xs
xsm
sm
md
lg

วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ประณาม "พฤติกรรมจีน" หาระรานเพื่อนบ้าน กระทุ้ง "โอบามา" จริงจัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 19 ส.ค.2552 วุฒิสมาชิกจิม เว็บบ์ (Jim Webb) ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการเอเชียตะวันออก วุฒิสภาสหรัฐฯ แถลงในกรุงฮานอย ในโอกาสที่ไปเยือน อันเป็นส่วนหนึ่งในแผนการตระเวนเยือนเอเชียเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งรวมทั้งไทยกับพม่าด้วย นายเว็บบ์เสนอร่างรัฐบัญญัติฉบับหนึ่งเมื่อวันจันทร์ 13 มิ.ย.มีเนื้อหาประณาม พฤติกรรมจีน ที่ก่อความตึงเครียดขึ้นในทะเลจีนใต้ และเรียกร้องให้รัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอมาบา จริงจังกับเรื่องนี้มากขึ้น. --  AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </font>

วอชิงตันดีซี (เอเอฟพี) -- วุฒิสมาชิกสำคัญผู้หนึ่งได้ออกประณาม "พฤติกรรมของจีน" ในวันจันทร์ 13 มิ.ย.นี้ ในกรณีพิพาทน่านน้ำกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งระบุว่าวอชิงตัน "เขาอ่อน" เกินไปขณะที่ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้พุ่งขึ้นสูง

นายจิม เว็บบ์ ซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการเอเชียตะวันออกวุฒิสภาฯ ได้เสนอร่างรัฐบัญญัติฉบับหนึ่ง เพื่อประณามการใช้กำลังของจีนและเรียกร้องให้จีนหาวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสันติ ซึ่งที่ผ่านมาจีนได้สร้างความขัดแย้งเกี่ยวกับอาณาเขตกับประเทศเพื่อนบ้านหลายครั้ง และ เกิดเหตุการณ์ทางทะเลเพิ่มมากขึ้น

"ผมคิดว่าพวกเราในรัฐบาลของเราวางตัวเองไว้อ่อนแอเกินไปในเรื่องนี้" นายเว็บบ์ แห่งพรรคเดโมแคร็ต จากรัฐเวอร์จิเนียกล่าวที่สภาเพื่อความสัมพันธ์ต่างประเทศ

"เมื่อเราพูดว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้มีจุดยืนในกรณีต่างๆ ที่เกี่ยวกับอธิปไต การไม่แสดงจุดยืนก็คือการมีจุดยืน"

ร่างรัฐบัญญัติที่นายเว็บนำเสนอร่วมกับวุฒิสมาชิกเจมส์ อินโฮฟ (James Inhofe) แห่งพรรครีพับลิกันได้ "ประณามการใช้กำลัง" โดยฝ่ายจีน และ ยืนยันว่าฝ่ายทหารของสหรัฐฯ จะ "เข้าร่วมและปกป้องเสรีภาพในการเดินเรือ" ในทะเลตะวันออก

นายเว็บบ์ไม่ได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ แสดงจุดยืนใดๆ เกี่ยวกับการพิพาททางน่านน้ำ แต่กล่าวว่าสหรัฐฯ จำเป็นจะต้อง "ส่งสัญญาณที่ชัดเจน" และ ทำงานกับหลายฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐฯ ไม่ค่อยแสดงจุดยืนต่อกรณีพิพาทน่านน้ำที่สหรัฐฯ ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยโดยตรง

ในการปราศรัยในเวียดนามเดือน ก.ค.2553 นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า สหรัฐฯ มี "ผลประโยชน์แห่งชาติ" ในเสรีภาพแห่งการเดินเรือ แต่ไม่ได้แสดงจุดยืนอะไรต่อกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนกับเวียดนามต่างกล่าวอ้างสิทธิเหนือสองหมู่เกาะยุทธศาสตร์ คือเกาะพาราเซล และหมู่เกาะสแปร็ตลีย์

ปีนี้ความตึงเครียด ระหว่างจีนและฟิลิปปินส์เพิ่มทวีขึ้นเช่นกัน ฟิลิปปินส์เป็นอีกรายหนึ่งที่กล่าวอ้างสิทธิเหนือสแปร็ตลีย์ และได้ประกาศในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) ว่า แต่นี้เป็นต้นไปจะเรียก "ทะเลจีนใต้" เป็น "ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก"

จีนกับญี่ปุ่นยังมีความขัดแย้งกันมายาวนานเหนือเกาะที่เรียกว่า "เตี่ยวยู่" (Diaoyu) ในภาษาจีน หรือเกาะเซนกากุ (Senkaku) ในภาษาญี่ปุ่น และ เมื่อปีที่แล้วญี่ปุ่นได้กักกัปตันเรือประมงจีนเอาไว้คนหนึ่ง หลังจากเกิดการต่อสู้ในทะเล ใกล้เกาะพิพาท

ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว นางคลินตันได้ให้สัมภาษณ์ว่า เกาะพิพาทนี้อยู่ในข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมปี 2503 ที่สหรัฐฯ มีพันธะจะต้องป้องกันญี่ปุ่นให้พ้นจากการก้าวร้าวรุกรานใดๆ ซึ่งเป็นคำพูดที่ทำให้จีนโกรธแค้น

เมื่อเร็วๆ นี้ นายเว็บบ์ซึ่งเป็นอดีตนาวิกโยธินที่เคยผ่านสนามรบและยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีประสบการณ์ยาวนานในเอเชีย ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแผนจัดฐานทัพสหรัฐฯ ในเอเชีย ซึ่งแนวคิดของเขาได้สร้างความขัดแย้งขึ้นภายในญี่ปุ่นเอง.
กำลังโหลดความคิดเห็น