xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลสร้างแกนนำเยาวชนต้นกล้าของประเทศเป็น “มัคคุเทศก์น้อย”ประจำท้องถิ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ เตรียมแผนรับมือนักท่องเที่ยว สถานศึกษาและเยาวชน ปีละกว่าสองแสนคน แห่เยี่ยมชมศูนย์อนุบาล เพาะฟัก อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล อบรมเยาวชนเป็นอาสาสมัครนักเรียน เป็น “มัคคุเทศก์น้อย” วิทยากรให้ความรู้เรื่องเต่าทะเล

พลเรือตรี ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ กล่าวว่า ภูมิทัศน์และธรรมชาติที่สวยงาม สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และยังกระจายรายได้ ไปยังการประกอบอาชีพอื่น ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวหลายแขนง จนกลายเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้ประเทศเป็นจำนวนมาก

แหล่งปะการังใต้ทะเล แหล่งหญ้าทะเล และป่าชายเลน เป็นส่วนที่เกื้อหนุนให้ทรัพยากรที่มีชีวิต คือ สัตว์น้ำต่าง ๆ มีแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ช่วยให้เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่มีความสำคัญ ประโยชน์ที่เราได้รับจากทะเล โดยเฉพาะในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตนี้ หากเราใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างไม่ถูกวิธี ร่วมการดูแลรักษาป้องกันและอนุรักษ์ไว้ ในอนาคต ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ก็สามารถเกื้อกูลสิ่งมีชีวิตได้อย่างยั่งยืน

การปกป้อง คุ้มครอง และรักษา ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล บนพื้นที่ทางทะเลที่กว้างใหญ่ไพศาล กองทัพเรือ ยังไม่สามารถดูแล รักษา ได้เพียงหน่วยงานเดียว แต่ในปัจจุบันกำลังทางเรือที่ยังไม่เพียงพอก็สามารถสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย ให้แก่ประเทศชาติและประชาชน ในการแสวงประโยชน์จากทะเล ปัญหาที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลมีเพิ่มขึ้น หลากหลายรูปแบบ ซับซ้อน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กองทัพเรือจึงยังคงมีความจำเป็นในการเสริมสร้างกำลังกองทัพ ให้พอเพียงและมีความทันสมัย ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ

นอกจากกองทัพเรือจะต้องรับผิดชอบในภารกิจหลักแล้ว ยังต้องดูแล รักษา อนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพราะถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของประเทศ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้รับความไว้วางใจให้ดูแล ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ด้วยการเก็บไข่เต่า เพาะฟัก อนุบาล และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มปริมาณเต่าทะเลให้มากขึ้น อีกทั้งต้องหาแนวร่วมในการร่วมกันรักษาไม่ให้เต่าทะเลสูญพันธ์ไปจากท้องทะเลไทย

กองทัพเรือ จึงได้จัดกิจกรรม อาสาสมัครนักเรียนแกนนำร่วมอนุรักษ์เต่าทะเล ด้วยการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ประจำศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เพื่อให้ความรู้ การพูด เป็นวิทยากร ฝึกทักษะการนำชมเต่าทะเล เพราะในปัจจุบันได้มีเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ปีละประมาณกว่า 2 แสนคน

สภาพทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งเช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับทะเลที่มีเขตติดต่อนั้น ประเทศไทยมีทะเลขนาบอยู่ทั้งสองด้าน โดยชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลอันดามัน ซึ่งเมื่อรวมความยาวของชายฝั่งทะเลทั้งสองด้านแล้ว จะมีความยาวถึงประมาณ 1,500 ไมล์ มีพื้นที่ทางทะเล ที่นับจากชายฝั่งทะเลออกไปในทะเล จนสุดเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ตลอดความยาวของชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รวมทั้งสิ้นมากกว่า 316,000 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่ทางทะเลดังกล่าวนี้ เป็นเขตอธิปไตยของชาติทางทะเล ที่ประเทศไทย มีสิทธิอธิปไตยทางทะเลโดยสมบูรณ์ ซึ่งประเทศไทยและประชาชนคนไทยเท่านั้น ที่จะสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากทะเลในพื้นที่ทางทะเลนี้ ได้อย่างเสรีและชอบธรรม


กำลังโหลดความคิดเห็น