กาญจนบุรี - ปตท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการวางท่อก๊าซไทย-พม่าเส้นที่ 2 ในพื้นที่กาญจนบุรี อดีต ส.อบจ.กาญจนบุรี จี้ ปตท.ชี้แจงคนกาญจน์ ได้กำไรจากก๊าซในพม่าเยอะมาก แต่ทำไมการตอบแทนคืนสู่สังคมในพื้นที่กาญจนบุรีจึงน้อยมาก
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (4 พ.ค.) นายพิพัฒน์ สังขะฤกษ์ ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ของโครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากชายแดนไทย-สหภาพพม่า มายังสถานีควบคุมความดันก๊าซฝั่งตะวันตกที่ 1 (BVW#1) ที่ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ 1 โรงแรมนาคาคีรี รีสอร์ท แอนด์ สปา ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โดยมี นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่ส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมเวทีในการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มประชาชนที่มีส่วนได้เสียในการดำเนินโครงการดังกล่าวจำนวนประมาณ 200 คนร่วมแสดงความคิดเห็น
นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเกี่ยวกับการจัดเวทีความคิดเห็นว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กำหนดจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ของโครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากชายแดนไทย-สหภาพพม่า มายังสถานีควบคุมความดันก๊าซ ฝั่งตะวันตกที่ 1 (BVW#1) (การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา (สหภาพพม่า)) เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ส่วนได้เสียของโครงการในทุกภาคส่วน ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อันอาจจะเกิดจากโครงการดังกล่าว พร้อมเสนอแนะประเด็นข้อห่วงกังวลของผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการ
ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เปิดเผยต่อว่า โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากชายแดนไทย-สหภาพพม่ามายังสถานีควบคุมความดันก๊าซ ฝั่งตะวันตกที่ 1 (BVW#1) โดยทุกแนวคิดทุกความเห็นทาง ปตท.จะนำรวบรวมเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยในเบื้องต้นมีการเสนอความเห็นเกี่ยวกับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาในพื้นที่ให้เป็นอย่างยั่งยืน ซึ่งทุกประการจะนำไปประสานหน่วยงานเพื่อร่วมบูรณาการในการ่วมกันพัฒนาต่อไป
นายจินดา โพธิ์ทอง อดีต ส.อบจ.เขต อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยเกี่ยวกับการที่ ปตท.ทำเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ ว่า หลังจากเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วตนในฐานะที่เคยสนับสนุน ปตท.ในการวางท่อก๊าซจากพม่า แต่เมื่อสถานการณ์ผ่านมาหลายปีแล้วกลับพบว่าประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่บ้านอีต่อง หรือพื้นที่โดยรอบใกล้เคียงที่เคยคาดหวังว่าโครงการท่องส่งก๊าซของ ปตท.จะทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คาดหวัดไว้ โดยก่อนที่จะทำโครงการท่อก๊าซในครั้งแรก ปตท.ได้อธิบายให้ชาวกาญจนบุรีเห็นว่าโครงการท่อก๊าซยานาดาจากพม่าชาวกาญจนบุรี จะได้ประโยชน์จากการเสียสละในหลายอย่างทั้งพื้นที่ป่าทั้งการวางท่อผ่านชุมชนต่างๆ
นายจินดา กล่าวต่อว่า แต่เมื่อโครงการเสร็จลุล่วงแล้วประโยชน์จากการส่งก๊าซทางท่อจากพม่ากลับคืนมาสู่จังหวัดกาญจนบุรีน้อยมาก ดังนั้น ในการรับฟังความคิดเห็นโครงการวางท่อก๊าซเส้นที่สองในวันนี้ ตนอยากให้ทาง ปตท.ช่วยหาแนวทางในการสนับสนุนให้ อ.ทองผาภูมิ และ จ.กาญจนบุรี ได้รับการดูแลจากว่า ทำไม ปตท.ได้กำไรจากก๊าซในพม่าเยอะมากแต่การตอบแทนคืนสู่สังคมในพื้นที่กาญจนบุรีเป็นไปอย่างน้อยมาก ทั้งที่ จ.กาญจนบุรี เป็นผู้เสียสละและช่วยเหลือ ปตท.มาตลอด คงต้องขอให้ ปตท.พิจารณาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคน จ.กาญจนบุรี
