ศูนย์ข่าวขอนแก่น-ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มข.เผยผลสำรวจ เสียงสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลของชาวอีสาน จากกลุ่มตัวอย่าง 613 ราย พบสียงสนับสนุนรัฐบาลลดลงทุกด้าน คาดเป็นผลจากความไม่พอใจการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล
อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 25-27 มี.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวอีสานต่อการทำงานของรัฐบาลในด้านต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการปรับมาตรการนโยบายต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
โดยทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 613 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด 19 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร และอำนาจเจริญ
ผลสำรวจด้านการบริหารงานในภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคนอีสานให้การสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 55 และไม่สนับสนุนร้อยละ 45 ในขณะที่ด้านการเมืองมีเสียงสนับสนุนร้อยละ 39 และไม่สนับสนุน ร้อยละ 61 ส่วนด้านเศรษฐกิจเสียงสนับสนุนร้อยละ 48 และไม่สนับสนุนร้อยละ 52 สุดท้ายคือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนร้อยละ 58 และไม่สนับสนุน ร้อยละ 42
ทั้งนี้ เมื่อเทียบสถิติเสียงสนับสนุนกับช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า เสียงสนับสนุนรัฐบาลในไตรมาสแรกปี 2554 มีแนวโน้มลดลงในทุกๆ ด้านเมื่อเทียบกับปลายปี 2553 เริ่มจากด้านการทำงานภาพรวม เสียงสนับสนุนลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ที่เคยได้ร้อยละ 58 เหลือร้อยละ 55
ส่วนด้านการเมือง เสียงสนับสนุนก็ลดลงจากเดิมร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 39 ขณะที่ด้านเศรษฐกิจ เสียงสนับสนุนลดลงจากเดิมร้อยละ 56 เป็นร้อยละ 48 และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ลดลงจากเดิมที่ได้ร้อยละ 65 เป็นร้อยละ 58 ในครั้งนี้
อาจารย์ประเสริฐระบุว่า จากการพิจารณาความคิดเห็นเพิ่มเติมของกลุ่มตัวอย่างประกอบกับผลสำรวจเสียงสนับสนุนรัฐบาลที่ลดต่ำลงในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นเพราะชาวอีสานมองว่ารัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องราคาสินค้าแพงและค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ หลายความเห็นยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งปราบปรามยาเสพติด และอาชญากรรมอย่างจริงจังมากขึ้นอีกด้วย
อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 25-27 มี.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวอีสานต่อการทำงานของรัฐบาลในด้านต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการปรับมาตรการนโยบายต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
โดยทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 613 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด 19 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร และอำนาจเจริญ
ผลสำรวจด้านการบริหารงานในภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคนอีสานให้การสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 55 และไม่สนับสนุนร้อยละ 45 ในขณะที่ด้านการเมืองมีเสียงสนับสนุนร้อยละ 39 และไม่สนับสนุน ร้อยละ 61 ส่วนด้านเศรษฐกิจเสียงสนับสนุนร้อยละ 48 และไม่สนับสนุนร้อยละ 52 สุดท้ายคือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนร้อยละ 58 และไม่สนับสนุน ร้อยละ 42
ทั้งนี้ เมื่อเทียบสถิติเสียงสนับสนุนกับช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า เสียงสนับสนุนรัฐบาลในไตรมาสแรกปี 2554 มีแนวโน้มลดลงในทุกๆ ด้านเมื่อเทียบกับปลายปี 2553 เริ่มจากด้านการทำงานภาพรวม เสียงสนับสนุนลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ที่เคยได้ร้อยละ 58 เหลือร้อยละ 55
ส่วนด้านการเมือง เสียงสนับสนุนก็ลดลงจากเดิมร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 39 ขณะที่ด้านเศรษฐกิจ เสียงสนับสนุนลดลงจากเดิมร้อยละ 56 เป็นร้อยละ 48 และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ลดลงจากเดิมที่ได้ร้อยละ 65 เป็นร้อยละ 58 ในครั้งนี้
อาจารย์ประเสริฐระบุว่า จากการพิจารณาความคิดเห็นเพิ่มเติมของกลุ่มตัวอย่างประกอบกับผลสำรวจเสียงสนับสนุนรัฐบาลที่ลดต่ำลงในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นเพราะชาวอีสานมองว่ารัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องราคาสินค้าแพงและค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ หลายความเห็นยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งปราบปรามยาเสพติด และอาชญากรรมอย่างจริงจังมากขึ้นอีกด้วย