ศูนย์ข่าวศรีราชา - อนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา แนะ เทศบาลนครแหลมฉบังศึกษาเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม( Eco town )รับการเป็นเมืองพิเศษในอนาคต
นายสนธิ คชวัฒน์ กรรมการอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เผยว่า ปัจจุบันเทศบาลนครแหลมฉบังกำลังมีการผลักดันให้มีการพัฒนาเป็นเมืองพิเศษในอนาคตนี้ โดยเรื่องกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น เทศบาลนครแหลมฉบังจึงควรที่จะมีการเตรียมความพร้อมในทุกเรื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันเห็นว่าเทศบาลนครแหลมฉบังมีปัญหาเรื่องของคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมีชาวบ้านร้องเรียนมายังคณะอนุกรรมาธิการฯ เกี่ยวกับคุณภาพน้ำ ระดับเสียง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ วิธีชีวิตสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน
ดังนั้น สิ่งที่เทศบาลนครแหลมฉบังควรดำเนินการคือ การจัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมประจำปี ทำการศึกษาโครงการเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม (Eco town) เพื่อรองรับการเป็นเมืองพิเศษ ในอนาคตโดยมีการจัดวางผังเมืองจัดประเภทการใช้ที่ดิน ของชุมชน มีการศึกษาสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ การศึกษาแหล่งกำเนิดของมลพิษ รวมทั้งระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ระบบกำจัดมูลฝอยและกากของเสียอันตราย การจัดการคุณภาพอากาศ และเสียง ภายในเขตเทศบาลฯ สร้างสัญลักษณ์ และแหล่งดึงดูดใจที่เป็นสัญลักษณ์ของเทศบาล
นอกจากนี้ ยังควรที่จะจัดทำโครงการรณรงค์ สร้างจิตสำนึก ต่อผู้ประกอบการให้มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ( CSR) โดยการคืนกำไรให้สังคม และร่วมพัฒนาสังคมและชุมชนร่วมกับเทศบาลฯ การเพิ่มพื้นที่สีเขี่ยว ให้แก่ชุมชนและเส้นทางการจราจร ตลอดจนภูมิทัศน์ในเขตเทศบาล รวมทั้ง กำหมดมาตรการการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ประกอบการ และคู่มือการดำเนินการ
นายสนธิ กล่าวต่อไปว่า รวมทั้งการทำแผนหลัก(Master plan) ในการดำเนินการให้เทศบาลฯเป็นเมืองน่าอยู่คู่ อุตสาหกรรม มีการร่างภูมิสถาปัตย์ของเทศบาลฯ แบบจำลองเทศบาลฯในอนาคต และที่สำคัญคือ เทศบาลoจะต้องทำการปรับปรุงระบำบำบัดน้ำเสียให้สามารถดำเนินการได้โดยเร็วที่สุด และสามารถบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากในปัจจุบันยังมีน้ำเสียที่ปล่อยทิ้งลงคลองสาธารณะ โดยที่ไม่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียมากถึงวันละ 25,000 ลูกบาศก์เมตร และทำการประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะสำนักงานนิคมอุสาหกรรมแหลมฉบัง การปิโตรเลียม บริเวณอ่าวอุดม และผู้ประกอบการท่าเรือ ในการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าเยี่ยมโครงการ และรับฝังข้อเสนอแนะจากประชาชน เดือนละครั้ง เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาผลกระทบร่วมกัน