กาญจนบุรี - สสจ.กาญจนบุรี จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันวัณโรคโลก ประจำปี 54 วัณโรคหากตรวจพบเร็วจะเป็นผลดีกับผู้ป่วย ทำให้เข้าถึงบริการได้เร็วขึ้น การเจ็บป่วยไม่รุนแรง มีโอกาสแพร่เชื้อให้ชุมชนในเวลาสั้น รักษาหาย เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตัดวงจรการแพร่เชื้อ เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่นและชุมชน
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (25 มี.ค.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็น “วันวัณโรคโลก” (World TB Day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวโลกและผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก ให้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากวัณโรคโดยเฉพาะวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในหลายๆ ประเทศ และร่วมมือร่วมใจต่อสู้กับโรคร้ายนี้ โดยการสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมป้องกันเพื่อกำจัดวัณโรค ดังคำขวัญการรณรงค์ในปีนี้ว่า “รู้ทัน วัณโรค พบก่อน รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย” (On the move against Tuberculosis)
ซึ่งวัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ โดยเป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภาวะความยากจน และแรงงานอพยพ องค์การอนามัยโลกได้จัดลำดับความรุนแรงของปัญหาการแพร่ระบาดวัณโรค ซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่ 18 ของโลกในจำนวน 22 ประเทศที่มีขนาดปัญหาด้านวัณโรคสูง จังหวัดกาญจนบุรีพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปีละประมาณ 1,000 คน เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดเสมหะพบเชื้อประมาณ 500 คน โดยพบมากในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นชุมชนเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดเสมหะมีเชื้อสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 10-15 คน ภายใน 1 ปี
เชื้อวัณโรคไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า จะแพร่กระจายเมื่อผู้ป่วยไอ จาม พูด หรือร้องเพลง การติดเชื้อโดยสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอดและแพร่ไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคมากกว่าคนปกติ แม้ว่าส่วนใหญ่วัณโรคจะสามารถรักษาได้ แต่การรักษาที่ยาวนานและผลข้างเคียงของยา ทำให้ผู้ป่วยมักหยุดกินยา ส่งผลให้การรักษาไม่หายขาด ล้มเหลว ดื้อยา และเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการระบาดในชุมชนอีกด้วย ดังนั้น การป้องกันควบคุมวัณโรคที่ได้ผลดีที่สุดคือการร่วมมือร่วมใจของครอบครัว ชุมชน และทุกภาคส่วนในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนให้มารับการรักษาโดยเร็ว และติดตามกำกับการกินยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายทุกรายก่อนที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต
นพ.ไพศาล กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของที่คาดว่าจะมีในพื้นที่ และรักษาครบถ้วน หายขาด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 เพื่อลดความรุนแรงของปัญหาวัณโรคลงให้ได้ และยังมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนที่มีอาการสงสัยว่าจะป่วยเป็นวัณโรค ได้มารับการรักษาอย่างครบถ้วนถูกต้อง และรวดเร็วให้มากที่สุด
รวมทั้งสร้างกระแส ส่งเสริมให้ชุมชนทั่วทุกสังคมไทย เข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัณโรค ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญในการนำผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านผู้ป่วย และผู้มีอาการสงสัยไปรับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง โดยประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการเพื่อความสำเร็จในการควบคุมป้องกันวัณโรค จึงขอเชิญชวนประชาชนที่มีอาการสงสัยวัณโรคมารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (25 มี.ค.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็น “วันวัณโรคโลก” (World TB Day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวโลกและผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก ให้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากวัณโรคโดยเฉพาะวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในหลายๆ ประเทศ และร่วมมือร่วมใจต่อสู้กับโรคร้ายนี้ โดยการสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมป้องกันเพื่อกำจัดวัณโรค ดังคำขวัญการรณรงค์ในปีนี้ว่า “รู้ทัน วัณโรค พบก่อน รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย” (On the move against Tuberculosis)
ซึ่งวัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ โดยเป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภาวะความยากจน และแรงงานอพยพ องค์การอนามัยโลกได้จัดลำดับความรุนแรงของปัญหาการแพร่ระบาดวัณโรค ซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่ 18 ของโลกในจำนวน 22 ประเทศที่มีขนาดปัญหาด้านวัณโรคสูง จังหวัดกาญจนบุรีพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปีละประมาณ 1,000 คน เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดเสมหะพบเชื้อประมาณ 500 คน โดยพบมากในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นชุมชนเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดเสมหะมีเชื้อสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 10-15 คน ภายใน 1 ปี
เชื้อวัณโรคไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า จะแพร่กระจายเมื่อผู้ป่วยไอ จาม พูด หรือร้องเพลง การติดเชื้อโดยสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอดและแพร่ไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคมากกว่าคนปกติ แม้ว่าส่วนใหญ่วัณโรคจะสามารถรักษาได้ แต่การรักษาที่ยาวนานและผลข้างเคียงของยา ทำให้ผู้ป่วยมักหยุดกินยา ส่งผลให้การรักษาไม่หายขาด ล้มเหลว ดื้อยา และเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการระบาดในชุมชนอีกด้วย ดังนั้น การป้องกันควบคุมวัณโรคที่ได้ผลดีที่สุดคือการร่วมมือร่วมใจของครอบครัว ชุมชน และทุกภาคส่วนในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนให้มารับการรักษาโดยเร็ว และติดตามกำกับการกินยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายทุกรายก่อนที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต
นพ.ไพศาล กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของที่คาดว่าจะมีในพื้นที่ และรักษาครบถ้วน หายขาด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 เพื่อลดความรุนแรงของปัญหาวัณโรคลงให้ได้ และยังมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนที่มีอาการสงสัยว่าจะป่วยเป็นวัณโรค ได้มารับการรักษาอย่างครบถ้วนถูกต้อง และรวดเร็วให้มากที่สุด
รวมทั้งสร้างกระแส ส่งเสริมให้ชุมชนทั่วทุกสังคมไทย เข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัณโรค ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญในการนำผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านผู้ป่วย และผู้มีอาการสงสัยไปรับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง โดยประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการเพื่อความสำเร็จในการควบคุมป้องกันวัณโรค จึงขอเชิญชวนประชาชนที่มีอาการสงสัยวัณโรคมารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง