ประจำจังหวัด และ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดละ 50 ล้านบาท เฉพาะจังหวัดที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งในเรื่องของการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยารักษาโรคต่างๆ รวมไปถึงถุงยังชีพและน้ำดื่ม
หลังพบว่า มีพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติหลายจังหวัดที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังพายุฝนที่ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน
นายต่อพงษ์ กล่าวอีกว่า ตนได้กำชับและสั่งการให้ หน่วยงานสาธารณสุขทุกหน่วยในสังกัดที่ต้องทำงานกันแบบคู่แฝดมหัศจรรย์ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะเรื่องของโรคที่มากับน้ำ ไม่ว่าจะเป็นวัณโรค น้ำกัดเท้า มือเปื่อยเท้าเปื่อย โรคตาแดง หวัด และปอดบวม ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนจะต้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่และทั่วถึง ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานเองก็จะต้องระมัดระวังตนเอง โดยเฉพาะการลงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่จะต้องระมัดระวังและการสวมเสื้อชูชีพขณะลงเรือทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย”
รมช.สาธารณสุข กล่าวต่ออีกว่า สิ่งที่พบขณะนี้ คือ โรคซึมเศร้าและปัญหาโรคจิตของผู้ที่ประสบอุทกภัย เพราะยังคงไม่สามารถที่จะรับกับเหตุการณ์ได้ ผู้ประสบภัยบางคนที่ต้องสูญเสียคนรัก ทรัพย์สินหรือแม้กระทั่งสิ้นเนื้อประดาตัวไปกับภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งทั้งหมดยังคงในอาการภวังค์และต้องการทีมจิตแพทย์คอยให้คำปรึกษา
ดังนั้น ในสัปดาห์หน้า การปฏิบัติการเชิงรุกของทีมจิตแพทย์และทีมฟื้นฟู จะต้องเข้าไปทำกิจกรรมและพูดคุยกับผู้ประสบภัยควบคู่ไปกับการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างเข้าถึง และครอบคลุมพื้นที่ที่ประสบภัยทั้งหมดทุกจังหวัดทั่วประเทศ