นครปฐม- นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ รักษาราชการแทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม เตือนเกษตรกรระวังการระบาดศัตรูพืชโรค "ใบขาวอ้อย"
นางกอบกาญจน์ ภาคสุข นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ รักษาราชการแทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า เกษตรกรที่ปลูกอ้อย โดยเฉพาะในแหล่งปลูกที่เป็นดินร่วนปนทรายระวัง โรคใบขาวอ้อยระบาด สำหรับโรคใบขาวอ้อยเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา การระบาดสามารถระบาดได้ทางท่องพันธ์จากกอที่เป็นโรคระบาดโดยมีเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะ
สำหรับอาการโรคใบขาวให้สังเกตดูพบว่าใบอ้อยเรียวแคบเล็ก สีเขียวอ่อน หรือขาว แตกกอ เป็นฝอยแคระแกร็น พบทุกระยะการเจริญเติบโต อาการจะปากฎชัดในอ้อยตอที่แตกใหม่ โดยเฉพาะในอ้อยอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป จะสังเกตได้จากการแตกหน่อสีขาวที่โคนกอหรือตาข้าง
กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะให้มี การจัดการโรคใบขาวอ้อย กรณีที่ไม่ระบาดรุนแรง ทำลายต้นอ้อยที่เป็นโรคโดยการขุดออกและเผาทิ้งหรือฉีดพ้นด้วยสารกำจัดวัชพืช โดยการสำรวจทุก 7-15 วันกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบๆแปลงเพื่อทำลายแหล่งอาศัยของแมลงพาหะของโรค เตรียมแปลงพันธุ์ที่จะมาขยายปลูกในปีต่อไป โดยใช้พันธุ์ที่สังเกตว่าทนทานในพื้นที่หรือแปลงที่เป็นโรคน้อยที่สุด คัดเฉพาะกอที่สมบูรณ์และไม่แสดงอาการโรคใบขาว
เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีพันธุ์ต้านทาน ก่อนปลูกแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุ่น 52 องศาเซลเซียสนาน 2ชั่วโมง หากใช้พันธ์จากแหล่งอื่น ต้องเป็นพันธุ์ที่ไม่มีโรค เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วควรรื้อแปลงทิ้งเพื่อปลูกใหม่ ควรปลูกอ้อยช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม ในภาคตะวันตกและเดือนตุลาคม-ธันวาคม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลดการติดเชื้อโดยแมลงพาหะ
สำหรับในกรณีที่เป็นรุนแรงมากจนคาดการณ์ว่าไม่ได้ผลผลิต ให้ไถ่ทิ้งแล้วติดตามกำจัดตอเก่าที่งอก โดยขุดทำลายหรือใช้สารเคมี เช่น ไกลโฟเสท 1% ฉีดพ่นกอที่พบโรคไม่ให้ระบาดต่อไปยังแปลงอื่น ถ้ามีช่วงว่างก่อนปลูกฤดูใหม่ ควรปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วพร้า โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ
หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ คั่น เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค เตรียมท่อนพันธุ์ ใช้พันธุ์จากศูนย์วิจัย สถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร ใช้ท่อนพันธ์ที่มีคุณภาพปราศจากโรคจากพันธุ์ ที่ปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ที่ผ่านการคัด และแช่น้ำอุ่น 52 องศาเซลเซียส นาน2 ชั่วโมง จัดฤดูปลูกให้เหมาะสม คือ เดือนมีนาคม - สิงหาคม ในภาคตะวันตกและเดือนตุลาคม - ธันวาคม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดการติดเชื้อโดยแมลงพาหะ
หลังการปลูกติดตามดูแลและสำรวจไร่อ้อยเป็นประจำทุกๆ 7-15 วัน ถ้าพบอ้อยเป็นโรคต้องรีบทำลาย ดูแลแปลงให้สะอาดปราศจากวัชพืช เกษตรกรต้องร่วมมือกันกำจัดโรคใบขาวอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิตและตลอดไปจนกว่าโรคใบขาวจะหมด
