ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผู้ว่าฯชลบุรี สั่งรื้อนายทุนรุกที่-ลำรางสาธารณะ สร้างปัญหาต่อประชาชนในพื้นที่ตั้ง 3 ทีมงานลุยสะสางปัญหาโดยเร่งด่วน เริ่มพื้นที่อำเภอศรีราชาแห่งแรก
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่ชุมชนอำเภอศรีราชา แบบบูรณาการ โดยมีนายอำเภอศรีราชา, นายกเทศมนตรีเทศบาลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, นายกเทศมนตรีเทศบาลบางพระ, เทศบาลเมืองศรีราชา, ที่ดินจังหวัดชลบุรี, โยธาธิการจังหวัดชลบุรี, ชลประทานจังหวัดชลบุรี ฯลฯ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างบูรณาการ
นายวิชิต กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ เนื่องจากในช่วงฤดูฝนปี 2553 ที่ผ่านมา เกิดสภาพน้ำท่วมฉับพลันในเขตพื้นที่ชุมชนอำเภอศรีราชา สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนอย่างมหาศาล ประกอบด้วย 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสุรศักดิ์, ตำบลหนองขาม, ตำบลบางพระ และตำบลทุ่งสุขลา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญและเป็นแหล่งชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่มาก จึงควรเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในในพื้นที่ดังกล่าว ให้เกิดเป็นรูปธรรม
ปัญหาดังกล่าวจะต้องแก้ไขแบบบูรณาการ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัด โดยจะต้องระดมหน่วยงานจากหลายๆ หน่วยงานเข้ามาระดมแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ ประกอบด้วย จังหวัด, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, ไฟฟ้า, การประปา, การรถไฟ, ชลประทาน ฯลฯ
นายวิชิต กล่าวว่า ตนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอศรีราชา เป็นแห่งแรก โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการดูแลด้านเทคนิค ซึ่งมี หัวหน้าชลประทานจังหวัดชลบุรี เป็นประธานคณะทำงาน โดยสามารถดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมในทีมงานได้
เช่น ระบบท่อระบายน้ำ มีขนาดเพียงพอหรือไม่ , มีสิ่งใดก่อสร้างกีดขวางทางน้ำบ้าง 2.คณะกรรมการด้านการบุกรุกที่ดิน-ลำรางสาธารณะ โดยมีหน้าหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน และ 3.คณะกรรมการด้านบูรณาการ โดยมีหัวหน้าสำนักงานท้องถิ่น เป็นผู้ดูแล
นายบุญสม ยุติธรรมภิญโญ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำแบะปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานชลบุรี กรมชลประทาน กล่าวถึง ปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่อำเภอศรีราชา ที่ผ่านมา ที่บริเวณหมู่บ้านอัมพรเพลส, หมู่บ้านบูเลอวาร์ด นั้น เนื่องจากมีกลุ่มผู้ประกอบการหรือกลุ่มนายทุน ก่อสร้างหรือบุกรุกลำรางสาธารณะที่ช่วยระบายน้ำฝนที่ตกลงมา ลงสู่ทะเล
แต่ลำลางสาธารณะดังกล่าวถูกถมดินทำให้ลำรางนั้นแคบลงหรือตัน เช่น ห้วยหนองยายบู่ , ห้วยเล็ก, ห้วยบ่อยาง ซึ่งเดิมลำคลองมีความกว้างประมาณ 6 เมตร แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 1-2 เมตร และเมื่อฝนตกลงมาแล้วไม่สามารถระบายได้ จึงไหลท่วมตามแหล่งชุมชนและหมู่บ้าน
นอกจากนั้น บริเวณหน้าอัสสัมชัญศรีราชา, ตลาดฉลอง และบริเวณสำนักงานสรรกรเขต 2 บริเวณโรงแรมซิตตี้ศรีราชา มีน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากลำคลองบุกรุก เกือบหมด และบางจุดกว้างเพียง 1 เมตร จากเดิมที่กว้างประมาณ 10 เมตร โดยไหลผ่านบริเวณกิจการยางผ่านถนนสุขุมวิท ผ่านศรีราชานครเพื่อออกสู่ทะเล แต่ปัจจุบันนี้ ลำคลองดังกล่าวมาตันบริเวณถนนสุขุมวิทและไม่มีเส้นทางไหลของน้ำแล้ว
