สุรินทร์-จังหวัดสุรินทร์จัดงานประเพณีบวชนาคช้าง ของชาวกวยคนเลี้ยงช้าง มีนาคเข้าบวช จำนวน 33 คน ช้างเข้าร่วมขบวนแห่นาคกว่า 100 เชือกอย่างยิ่งใหญ่ ท่ามกลางชาวบ้านนับพันคน รับวันวิสาขบูชา
วันนี้ ( 16 พ.ค.54) จังหวัดสุรินทร์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ และ อ.ท่าตูม ได้ร่วมกันจัดงาน “ประเพณีบวชนาคช้างเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ” ประจำปี 2554 ขึ้น ณ วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตของ ชาวกวยคน เลี้ยงช้างและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีบวชนาคตามแบบชาวกวยโบราณ
ประเพณีบวชนาคของชาวกวย ชาวบ้านและญาติพี่น้องของนาค ต่างจัดขบวนแห่นาคด้วยช้างนับร้อยเชือก นำโดยขบวนแห่กลองยาว เริ่มต้นจากวัดแจ้งสว่าง โดยมีนายเสริม ไชยณรงค์ ผวจ.สุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมปล่อยขบวนแห่นาคช้างนับร้อยเชือกไปยังดอนบวช หรือบริเวณวังทะลุแม่น้ำมูล ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ท่ามกลางครอบครัวญาติพี่น้องของนาครวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ ต.กระโพ และ ตำบล ใกล้เคียงมาร่วมกันร้องรำทำเพลงกับขบวนกลองยาวไปกับขบวนแห่อย่างยาวเหยียดกว่า 1 กิโลเมตร อย่างคึกคักและสนุกสนานอีกด้วย สร้างสีสัน งานบวชนาคช้าง เป็นอย่างดี
ในพิธีมีการประกอบพิธีเซ่นไหว้ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลปะกำหรือศาลปู่ตาที่ชาวกวยนับถือมาตั้งแต่โบราณ หลังจากนั้นนาคทั้งหมดจะกลับมาประกอบพิธีการอุปสมบทหมู่ ณ วัดแจ้งสว่างฯ บ.ตากกลาง ตามประเพณีต่อไป
สำหรับความเป็นมา หมู่บ้านช้างบ้านตากลางเป็นหมู่บ้านที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทยหรือในโลก โดย เป็นชุมชนที่มีภาษาพูดของตนเอง คือ ภาษากวยหรือกูยที่ยังคงยึดติดกับประเพณีโบราณมาแต่บรรพบุรุษ เช่น การเซ่นศาลปะกำ (การเซ่นไหว้บรรพบุรุษเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยก่อนออกไปคล้องช้าง) การเล่นแถน(พิธีการรำเซ่นไหว้ผี เพื่อให้ไม่เจ็บไม่ไข้) และยังมีประเพณีที่น่าสนใจ คือ “งานประเพณีบวชนาคช้าง” งานประเพณีนี้เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมามากกว่า 100 ปี ชาวกวยจะนำบุตรหลานที่มีอายุครบ 20 ปี และอยู่ในละแวกเดียวกัน จะนัดบวชพร้อมกัน โดยเชื่อว่าการบวชนี้ถ้าจะให้ได้ชื่อเสียงหรือบุญมาก จะต้องขี่ช้างแล้วแห่ไป ระยะไกลๆ มีผู้คนร่วมขบวนแห่นาคเป็นจำนวนกว่าพันคน
ในอดีตชาวกวยบ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงจะพร้อมใจกันแห่นาคด้วย ช้างไปที่วังทะลุ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน เป็นบริเวณที่ลำน้ำชีไหลมาบรรจบกับลำน้ำมูล และจะทำพิธีบรรพชาอุปสมบทที่บริเวณดอนบวช (บริเวณที่เป็นเกาะกลางแม่น้ำ) ซึ่งการทำพิธีดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือนหก เป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีความเชื่อว่า วันเพ็ญเดือนหกของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน หรือวันวิสาขบูชา ผู้ได้มาบูชาด้วยการปฏิบัติตามความเชื่อนี้จะได้เห็น พระพุทธเจ้าหรือแสงแห่ง ธรรมะนั่นเอง
ทั้งนี้ นาคจะนุ่งห่มด้วยผ้าไหม สวมเสื้อสีขาวคลุมด้วยผ้าสีสด 7 สี สวมชฎาบนศีรษะขึ้นแห่บนหลังช้าง ที่เขียนหน้าตาสวยงาม แล้วแห่จากหมู่บ้านไปจนถึงบริเวณวังทะลุ ขบวนนาคที่นั่งอยู่บนหลังช้างดูองอาจ งดงามตระการตา ท่ามกลางเสียงดนตรีประโคมดังเป็นภาพที่น่าประทับใจและแสดงถึงความผูกพันอัน ลึกซึ้งระหว่างชาวกวยกับช้างที่เขารัก ซึ่งถือเป็นญาติสนิทของคนในครอบครัว
