ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 (บีโอไอ ชลบุรี) เชื่อแนวโน้มการลงทุนภาคอุตสาหกรรมไตรมาสสุดท้ายของปีจะเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์ชิ้นส่วนโลหะฯลฯ รวมทั้งการย้ายฐานลงทุนของกลุ่ม SMEs ญี่ปุ่นที่เริ่มไม่มั่นใจเกี่ยวกับภัยธรรมชาติในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนตลอดปี 2554 ที่จะมีมากถึง 2 แสนล้านบาท มากกว่าปีก่อนที่มี 1.6 แสนล้านบาท
นายสุวิชช์ ฉั่ววิเชียร ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 (บีโอไอ ชลบุรี) เผยถึงภาวะการลงทุนในภาคตะวันออก ช่วง 7 เดือน ( มกราคม -กรกฏาคม 2554 ) ว่า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 325 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 43.80 และมีมูลค่าเงินลงทุน จำนวน 1.21 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 21.8 มีการจ้างงานจำนวน 30,421 คน ลดลงจากปีก่อน 21.47 โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมมากที่สุดในภาคตะวันออก คือ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง รองลงมาคือ ประเภทเคมีภัณ์ กระดาษและพลาสติก
ขณะที่จังหวัดชลบุรี มีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในภาคตะวันออก คือมีจำนวนโครงการทั้งสิ้น 146 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 3.03 หมื่นล้านบาท จังหวัดระยอง มี 103 โครงการ เงินลงทุน 7.09 หมื่นล้านบาท จังหวัดฉะเชิงเทรา มี 42 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 8.4 พันล้านบาท ปราจีนบุรี มี 28 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจากสถิติจำนวนโครงการ จังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น แต่สาเหตุที่มีมูลค่าเงินลงทุนลดลง มาจากการลงทุนส่วนใหญ่ที่เป็นการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก คาดว่ามีแนวโน้มการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์ชิ้นส่วนโลหะฯลฯ
สำหรับการลงทุนโดยต่างชาติมีการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการชิ้นส่วนโลหะสำหรับรถยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กิจการแม่พิมพ์และซ่อมแซมแม่พิมพ์ เพื่อรองรับโครงการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน ECO CAR รองลงมาคือยุโรป ที่จะเข้ามาลงทุนในกิจการเคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก และกิจการด้านพลังงานต่างๆ ส่วนประเทศเกาหลี ไต้หวัน สิงคโปรและจีน จะเข้ามาลงทุนในกิจการชิ้นส่วนพลาสติก และชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อรองรับการผลิตของบริษัท ซัมซุง แอลจี
“ในช่วงปลายปีนี้เราจะเห็นการย้ายฐานการลงทุนในธุรกิจ SMEs ของญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทยและภาคตะวันออกมากขึ้น เพราะนักลงทุนเหล่านี้เริ่มไม่มั่นใจในสภาพแวดล้อมในประเทศของตนจากการเกิดสึนามิในช่วงต้นปี ซึ่งก็จะทำให้มูลค่าการลงทุนในภาคตะวันออกเพิ่มตามไปด้วย และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2554 มูลค่าการขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออกจะพุ่งสูงถึง 2 แสนล้านบาท เติบโตจากปีก่อนที่มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1.6 แสนล้านบาท จึงเป็นที่มาของนโยบายในการกระตุ้นให้ SMEs ไทยเร่งขอใช้สิทธิในการขอรับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เพื่อให้มีแหล่งเงินทุนที่จะใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตนรองรับการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น ”นายสุวิชช์ กล่าว
นายสุวิชช์ ฉั่ววิเชียร ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 (บีโอไอ ชลบุรี) เผยถึงภาวะการลงทุนในภาคตะวันออก ช่วง 7 เดือน ( มกราคม -กรกฏาคม 2554 ) ว่า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 325 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 43.80 และมีมูลค่าเงินลงทุน จำนวน 1.21 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 21.8 มีการจ้างงานจำนวน 30,421 คน ลดลงจากปีก่อน 21.47 โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมมากที่สุดในภาคตะวันออก คือ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง รองลงมาคือ ประเภทเคมีภัณ์ กระดาษและพลาสติก
ขณะที่จังหวัดชลบุรี มีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในภาคตะวันออก คือมีจำนวนโครงการทั้งสิ้น 146 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 3.03 หมื่นล้านบาท จังหวัดระยอง มี 103 โครงการ เงินลงทุน 7.09 หมื่นล้านบาท จังหวัดฉะเชิงเทรา มี 42 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 8.4 พันล้านบาท ปราจีนบุรี มี 28 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจากสถิติจำนวนโครงการ จังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น แต่สาเหตุที่มีมูลค่าเงินลงทุนลดลง มาจากการลงทุนส่วนใหญ่ที่เป็นการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก คาดว่ามีแนวโน้มการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์ชิ้นส่วนโลหะฯลฯ
สำหรับการลงทุนโดยต่างชาติมีการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการชิ้นส่วนโลหะสำหรับรถยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กิจการแม่พิมพ์และซ่อมแซมแม่พิมพ์ เพื่อรองรับโครงการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน ECO CAR รองลงมาคือยุโรป ที่จะเข้ามาลงทุนในกิจการเคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก และกิจการด้านพลังงานต่างๆ ส่วนประเทศเกาหลี ไต้หวัน สิงคโปรและจีน จะเข้ามาลงทุนในกิจการชิ้นส่วนพลาสติก และชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อรองรับการผลิตของบริษัท ซัมซุง แอลจี
“ในช่วงปลายปีนี้เราจะเห็นการย้ายฐานการลงทุนในธุรกิจ SMEs ของญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทยและภาคตะวันออกมากขึ้น เพราะนักลงทุนเหล่านี้เริ่มไม่มั่นใจในสภาพแวดล้อมในประเทศของตนจากการเกิดสึนามิในช่วงต้นปี ซึ่งก็จะทำให้มูลค่าการลงทุนในภาคตะวันออกเพิ่มตามไปด้วย และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2554 มูลค่าการขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออกจะพุ่งสูงถึง 2 แสนล้านบาท เติบโตจากปีก่อนที่มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1.6 แสนล้านบาท จึงเป็นที่มาของนโยบายในการกระตุ้นให้ SMEs ไทยเร่งขอใช้สิทธิในการขอรับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เพื่อให้มีแหล่งเงินทุนที่จะใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตนรองรับการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น ”นายสุวิชช์ กล่าว