เพชรบุรี - สสจ.เพชรบุรี เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเข้ารับการรักษา รู้ทันวัณโรค พบก่อน รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย
นายแพทย์วัฒนา โรจนวิจิตรกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็นวัน “วัณโรคโลก” เนื่องจากในขณะนี้โรควัณโรคยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในส่วนของจังหวัดเพชรบุรี ปีงบประมาณ 2553 พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา ณ โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง 374 ราย ในจำนวนนี้ เป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ 9 ราย แรงงานต่างชาติ 7 ราย และเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ 191 ราย โดยผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ 1 ราย สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 10-15 ราย ภายใน 1-2 ปี
จากจำนวนประชากรของจังหวัดเพชรบุรี 458,975 คน คาดการณ์ว่าจังหวัดเพชรบุรีน่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ 285 ราย แต่มาขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 199 ราย คิดเป็นร้อยละ 67 ดังนั้นจังหวัดเพชรบุรีจึงได้เร่งรัดการค้นหา ผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก คือการค้นหาผู้มีอาการสงสัยป่วยเป็นวัณโรคในชุมชน โดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีม อสม.ใช้แบบคัดกรองวัณโรค คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และแรงงานต่างชาติ
หากพบผู้มีอาการสงสัยจะส่งตรวจเสมหะและเอกซเรย์ปอด ในกรณีที่พบว่าป่วยเป็นวัณโรค โรงพยาบาลทุกแห่งจะขึ้นทะเบียนรักษา ดูแลจนผู้ป่วยรักษาหายและกินยาครบ วัณโรครักษาหายได้หากกินยาสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ใช้เวลาเพียง 6-8 เดือน เท่านั้น หากผู้ป่วยวัณโรคขาดยาหรือกินยาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อดื้อยา ต้องรักษานานถึงปีครึ่งหรือมากกว่านั้น
นายแพทย์วัฒนากล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการป้องกันวัณโรคที่ดีที่สุด คือ การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและรักษาให้หายเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อต่อไป และ ข้อควรปฏิบัติสำหรับประชาชนทั่วไป มีดังนี้ 1.ควรปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม 2.ถ้าพบผู้มีอาการสงสัย คือมีอาการไอเป็นเลือด หรือไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือค่ำ เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน น้ำหนักลดมากกว่า 5% ภายใน 1 เดือน แนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล
3.ญาติหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยเฉพาะเด็ก ควรไปรับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล 4.ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ต้องดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานครบถ้วน ต่อเนื่อง และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดยา 5.ควรตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย สร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ตามคำขวัญวัน “วัณโรคโลก” ปี 2554 ที่กำหนด ว่า “ รู้ทันวัณโรค พบก่อน รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย” จึงขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย ช่วยกันแนะนำให้กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่มีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นวัณโรค เข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรค
โดยการตรวจเสมหะและเอกซเรย์ปอดที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี โทร. 0-3242-5100 ต่อ 108
นายแพทย์วัฒนา โรจนวิจิตรกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็นวัน “วัณโรคโลก” เนื่องจากในขณะนี้โรควัณโรคยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในส่วนของจังหวัดเพชรบุรี ปีงบประมาณ 2553 พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา ณ โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง 374 ราย ในจำนวนนี้ เป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ 9 ราย แรงงานต่างชาติ 7 ราย และเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ 191 ราย โดยผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ 1 ราย สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 10-15 ราย ภายใน 1-2 ปี
จากจำนวนประชากรของจังหวัดเพชรบุรี 458,975 คน คาดการณ์ว่าจังหวัดเพชรบุรีน่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ 285 ราย แต่มาขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 199 ราย คิดเป็นร้อยละ 67 ดังนั้นจังหวัดเพชรบุรีจึงได้เร่งรัดการค้นหา ผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก คือการค้นหาผู้มีอาการสงสัยป่วยเป็นวัณโรคในชุมชน โดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีม อสม.ใช้แบบคัดกรองวัณโรค คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และแรงงานต่างชาติ
หากพบผู้มีอาการสงสัยจะส่งตรวจเสมหะและเอกซเรย์ปอด ในกรณีที่พบว่าป่วยเป็นวัณโรค โรงพยาบาลทุกแห่งจะขึ้นทะเบียนรักษา ดูแลจนผู้ป่วยรักษาหายและกินยาครบ วัณโรครักษาหายได้หากกินยาสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ใช้เวลาเพียง 6-8 เดือน เท่านั้น หากผู้ป่วยวัณโรคขาดยาหรือกินยาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อดื้อยา ต้องรักษานานถึงปีครึ่งหรือมากกว่านั้น
นายแพทย์วัฒนากล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการป้องกันวัณโรคที่ดีที่สุด คือ การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและรักษาให้หายเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อต่อไป และ ข้อควรปฏิบัติสำหรับประชาชนทั่วไป มีดังนี้ 1.ควรปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม 2.ถ้าพบผู้มีอาการสงสัย คือมีอาการไอเป็นเลือด หรือไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือค่ำ เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน น้ำหนักลดมากกว่า 5% ภายใน 1 เดือน แนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล
3.ญาติหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยเฉพาะเด็ก ควรไปรับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล 4.ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ต้องดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานครบถ้วน ต่อเนื่อง และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดยา 5.ควรตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย สร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ตามคำขวัญวัน “วัณโรคโลก” ปี 2554 ที่กำหนด ว่า “ รู้ทันวัณโรค พบก่อน รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย” จึงขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย ช่วยกันแนะนำให้กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่มีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นวัณโรค เข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรค
โดยการตรวจเสมหะและเอกซเรย์ปอดที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี โทร. 0-3242-5100 ต่อ 108