เชียงใหม่ - มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น เตรียมการสำรวจจำนวนลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่นใน จ.เชียงราย โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าฯเชียงรายซึ่งถือเป็นการสำรวจเพื่อทำสถิติเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
นายโทโมฮารุ เอบีฮาระ ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น Thai-Japan Education Development Foundation (TJEDF) เปิดเผยว่า เมื่อปี 2552 ได้มีการก่อตั้งกลุ่มNGO ชื่อ “กลุ่มสนับสนุนเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น” ทำการสำรวจข้อมูลเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ และให้การสนับสนุนด้านต่างๆ
โดยเฉพาะทุนการศึกษาและสืบเนื่องจากเรื่องของ ด.ช.เคอิโงะ เด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น จังหวัดพิจิตร ที่เป็นข่าวและเป็นที่สนใจของสังคมไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เราทราบว่ามีเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น หรือเด็กเชื้อสายญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาในชีวิต แต่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนเด็กด้อยโอกาสทราบมาเป็นเวลานานแล้วว่า แท้จริงแล้วปัญหาของเด็กลักษณะนี้มิได้มีเพียง ด.ช.เคอิโงะ เท่านั้น แต่มีเด็กที่ประสบปัญหาลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เนื่องจากมีคนไทยจำนวนมากที่เคยไปทำงานที่ญี่ปุ่น หรือแต่งงานกับชาวญี่ปุ่น
เพื่อให้เกิดการพัฒนาและขยายบทบาทหน้าที่ด้านการพัฒนาการศึกษา และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน กลุ่มสนับสนุนเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น จึงได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นนิติบุคคลในรูปของมูลนิธิ โดยได้รับการอนุมัติจากจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 ให้เป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น” (Thai-Japan Education Development Foundation/TJEDF)
มูลนิธิมีพันธกิจสำคัญในด้านการพัฒนาการศึกษา การส่งเสริมความเข้าใจ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น รวมถึงการสนับสนุนเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ที่ประสบปัญหาต่างๆ ในชีวิต จึงถือได้ว่า มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น เป็นองค์กรนิติบุคคลที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเด็กลักษณะนี้ที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นครั้งแรกทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
แต่เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางสถิติของเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น จึงทำให้เรามองไม่เห็นภาพรวมของปัญหาเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 มูลนิธิได้รับอนุญาตและได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายสมชัย หทยะตันติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ที่เคยดูแลกรณี ด.ช. เคอิโงะ ซึ่งท่านมีความรู้ความเข้าใจต่อปัญหาเด็กเชื้อสายญี่ปุ่นเป็นอย่างดี) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย จะดำเนินการสำรวจข้อมูลจำนวนและการกระจายของเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ใน จ.เชียงราย (16 อำเภอ) ในโครงการสำรวจข้อมูลเด็กและเยาวชนเชื้อสายญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงราย เป็นโครงการร่วมระหว่างราชการกับเอกชน คือ จังหวัดเชียงรายกับมูลนิธิ ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลระดับจังหวัดครั้งแรกในประเทศไทย
นายโทโมฮารุ เอบีฮาระ ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น Thai-Japan Education Development Foundation (TJEDF) เปิดเผยว่า เมื่อปี 2552 ได้มีการก่อตั้งกลุ่มNGO ชื่อ “กลุ่มสนับสนุนเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น” ทำการสำรวจข้อมูลเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ และให้การสนับสนุนด้านต่างๆ
โดยเฉพาะทุนการศึกษาและสืบเนื่องจากเรื่องของ ด.ช.เคอิโงะ เด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น จังหวัดพิจิตร ที่เป็นข่าวและเป็นที่สนใจของสังคมไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เราทราบว่ามีเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น หรือเด็กเชื้อสายญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาในชีวิต แต่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนเด็กด้อยโอกาสทราบมาเป็นเวลานานแล้วว่า แท้จริงแล้วปัญหาของเด็กลักษณะนี้มิได้มีเพียง ด.ช.เคอิโงะ เท่านั้น แต่มีเด็กที่ประสบปัญหาลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เนื่องจากมีคนไทยจำนวนมากที่เคยไปทำงานที่ญี่ปุ่น หรือแต่งงานกับชาวญี่ปุ่น
เพื่อให้เกิดการพัฒนาและขยายบทบาทหน้าที่ด้านการพัฒนาการศึกษา และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน กลุ่มสนับสนุนเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น จึงได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นนิติบุคคลในรูปของมูลนิธิ โดยได้รับการอนุมัติจากจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 ให้เป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น” (Thai-Japan Education Development Foundation/TJEDF)
มูลนิธิมีพันธกิจสำคัญในด้านการพัฒนาการศึกษา การส่งเสริมความเข้าใจ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น รวมถึงการสนับสนุนเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ที่ประสบปัญหาต่างๆ ในชีวิต จึงถือได้ว่า มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น เป็นองค์กรนิติบุคคลที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเด็กลักษณะนี้ที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นครั้งแรกทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
แต่เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางสถิติของเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น จึงทำให้เรามองไม่เห็นภาพรวมของปัญหาเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 มูลนิธิได้รับอนุญาตและได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายสมชัย หทยะตันติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ที่เคยดูแลกรณี ด.ช. เคอิโงะ ซึ่งท่านมีความรู้ความเข้าใจต่อปัญหาเด็กเชื้อสายญี่ปุ่นเป็นอย่างดี) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย จะดำเนินการสำรวจข้อมูลจำนวนและการกระจายของเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ใน จ.เชียงราย (16 อำเภอ) ในโครงการสำรวจข้อมูลเด็กและเยาวชนเชื้อสายญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงราย เป็นโครงการร่วมระหว่างราชการกับเอกชน คือ จังหวัดเชียงรายกับมูลนิธิ ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลระดับจังหวัดครั้งแรกในประเทศไทย