มหาสารคาม - สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูทำนา ล่าสุด พบผู้ป่วยแล้วกว่า 10 ราย แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
นายแพทย์ ปริญญา รัตนปริญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ระยะนี้ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เกษตรกรหลายรายเริ่มลงมือถอนกล้าข้าว ปักดำนา ทำให้ต้องเดินเหยียบย่ำในพื้นที่ชื้นแฉะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้เกษตรกรป่วยด้วยโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซีส เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเชื้อโรคดังกล่าวสามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลได้
ล่าสุด พบผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวเฉพาะที่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาล และสถานบริการด้านสาธารณสุขของรัฐแล้ว รวม 14 ราย พบผู้ป่วยมากในพื้นที่ อำเภอยางสีสุราช กันทรวิชัย และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ซ้ำซากผู้ป่วยกำลังอยู่ในวัยแรงงาน
อย่างไรก็ตาม สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม ได้ฝากเตือนถึงการป้องกันโรคฉี่หนูเบื้องต้น ว่า เกษตรกรควรป้องกันตนเองด้วยการสวมรองเท้าบูต สวมใส่เสื้อผ้าให้รัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล เมื่อขึ้นจากน้ำหรือเหยียบย่ำในที่ชื้นแฉะให้รีบเปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำชำระร่างกาย และอาจชำระล้างร่างกายด้วยมะกรูด มะนาว หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ก็จะช่วยลดระดับความรุนแรงของเชื้อลงได้
ข้อควรระวังหากพบบุคคลในครอบครัวมีอาการไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ บริเวณขาและน่องให้รีบไปพบแพทย์ทำการรักษาให้ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิตได้
นายแพทย์ ปริญญา รัตนปริญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ระยะนี้ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เกษตรกรหลายรายเริ่มลงมือถอนกล้าข้าว ปักดำนา ทำให้ต้องเดินเหยียบย่ำในพื้นที่ชื้นแฉะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้เกษตรกรป่วยด้วยโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซีส เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเชื้อโรคดังกล่าวสามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลได้
ล่าสุด พบผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวเฉพาะที่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาล และสถานบริการด้านสาธารณสุขของรัฐแล้ว รวม 14 ราย พบผู้ป่วยมากในพื้นที่ อำเภอยางสีสุราช กันทรวิชัย และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ซ้ำซากผู้ป่วยกำลังอยู่ในวัยแรงงาน
อย่างไรก็ตาม สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม ได้ฝากเตือนถึงการป้องกันโรคฉี่หนูเบื้องต้น ว่า เกษตรกรควรป้องกันตนเองด้วยการสวมรองเท้าบูต สวมใส่เสื้อผ้าให้รัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล เมื่อขึ้นจากน้ำหรือเหยียบย่ำในที่ชื้นแฉะให้รีบเปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำชำระร่างกาย และอาจชำระล้างร่างกายด้วยมะกรูด มะนาว หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ก็จะช่วยลดระดับความรุนแรงของเชื้อลงได้
ข้อควรระวังหากพบบุคคลในครอบครัวมีอาการไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ บริเวณขาและน่องให้รีบไปพบแพทย์ทำการรักษาให้ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิตได้