สธ.สั่งองค์การเภสัชกรรม ผลิตยารักษาโรคน้ำกัดเท้าเพิ่ม 200,000 หลอด เผย ขณะนี้พบผู้ประสบภัยน้ำท่วมป่วย 12,000 ราย เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 1 ราย พบมีความเครียดสูง 33 ราย มีอาการซึมเศร้า 67 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 16 ราย ให้ทีมสุขภาพจิตติดตามอาการใกล้ชิด ล่าสุด สถานบริการสาธารณสุขที่ถูกน้ำท่วมทุกแห่งเปิดให้บริการปกติ
วันนี้ (8 ส.ค.) นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมจากพายุโซนร้อนนกเตน ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ระดมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จำนวน 100 ทีม ออกให้บริการตรวจรักษาผู้ประสบภัยทั้งทางรถยนต์ และทางเรือในพื้นที่น้ำท่วม 16 จังหวัด จำนวนผู้ป่วยสะสม 12,000 ราย กว่าครึ่งเป็นโรคน้ำกัดเท้า รองลงมาไข้หวัด ผื่นคัน ผิวหนัง ปวดเมื่อยและบาดแผล
มีผู้เสียชีวิต 23 ราย ประกอบด้วย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7 ราย แพร่ 6 ราย นครพนม 3 ราย สกลนคร เชียงใหม่ จังหวัดละ 2 ราย สุโขทัย เพชรบูรณ์ และ อุดรธานี จังหวัดละ 1 ราย สูญหาย 1 ราย ที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการประเมินปัญหาสุขภาพจิต ที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 618 ราย พบผู้ประสบภัยมีความเครียดสูง เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ จำนวน 33 ราย คิดเป็น ร้อยละ 5 มีอาการซึมเศร้า ท้อแท้เบื่อหน่ายชีวิต 67 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 เนื่องจากสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ได้ให้ทีมจิตแพทย์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ในพื้นที่ติดตามให้คำปรึกษาแนะนำ เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด ร่วมกับบุคคลในครอบครัวให้ช่วยกันดูแลให้กำลังใจไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว
นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วมจำนวน 20,000 ชุด ให้จังหวัดสุโขทัย 10,000 ชุด อ่างทองและพิษณุโลกจังหวัดละ 5,000 ชุด และให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าสำรองเพิ่มอีก 200,000 หลอด เนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ประชาชนจะมีปัญหาโรคน้ำกัดเท้ามากขึ้น ขณะนี้ส่วนกลางได้สำรองยาชุดน้ำท่วมไว้ทั้งหมด 500,000 ชุด พร้อมจัดส่งให้พื้นที่ประสบภัยเต็มที่ ในส่วนของสถานบริการที่ถูกน้ำท่วมที่ผ่านมา ขณะนี้ทุกแห่งสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้ว
สำหรับการรับมือกับมวลน้ำจากภาคเหนือในจังหวัดที่อยู่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ให้สถานบริการทุกแห่งได้เตรียมพร้อม 4 แผนรับมือป้องกันน้ำท่วมสถานบริการ สำรองเวชภัณฑ์ การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การปรับบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกหากน้ำท่วม ขณะนี้ทุกแห่งสถานการณ์ยังปกติ และให้ส่วนกลางติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เช่น เสื้อชูชีพ เรือ ให้จังหวัดอย่างเพียงพอ
วันนี้ (8 ส.ค.) นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมจากพายุโซนร้อนนกเตน ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ระดมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จำนวน 100 ทีม ออกให้บริการตรวจรักษาผู้ประสบภัยทั้งทางรถยนต์ และทางเรือในพื้นที่น้ำท่วม 16 จังหวัด จำนวนผู้ป่วยสะสม 12,000 ราย กว่าครึ่งเป็นโรคน้ำกัดเท้า รองลงมาไข้หวัด ผื่นคัน ผิวหนัง ปวดเมื่อยและบาดแผล
มีผู้เสียชีวิต 23 ราย ประกอบด้วย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7 ราย แพร่ 6 ราย นครพนม 3 ราย สกลนคร เชียงใหม่ จังหวัดละ 2 ราย สุโขทัย เพชรบูรณ์ และ อุดรธานี จังหวัดละ 1 ราย สูญหาย 1 ราย ที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการประเมินปัญหาสุขภาพจิต ที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 618 ราย พบผู้ประสบภัยมีความเครียดสูง เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ จำนวน 33 ราย คิดเป็น ร้อยละ 5 มีอาการซึมเศร้า ท้อแท้เบื่อหน่ายชีวิต 67 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 เนื่องจากสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ได้ให้ทีมจิตแพทย์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ในพื้นที่ติดตามให้คำปรึกษาแนะนำ เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด ร่วมกับบุคคลในครอบครัวให้ช่วยกันดูแลให้กำลังใจไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว
นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วมจำนวน 20,000 ชุด ให้จังหวัดสุโขทัย 10,000 ชุด อ่างทองและพิษณุโลกจังหวัดละ 5,000 ชุด และให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าสำรองเพิ่มอีก 200,000 หลอด เนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ประชาชนจะมีปัญหาโรคน้ำกัดเท้ามากขึ้น ขณะนี้ส่วนกลางได้สำรองยาชุดน้ำท่วมไว้ทั้งหมด 500,000 ชุด พร้อมจัดส่งให้พื้นที่ประสบภัยเต็มที่ ในส่วนของสถานบริการที่ถูกน้ำท่วมที่ผ่านมา ขณะนี้ทุกแห่งสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้ว
สำหรับการรับมือกับมวลน้ำจากภาคเหนือในจังหวัดที่อยู่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ให้สถานบริการทุกแห่งได้เตรียมพร้อม 4 แผนรับมือป้องกันน้ำท่วมสถานบริการ สำรองเวชภัณฑ์ การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การปรับบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกหากน้ำท่วม ขณะนี้ทุกแห่งสถานการณ์ยังปกติ และให้ส่วนกลางติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เช่น เสื้อชูชีพ เรือ ให้จังหวัดอย่างเพียงพอ