จันทบุรี - สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดจันทบุรีมีความรุนมากขึ้นแรง หลังระดับน้ำในเขื่อน ฝาย อ่างเก็บกักน้ำ และคลองธรรมชาติเริ่มแห้งขอด เกษตรกรชาวสวนจันทบุรีเดือดร้อนแล้วกว่า 50,000 หลังคาเรือน ขณะที่หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.และเทศบาลเร่งออกให้การช่วยเหลือสูบน้ำ กั้นฝายชะลอน้ำ และใช้รถวิ่งแจกจ่ายน้ำกันแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ที่จังหวัดจันทบุรี ถือว่ารุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมาโดยดูจากปริมาณน้ำในเขื่อน ฝาย อ่างเก็บกักน้ำ และคลองธรรมชาติต่างๆเริ่มแห้งขอด ทำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ และประชาชนในจังหวัดจันทบุรีเริ่มได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคกว่า 50,000 หลังคาเรือนแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรีที่มักจะเจอปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และเป็นปัญหาซ้ำซากที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
เกษตรกรสวนลำไย อำเภอโปร่งน้ำร้อน เผยว่า เนื่องจากทั้ง 2 อำเภอนี้ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนในการเก็บกักน้ำ ประชาชนและเกษตรกรชาวสวนจะได้รับความเดือดร้อนก่อนเมื่อถึงฤดูแล้ง นอกจากนี้พื้นที่ทั้ง 2 อำเภอ ยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกลำไยส่งออกไปต่างประเทศรายใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอีกด้วย ทำให้ในขณะนี้ชาวสวนผู้ปลูกลำไยส่งออกทั้ง 2 อำเภอ ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งที่ไม่มีน้ำมารดสวนลำไย และการอุปโภคบริโภค ชาวสวนบางรายต้องปล่อยให้ต้นลำไยมีการยืนต้นตาย เพราะไม่สามารถที่จะแบกภาระได้ไว้ในการซื้อน้ำมารดสวนลำไยเนื่องจากต้นทุนสูง ไม่คุ้มทุนนั้นเอง
อย่างไรก็ตามแม้หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล และ เทศบาลต่างๆจะมีการออกให้ความช่วยเหลือในการนำรถวิ่งออกแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชน และเกษตรกรชาวสวนแล้วก็ตามแต่ปริมาณน้ำก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่อีกด้วย เพราะแหล่งน้ำต้นทุนไม่มี แม้จะมีการวิ่งรถออกไปเอาน้ำตามแหล่งน้ำอื่นมาทดแทนให้กับประชาชน และเกษตรกรชาวสวนแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หมด เพราะในระยะยาวปริมาณน้ำก็ต้องแห้งขอดและหมดลง
ทั้งนี้ประชาชนและเกษตรกรจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว หรือ การจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมมาดำเนินการสร้างอ่างเก็บกักน้ำจะได้ผลกว่า ทั้งนี้ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและเสียงบประมาณในการวิ่งรถไปเอาน้ำจากแหล่งน้ำอื่นมาให้ประชาชนและเกษตรกรชาวสวนซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้แม้ประชาชน และเกษตรกรชาวสวนจะมีการกั้นฝายชะลอน้ำเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอต่อในช่วงฤดูแล้งแต่ก็ไม่เป็นผลเพราะแหล่งน้ำ และคลองธรรมชาติต่างๆในพื้นที่ 2 อำเภอ ไม่มีน้ำไหลที่จะให้กั้น หรือ เก็บกักไว้ได้เลย
สำหรับพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ขณะนี้ทางจังหวัดได้ประกาศให้ 8 อำเภอ จาก 10 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยพิบัติฉุกเฉิน ภัยแล้งแล้ว สำหรับพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายที่เกิดจากปัญหาภัยแล้งแล้วในปัจจุบันนี้มีจำนวน 50000 กว่าไร่เศษ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สวนผลไม้ เช่น เงาะ ลองกอง ทุเรียน และ ลำไย เป็นต้น ทั้งนี้มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวน 80 ตำบล 828 หมู่บ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ที่จังหวัดจันทบุรี ถือว่ารุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมาโดยดูจากปริมาณน้ำในเขื่อน ฝาย อ่างเก็บกักน้ำ และคลองธรรมชาติต่างๆเริ่มแห้งขอด ทำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ และประชาชนในจังหวัดจันทบุรีเริ่มได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคกว่า 50,000 หลังคาเรือนแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรีที่มักจะเจอปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และเป็นปัญหาซ้ำซากที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
เกษตรกรสวนลำไย อำเภอโปร่งน้ำร้อน เผยว่า เนื่องจากทั้ง 2 อำเภอนี้ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนในการเก็บกักน้ำ ประชาชนและเกษตรกรชาวสวนจะได้รับความเดือดร้อนก่อนเมื่อถึงฤดูแล้ง นอกจากนี้พื้นที่ทั้ง 2 อำเภอ ยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกลำไยส่งออกไปต่างประเทศรายใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอีกด้วย ทำให้ในขณะนี้ชาวสวนผู้ปลูกลำไยส่งออกทั้ง 2 อำเภอ ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งที่ไม่มีน้ำมารดสวนลำไย และการอุปโภคบริโภค ชาวสวนบางรายต้องปล่อยให้ต้นลำไยมีการยืนต้นตาย เพราะไม่สามารถที่จะแบกภาระได้ไว้ในการซื้อน้ำมารดสวนลำไยเนื่องจากต้นทุนสูง ไม่คุ้มทุนนั้นเอง
อย่างไรก็ตามแม้หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล และ เทศบาลต่างๆจะมีการออกให้ความช่วยเหลือในการนำรถวิ่งออกแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชน และเกษตรกรชาวสวนแล้วก็ตามแต่ปริมาณน้ำก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่อีกด้วย เพราะแหล่งน้ำต้นทุนไม่มี แม้จะมีการวิ่งรถออกไปเอาน้ำตามแหล่งน้ำอื่นมาทดแทนให้กับประชาชน และเกษตรกรชาวสวนแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หมด เพราะในระยะยาวปริมาณน้ำก็ต้องแห้งขอดและหมดลง
ทั้งนี้ประชาชนและเกษตรกรจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว หรือ การจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมมาดำเนินการสร้างอ่างเก็บกักน้ำจะได้ผลกว่า ทั้งนี้ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและเสียงบประมาณในการวิ่งรถไปเอาน้ำจากแหล่งน้ำอื่นมาให้ประชาชนและเกษตรกรชาวสวนซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้แม้ประชาชน และเกษตรกรชาวสวนจะมีการกั้นฝายชะลอน้ำเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอต่อในช่วงฤดูแล้งแต่ก็ไม่เป็นผลเพราะแหล่งน้ำ และคลองธรรมชาติต่างๆในพื้นที่ 2 อำเภอ ไม่มีน้ำไหลที่จะให้กั้น หรือ เก็บกักไว้ได้เลย
สำหรับพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ขณะนี้ทางจังหวัดได้ประกาศให้ 8 อำเภอ จาก 10 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยพิบัติฉุกเฉิน ภัยแล้งแล้ว สำหรับพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายที่เกิดจากปัญหาภัยแล้งแล้วในปัจจุบันนี้มีจำนวน 50000 กว่าไร่เศษ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สวนผลไม้ เช่น เงาะ ลองกอง ทุเรียน และ ลำไย เป็นต้น ทั้งนี้มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวน 80 ตำบล 828 หมู่บ้าน