นางกอบกาญจน์ ภาคสุข นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ รักษาราชการแทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า เกษตรกรที่ปลูกอ้อย โดยเฉพาะในแหล่งปลูกที่เป็นดินร่วนปนทรายระวัง โรคใบขาวอ้อยระบาด สำหรับโรคใบขาวอ้อยเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา การระบาดสามารถระบาดได้ทางท่องพันธ์จากกอที่เป็นโรคระบาดโดยมีเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะ
สำหรับอาการโรคใบขาวให้สังเกตดูพบว่าใบอ้อยเรียวแคบเล็ก สีเขียวอ่อน หรือขาว แตกกอ เป็นฝอยแคระแกร็น พบทุกระยะการเจริญเติบโต อาการจะปากฎชัดในอ้อยตอที่แตกใหม่ โดยเฉพาะในอ้อยอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป จะสังเกตได้จากการแตกหน่อสีขาวที่โคนกอหรือตาข้าง
กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะให้มี การจัดการโรคใบขาวอ้อย กรณีที่ไม่ระบาดรุนแรง ทำลายต้นอ้อยที่เป็นโรคโดยการขุดออกและเผาทิ้งหรือฉีดพ้นด้วยสารกำจัดวัชพืช โดยการสำรวจทุก 7-15 วันกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบๆแปลงเพื่อทำลายแหล่งอาศัยของแมลงพาหะของโรค เตรียมแปลงพันธุ์ที่จะมาขยายปลูกในปีต่อไป โดยใช้พันธุ์ที่สังเกตว่าทนทานในพื้นที่หรือแปลงที่เป็นโรคน้อยที่สุด คัดเฉพาะกอที่สมบูรณ์และไม่แสดงอาการโรคใบขาว
เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีพันธุ์ต้านทาน ก่อนปลูกแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุ่น 52 องศาเซลเซียสนาน 2ชั่วโมง หากใช้พันธ์จากแหล่งอื่น ต้องเป็นพันธุ์ที่ไม่มีโรค เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วควรรื้อแปลงทิ้งเพื่อปลูกใหม่ ควรปลูกอ้อยช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม ในภาคตะวันตกและเดือนตุลาคม-ธันวาคม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลดการติดเชื้อโดยแมลงพาหะ
สำหรับในกรณีที่เป็นรุนแรงมากจนคาดการณ์ว่าไม่ได้ผลผลิต ให้ไถ่ทิ้งแล้วติดตามกำจัดตอเก่าที่งอก โดยขุดทำลายหรือใช้สารเคมี เช่น ไกลโฟเสท 1% ฉีดพ่นกอที่พบโรคไม่ให้ระบาดต่อไปยังแปลงอื่น ถ้ามีช่วงว่างก่อนปลูกฤดูใหม่ ควรปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วพร้า โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ
หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ คั่น เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค เตรียมท่อนพันธุ์ ใช้พันธุ์จากศูนย์วิจัย สถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร ใช้ท่อนพันธ์ที่มีคุณภาพปราศจากโรคจากพันธุ์ ที่ปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ที่ผ่านการคัด และแช่น้ำอุ่น 52 องศาเซลเซียส นาน2 ชั่วโมง จัดฤดูปลูกให้เหมาะสม คือ เดือนมีนาคม - สิงหาคม ในภาคตะวันตกและเดือนตุลาคม - ธันวาคม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดการติดเชื้อโดยแมลงพาหะ
หลังการปลูกติดตามดูแลและสำรวจไร่อ้อยเป็นประจำทุกๆ 7-15 วัน ถ้าพบอ้อยเป็นโรคต้องรีบทำลาย ดูแลแปลงให้สะอาดปราศจากวัชพืช เกษตรกรต้องร่วมมือกันกำจัดโรคใบขาวอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิตและตลอดไปจนกว่าโรคใบขาวจะหมด