นครปฐม - เผยยอดจดทะเบียนขอจ้างแรงงานต่างด้าวพม่า-ลาว-กัมพูชาในพื้นที่นครปฐม เหนือการคาดหมายยอดทะลุกว่า 30,000 คน ผู้ว่าฯ นครปฐม ลั่นหลังสิ้นสุดระยะเวลาการจดทะเบียนแล้ว หากยังมีแรงงานต่างด้าวที่ไม่เข้าสู่ระบบหลงเหลืออยู่อีกทางจังหวัดจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง
มาตรการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ทำงานอยู่กับนายจ้างและยังไม่ได้ขออนุญาตทำงานได้กำหนดระยะเวลาการยื่นขอจ้างคนต่างด้าวและจัดทำทะเบียนประวัติ ทร.38/1 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. - 14 ก.ค.54 จังหวัดนครปฐมตั้งเป้าคนต่างด้าวจดทะเบียนประมาณ 20,000 คน ขณะนี้สิ้นสุดการดำเนินการมีนายจ้างยื่นขอจ้างคนต่างด้าวจำนวน 3,599 ราย คนต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงาน 30,839 คน เกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้
นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า มาตรการจัดระบบแรงงานต่างด้าว มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับล่าง ปัญหาสังคม ชุมชนคนต่างด้าว และปัญหาด้านสาธารณสุข จากการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา สิ้นสุดวันที่ 14 ก.ค.54 มีนายจ้าง ผู้ประกอบการมายื่นขอจ้างคนต่างด้าวจำนวน 3,599 ราย คนต่างด้าวทำทะเบียนประวัติ ทร.38/1 30,839 คน แยกเป็นพม่า 23,984 คน ลาว3,268 คน กัมพูชา 3,587 คน ในประเภทกิจการเกษตร การผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อสร้าง จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์พลาสติกตามลำดับ ซึ่งจะมีเงินเข้าสู่ระบบการตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ 56 ล้านกว่าบาท
เฉพาะจังหวัดนครปฐมจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานเกือบ 50 ล้านบาท ซึ่งมีการจ้างงานคนต่างด้าวทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการขับเคลื่อนมีสภาพคล่อง เมื่อรวมทั้งประเทศจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมการขออนุญาตทำงานคนต่างด้าวนำไปบริหารจัดการ ไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท สามารถนำไปบริหารจัดระบบคนต่างด้าว
จากการที่คนต่างด้าวจดทะเบียนจัดทำประวัติและขออนุญาตทำงานจังหวัดนครปฐมได้นำข้อมูลไปจัดระเบียบสังคม ชุมชนคนต่างด้าว สามารถตรวจสอบติดตามและควบคุมคนต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานกับผู้ประกอบการได้ ทำให้สะดวกแก่นายจ้างและสถานประกอบการ
อีกทั้งคนต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนมีงานทำจะไม่เป็นปัญหาสังคม ครอบคลุมไปถึงปัญหายาเสพติด ส่งผลให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในจังหวัดอีกทั้งระบบเศรษฐกิจของผู้ประกอบการขับเคลื่อนเป็นวัฏจักรทั่วประเทศ
“อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐเปิดโอกาสให้แรงงานกลุ่มนี้ขึ้นมาสู่ระบบถูกกฎหมาย ขอให้นายจ้าง ผู้ประกอบการปฏิบัติกับคนต่างด้าวด้วยความเสมอภาค แรงงานต่างด้าวควรจะได้รับสิทธิต่างๆ อย่างเท่าเทียมตามกฎหมายเช่นกัน ทั้งนี้ หลังสิ้นสุดระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ไม่เข้าสู่ระบบจังหวัดนครปฐมได้แต่งตั้งชุดปราบปรามจับกุมคนต่างด้าวลักลอบทำงานจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังทั้งนายจ้างและคนต่างด้าวซึ่งมีโทษทั้งปรับทั้งจำ” ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมกล่าว
มาตรการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ทำงานอยู่กับนายจ้างและยังไม่ได้ขออนุญาตทำงานได้กำหนดระยะเวลาการยื่นขอจ้างคนต่างด้าวและจัดทำทะเบียนประวัติ ทร.38/1 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. - 14 ก.ค.54 จังหวัดนครปฐมตั้งเป้าคนต่างด้าวจดทะเบียนประมาณ 20,000 คน ขณะนี้สิ้นสุดการดำเนินการมีนายจ้างยื่นขอจ้างคนต่างด้าวจำนวน 3,599 ราย คนต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงาน 30,839 คน เกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้
นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า มาตรการจัดระบบแรงงานต่างด้าว มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับล่าง ปัญหาสังคม ชุมชนคนต่างด้าว และปัญหาด้านสาธารณสุข จากการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา สิ้นสุดวันที่ 14 ก.ค.54 มีนายจ้าง ผู้ประกอบการมายื่นขอจ้างคนต่างด้าวจำนวน 3,599 ราย คนต่างด้าวทำทะเบียนประวัติ ทร.38/1 30,839 คน แยกเป็นพม่า 23,984 คน ลาว3,268 คน กัมพูชา 3,587 คน ในประเภทกิจการเกษตร การผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อสร้าง จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์พลาสติกตามลำดับ ซึ่งจะมีเงินเข้าสู่ระบบการตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ 56 ล้านกว่าบาท
เฉพาะจังหวัดนครปฐมจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานเกือบ 50 ล้านบาท ซึ่งมีการจ้างงานคนต่างด้าวทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการขับเคลื่อนมีสภาพคล่อง เมื่อรวมทั้งประเทศจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมการขออนุญาตทำงานคนต่างด้าวนำไปบริหารจัดการ ไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท สามารถนำไปบริหารจัดระบบคนต่างด้าว
จากการที่คนต่างด้าวจดทะเบียนจัดทำประวัติและขออนุญาตทำงานจังหวัดนครปฐมได้นำข้อมูลไปจัดระเบียบสังคม ชุมชนคนต่างด้าว สามารถตรวจสอบติดตามและควบคุมคนต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานกับผู้ประกอบการได้ ทำให้สะดวกแก่นายจ้างและสถานประกอบการ
อีกทั้งคนต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนมีงานทำจะไม่เป็นปัญหาสังคม ครอบคลุมไปถึงปัญหายาเสพติด ส่งผลให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในจังหวัดอีกทั้งระบบเศรษฐกิจของผู้ประกอบการขับเคลื่อนเป็นวัฏจักรทั่วประเทศ
“อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐเปิดโอกาสให้แรงงานกลุ่มนี้ขึ้นมาสู่ระบบถูกกฎหมาย ขอให้นายจ้าง ผู้ประกอบการปฏิบัติกับคนต่างด้าวด้วยความเสมอภาค แรงงานต่างด้าวควรจะได้รับสิทธิต่างๆ อย่างเท่าเทียมตามกฎหมายเช่นกัน ทั้งนี้ หลังสิ้นสุดระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ไม่เข้าสู่ระบบจังหวัดนครปฐมได้แต่งตั้งชุดปราบปรามจับกุมคนต่างด้าวลักลอบทำงานจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังทั้งนายจ้างและคนต่างด้าวซึ่งมีโทษทั้งปรับทั้งจำ” ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมกล่าว