นครปฐม - เทศบาลนครนครปฐม จัดโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไข้หวัดนกในไก่พื้นเมือง
นายปริญญา จินต์จันทรวงศ์ รองนายกเทศมนตรีนครนครปฐม เผยว่า การเลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนมากจะเลี้ยงปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ หรือนำผลิตผลพลอยได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาเป็นอาหารเสริม เช่น รำ ปลายข้าว ซึ่งไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่จะอาศัยนอนตามใต้ถุนบ้าน ต้นไม้ บริเวณรอบๆ บ้าน
ส่วนมูลไก่ก็นำไปทำปุ๋ย หรือนำไปเป็นอาหารปลา ไก่พื้นบ้านเลี้ยงไว้เพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน ถ้ามีเหลือจากการบริโภคก็นำออกจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม ไก่พื้นเมืองมีหลายพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะนำไก่เพศผู้มาซ้อมตีกัน บางตัวมีมูลค่าราคาสูง อีกทั้งเนื้อแน่น รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงไก่พื้นเมืองมักมีโรคระบาดเกิดขึ้น ทำให้มีอัตราการป่วย และตายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ทั่วๆ ไป เชื้อโรคไข้หวัดนกสามารถติดต่อสู่คน และทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งเชื้อนี้สามารถแพร่กระจายได้ดีในช่วงฤดูหนาว
ดังนั้น เทศบาลนครนครปฐม จึงจัดโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไข้หวัดนกในไก่พื้นเมืองขึ้น เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้หวัดนก และค้นหาโรคไข้หวัดนกที่คงแฝงตัวอยู่ในสัตว์ปีก และกำจัดโรคออกไปโดยเร็ว อีกทั้งได้ศึกษา ประเมินภาวะโรคไข้หวัดนกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครปฐม
นายปริญญา จินต์จันทรวงศ์ รองนายกเทศมนตรีนครนครปฐม กล่าวอีกว่า ในการดำเนินการนั้นจะมีการสำรวจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในชุมชนเขตเทศบาลจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจเยี่ยม เฝ้าระวังโรคเป็นระยะในกรณีพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ และมีอาการคล้ายไข้หวัดนก จะประสานหน่วยงานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อดำเนินการต่อไป
พร้อมทั้งฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในช่วงฤดูหนาว หรือช่วยที่มีการะบาด โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ เดือนมกราคม 2554-กุมภาพันธ์ 2554 และเดือนสิงหาคม 2554-กันยายน 2554
นายปริญญา จินต์จันทรวงศ์ รองนายกเทศมนตรีนครนครปฐม เผยว่า การเลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนมากจะเลี้ยงปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ หรือนำผลิตผลพลอยได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาเป็นอาหารเสริม เช่น รำ ปลายข้าว ซึ่งไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่จะอาศัยนอนตามใต้ถุนบ้าน ต้นไม้ บริเวณรอบๆ บ้าน
ส่วนมูลไก่ก็นำไปทำปุ๋ย หรือนำไปเป็นอาหารปลา ไก่พื้นบ้านเลี้ยงไว้เพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน ถ้ามีเหลือจากการบริโภคก็นำออกจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม ไก่พื้นเมืองมีหลายพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะนำไก่เพศผู้มาซ้อมตีกัน บางตัวมีมูลค่าราคาสูง อีกทั้งเนื้อแน่น รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงไก่พื้นเมืองมักมีโรคระบาดเกิดขึ้น ทำให้มีอัตราการป่วย และตายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ทั่วๆ ไป เชื้อโรคไข้หวัดนกสามารถติดต่อสู่คน และทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งเชื้อนี้สามารถแพร่กระจายได้ดีในช่วงฤดูหนาว
ดังนั้น เทศบาลนครนครปฐม จึงจัดโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไข้หวัดนกในไก่พื้นเมืองขึ้น เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้หวัดนก และค้นหาโรคไข้หวัดนกที่คงแฝงตัวอยู่ในสัตว์ปีก และกำจัดโรคออกไปโดยเร็ว อีกทั้งได้ศึกษา ประเมินภาวะโรคไข้หวัดนกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครปฐม
นายปริญญา จินต์จันทรวงศ์ รองนายกเทศมนตรีนครนครปฐม กล่าวอีกว่า ในการดำเนินการนั้นจะมีการสำรวจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในชุมชนเขตเทศบาลจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจเยี่ยม เฝ้าระวังโรคเป็นระยะในกรณีพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ และมีอาการคล้ายไข้หวัดนก จะประสานหน่วยงานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อดำเนินการต่อไป
พร้อมทั้งฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในช่วงฤดูหนาว หรือช่วยที่มีการะบาด โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ เดือนมกราคม 2554-กุมภาพันธ์ 2554 และเดือนสิงหาคม 2554-กันยายน 2554