วันนี้ ( 16 พ.ค.54) จังหวัดสุรินทร์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ และ อ.ท่าตูม ได้ร่วมกันจัดงาน “ประเพณีบวชนาคช้างเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ” ประจำปี 2554 ขึ้น ณ วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตของ ชาวกวยคน เลี้ยงช้างและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีบวชนาคตามแบบชาวกวยโบราณ
ประเพณีบวชนาคของชาวกวย ชาวบ้านและญาติพี่น้องของนาค ต่างจัดขบวนแห่นาคด้วยช้างนับร้อยเชือก นำโดยขบวนแห่กลองยาว เริ่มต้นจากวัดแจ้งสว่าง โดยมีนายเสริม ไชยณรงค์ ผวจ.สุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมปล่อยขบวนแห่นาคช้างนับร้อยเชือกไปยังดอนบวช หรือบริเวณวังทะลุแม่น้ำมูล ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ท่ามกลางครอบครัวญาติพี่น้องของนาครวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ ต.กระโพ และ ตำบล ใกล้เคียงมาร่วมกันร้องรำทำเพลงกับขบวนกลองยาวไปกับขบวนแห่อย่างยาวเหยียดกว่า 1 กิโลเมตร อย่างคึกคักและสนุกสนานอีกด้วย สร้างสีสัน งานบวชนาคช้าง เป็นอย่างดี
ในพิธีมีการประกอบพิธีเซ่นไหว้ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลปะกำหรือศาลปู่ตาที่ชาวกวยนับถือมาตั้งแต่โบราณ หลังจากนั้นนาคทั้งหมดจะกลับมาประกอบพิธีการอุปสมบทหมู่ ณ วัดแจ้งสว่างฯ บ.ตากกลาง ตามประเพณีต่อไป
สำหรับความเป็นมา หมู่บ้านช้างบ้านตากลางเป็นหมู่บ้านที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทยหรือในโลก โดย เป็นชุมชนที่มีภาษาพูดของตนเอง คือ ภาษากวยหรือกูยที่ยังคงยึดติดกับประเพณีโบราณมาแต่บรรพบุรุษ เช่น การเซ่นศาลปะกำ (การเซ่นไหว้บรรพบุรุษเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยก่อนออกไปคล้องช้าง) การเล่นแถน(พิธีการรำเซ่นไหว้ผี เพื่อให้ไม่เจ็บไม่ไข้) และยังมีประเพณีที่น่าสนใจ คือ “งานประเพณีบวชนาคช้าง” งานประเพณีนี้เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมามากกว่า 100 ปี ชาวกวยจะนำบุตรหลานที่มีอายุครบ 20 ปี และอยู่ในละแวกเดียวกัน จะนัดบวชพร้อมกัน โดยเชื่อว่าการบวชนี้ถ้าจะให้ได้ชื่อเสียงหรือบุญมาก จะต้องขี่ช้างแล้วแห่ไป ระยะไกลๆ มีผู้คนร่วมขบวนแห่นาคเป็นจำนวนกว่าพันคน
ในอดีตชาวกวยบ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงจะพร้อมใจกันแห่นาคด้วย ช้างไปที่วังทะลุ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน เป็นบริเวณที่ลำน้ำชีไหลมาบรรจบกับลำน้ำมูล และจะทำพิธีบรรพชาอุปสมบทที่บริเวณดอนบวช (บริเวณที่เป็นเกาะกลางแม่น้ำ) ซึ่งการทำพิธีดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือนหก เป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีความเชื่อว่า วันเพ็ญเดือนหกของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน หรือวันวิสาขบูชา ผู้ได้มาบูชาด้วยการปฏิบัติตามความเชื่อนี้จะได้เห็น พระพุทธเจ้าหรือแสงแห่ง ธรรมะนั่นเอง
ทั้งนี้ นาคจะนุ่งห่มด้วยผ้าไหม สวมเสื้อสีขาวคลุมด้วยผ้าสีสด 7 สี สวมชฎาบนศีรษะขึ้นแห่บนหลังช้าง ที่เขียนหน้าตาสวยงาม แล้วแห่จากหมู่บ้านไปจนถึงบริเวณวังทะลุ ขบวนนาคที่นั่งอยู่บนหลังช้างดูองอาจ งดงามตระการตา ท่ามกลางเสียงดนตรีประโคมดังเป็นภาพที่น่าประทับใจและแสดงถึงความผูกพันอัน ลึกซึ้งระหว่างชาวกวยกับช้างที่เขารัก ซึ่งถือเป็นญาติสนิทของคนในครอบครัว