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (4 พ.ค.) นายพิพัฒน์ สังขะฤกษ์ ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ของโครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากชายแดนไทย-สหภาพพม่า มายังสถานีควบคุมความดันก๊าซฝั่งตะวันตกที่ 1 (BVW#1) ที่ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ 1 โรงแรมนาคาคีรี รีสอร์ท แอนด์ สปา ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โดยมี นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่ส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมเวทีในการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มประชาชนที่มีส่วนได้เสียในการดำเนินโครงการดังกล่าวจำนวนประมาณ 200 คนร่วมแสดงความคิดเห็น
นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเกี่ยวกับการจัดเวทีความคิดเห็นว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กำหนดจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ของโครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากชายแดนไทย-สหภาพพม่า มายังสถานีควบคุมความดันก๊าซ ฝั่งตะวันตกที่ 1 (BVW#1) (การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา (สหภาพพม่า)) เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ส่วนได้เสียของโครงการในทุกภาคส่วน ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อันอาจจะเกิดจากโครงการดังกล่าว พร้อมเสนอแนะประเด็นข้อห่วงกังวลของผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการ
ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เปิดเผยต่อว่า โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากชายแดนไทย-สหภาพพม่ามายังสถานีควบคุมความดันก๊าซ ฝั่งตะวันตกที่ 1 (BVW#1) โดยทุกแนวคิดทุกความเห็นทาง ปตท.จะนำรวบรวมเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยในเบื้องต้นมีการเสนอความเห็นเกี่ยวกับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาในพื้นที่ให้เป็นอย่างยั่งยืน ซึ่งทุกประการจะนำไปประสานหน่วยงานเพื่อร่วมบูรณาการในการ่วมกันพัฒนาต่อไป
นายจินดา โพธิ์ทอง อดีต ส.อบจ.เขต อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยเกี่ยวกับการที่ ปตท.ทำเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ ว่า หลังจากเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วตนในฐานะที่เคยสนับสนุน ปตท.ในการวางท่อก๊าซจากพม่า แต่เมื่อสถานการณ์ผ่านมาหลายปีแล้วกลับพบว่าประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่บ้านอีต่อง หรือพื้นที่โดยรอบใกล้เคียงที่เคยคาดหวังว่าโครงการท่องส่งก๊าซของ ปตท.จะทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คาดหวัดไว้ โดยก่อนที่จะทำโครงการท่อก๊าซในครั้งแรก ปตท.ได้อธิบายให้ชาวกาญจนบุรีเห็นว่าโครงการท่อก๊าซยานาดาจากพม่าชาวกาญจนบุรี จะได้ประโยชน์จากการเสียสละในหลายอย่างทั้งพื้นที่ป่าทั้งการวางท่อผ่านชุมชนต่างๆ
นายจินดา กล่าวต่อว่า แต่เมื่อโครงการเสร็จลุล่วงแล้วประโยชน์จากการส่งก๊าซทางท่อจากพม่ากลับคืนมาสู่จังหวัดกาญจนบุรีน้อยมาก ดังนั้น ในการรับฟังความคิดเห็นโครงการวางท่อก๊าซเส้นที่สองในวันนี้ ตนอยากให้ทาง ปตท.ช่วยหาแนวทางในการสนับสนุนให้ อ.ทองผาภูมิ และ จ.กาญจนบุรี ได้รับการดูแลจากว่า ทำไม ปตท.ได้กำไรจากก๊าซในพม่าเยอะมากแต่การตอบแทนคืนสู่สังคมในพื้นที่กาญจนบุรีเป็นไปอย่างน้อยมาก ทั้งที่ จ.กาญจนบุรี เป็นผู้เสียสละและช่วยเหลือ ปตท.มาตลอด คงต้องขอให้ ปตท.พิจารณาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคน จ.กาญจนบุรี