xs
xsm
sm
md
lg

แพทย์สสจ.อุดรฯยันฝรั่งตายไม่เกี่ยวโรคอีโคไลโอ104

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีแถลงกับผู้สื่อข่าวกรณีสาเหตุการตายของชาวต่างชาติว่าไม่เกี่ยวกับเชื้ออีโคไลโอ104
อุดรธานี-นายแพทย์ สสจ.อุดรธานียืนยันฝรั่งที่ตาย ไม่ได้ตายด้วยเชื่อโรคอีโคไลโอ 104 เผยต้องจับตาระวังเฝ้าผู้เกี่ยวข้อง

บ่ายวันที่24มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ชั้น 6 น.พ.สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนจังหวัดอุดรธานีถึงผลการตรวจวิเคราะห์อุจจาระของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีของนายเดเนียว ฟอร์กีส อายุ 66 ปี ชาวอังกฤษที่เสียชีวิตในโรงแรมศรีตระการ ถนนหน้าสถานีขนส่ง 1 อ.เมืองอุดรธานี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา

นพ.สัญชัย กล่าวว่า จากผลการตรวจวิเคราะห์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรวจตัวอย่างของอุจจาระที่สวนเอามาจากทวารผู้ตายโดยตรง แล้วส่งไปให้ทำการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานมาว่า เชื้อที่พบนั้นไม่ใช่เชื้อ อีโคไล.โอ104 (0-104) แต่เป็นเชื้ออีโคไล ที่พบได้ทั่วไปไม่ก่อให้เกิดโรคใดๆ และเชื่อที่พบอีกชนิดหนึ่งที่พบคือ เชื้อเพลสลีโอโมเนส ชิเกลลอยดีส (Plesiomonas Shigelloides) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ในประเทศไทย แต่พบได้ไม่มาก

แต่ก็ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ และทำให้เกิดติดเชื้อในกระแสโลหิตได้ ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่า ผู้ตายไม่ใช่ตายด้วยโรคอีโคไล โอ.104 อย่างแน่นอน

ทาง สสจ.และโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ได้เก็บตัวอย่าง เช่นการเจาะเลือดที่ต้นคอ รวมทั้งการเจาะเลือดในช่อองหัวใจ ตัวอย่างปัสสาวะ ไปตรวจ ก็พบว่าเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อเพลสสีโอโมเนส ชิเกลลอยดีสเหมือนกน เป็นการยืนยันเชื้อดังกล่าวได้เช้าไปในกระแสโลหิตแล้ว และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของนายเดเนียล

และประกอบกับผู้เสียชีวิตมีภาวะของโรคประจำตัว ทำให้เกิดภูมิต้านทานที่ต่ำกว่าปกติ จากการส่งศพไปตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แล้ว มีรายงานว่าได้พบว่าในชิองท้องมีการอักเสบ เยื้อบุช่องท้องอักเสบ เส้นเลือดมีการแข็งตัวเล็กน้อย ตับมีจุดขรุขระ ไตมีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2 เท่า มีการอักเสบในช่องท้องและการติดเชื้อในช่องท้อง ซึ่งจะต้องรอผลการวิเคราะห์อีกประมาณ 1 เดือน

ส่วนของกรณี ร.ต.ท.วีระชน ขนไทย ตำรวจประจำ สภ.เมืองอุดรธานี พบว่าเป็นเชื้ออีโคไลทั่วๆไป -ไม่ใช่เป็นโรคโอ.104 ขณะนี้อาการก็หายเป็นปกติ ออกจากโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว ส่วนของผู้ที่สัมผัสโรคที่อยู่ในพื้นที่จังหวัด 25 รายนั้น ก็ไม่ได้เกิดโรคแต่อย่างใด

แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังติดตามดูอาการต่อไปเป็นเวลา 10 วัน หรือจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน นี้

นพ.สัญชัย กล่าวต้อนท้ายว่า การเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคท้องร่วงนั้น ในส่วนของประชาชนต้องมีการระมัดระวัง การรับประทานอาหาร ผักสด น้ำดื่ม ก็ต้องมีการปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนที่จะมีการบริโภค หรือจำไว้ให้ดีคือ กินร้อน ชิ้นกลาง ล้างมือ สำหรับข้อมูลจากการตรวจยืนยันของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับการพบเชื้อเพลสสิโอโมเนส ชิเกลลอยดีสปีละประมาณ 30-50 ราย

โดยพบในสัตว์น้ำจืด การติดเชื้อในกระแสเลือด นั้น นพ.สัญชัยฯ กล่าวว่าไม่ค่อยได้ยินชื่อของเชื้อโรคตัวดังกล่าว แต่จากการตรวจสอบก็พบว่า เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ อาเจียนหนาวสั่น แต่ไม่ทำให้เสียชีวิตหากว่าผู้ป่วยมีภูมิต้านทานสูง
กำลังโหลดความคิดเห็น