ด้าน นายอาคม พันธ์เฉลิมชัย นายกเทศมนตรีตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากการบุกรุกที่ดินและลำคลองสาธารณะ ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินได้ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นเจ้าพนักงานที่ดินควรจะต้องสำรวจหรือนำแผนที่ทางอากาศมาตรวจสอบว่าพื้นที่ใดทำการบุกรุก ก็จะต้องดำเนินการเพิกถอนหรือฟ้องร้องกันต่อไป เพราะถือว่าเป็นการกระทำผิดทางกฎหมาย และหากไม่ดำเนินการ ถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะต้องเร่งดำเนินการในเรื่องนี้โดยเร็ว เพราะหากไม่ดำเนินการดังกล่าวก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้อย่างแน่นอน
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่ชุมชนอำเภอศรีราชา แบบบูรณาการ โดยมีนายอำเภอศรีราชา, นายกเทศมนตรีเทศบาลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, นายกเทศมนตรีเทศบาลบางพระ, เทศบาลเมืองศรีราชา, ที่ดินจังหวัดชลบุรี, โยธาธิการจังหวัดชลบุรี, ชลประทานจังหวัดชลบุรี ฯลฯ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างบูรณาการ
นายวิชิต กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ เนื่องจากในช่วงฤดูฝนปี 2553 ที่ผ่านมา เกิดสภาพน้ำท่วมฉับพลันในเขตพื้นที่ชุมชนอำเภอศรีราชา สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนอย่างมหาศาล ประกอบด้วย 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสุรศักดิ์, ตำบลหนองขาม, ตำบลบางพระ และตำบลทุ่งสุขลา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญและเป็นแหล่งชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่มาก จึงควรเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในในพื้นที่ดังกล่าว ให้เกิดเป็นรูปธรรม
ปัญหาดังกล่าวจะต้องแก้ไขแบบบูรณาการ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัด โดยจะต้องระดมหน่วยงานจากหลายๆ หน่วยงานเข้ามาระดมแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ ประกอบด้วย จังหวัด, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, ไฟฟ้า, การประปา, การรถไฟ, ชลประทาน ฯลฯ
นายวิชิต กล่าวว่า ตนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอศรีราชา เป็นแห่งแรก โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการดูแลด้านเทคนิค ซึ่งมี หัวหน้าชลประทานจังหวัดชลบุรี เป็นประธานคณะทำงาน โดยสามารถดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมในทีมงานได้
เช่น ระบบท่อระบายน้ำ มีขนาดเพียงพอหรือไม่ , มีสิ่งใดก่อสร้างกีดขวางทางน้ำบ้าง 2.คณะกรรมการด้านการบุกรุกที่ดิน-ลำรางสาธารณะ โดยมีหน้าหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน และ 3.คณะกรรมการด้านบูรณาการ โดยมีหัวหน้าสำนักงานท้องถิ่น เป็นผู้ดูแล
นายบุญสม ยุติธรรมภิญโญ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำแบะปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานชลบุรี กรมชลประทาน กล่าวถึง ปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่อำเภอศรีราชา ที่ผ่านมา ที่บริเวณหมู่บ้านอัมพรเพลส, หมู่บ้านบูเลอวาร์ด นั้น เนื่องจากมีกลุ่มผู้ประกอบการหรือกลุ่มนายทุน ก่อสร้างหรือบุกรุกลำรางสาธารณะที่ช่วยระบายน้ำฝนที่ตกลงมา ลงสู่ทะเล
แต่ลำลางสาธารณะดังกล่าวถูกถมดินทำให้ลำรางนั้นแคบลงหรือตัน เช่น ห้วยหนองยายบู่ , ห้วยเล็ก, ห้วยบ่อยาง ซึ่งเดิมลำคลองมีความกว้างประมาณ 6 เมตร แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 1-2 เมตร และเมื่อฝนตกลงมาแล้วไม่สามารถระบายได้ จึงไหลท่วมตามแหล่งชุมชนและหมู่บ้าน
นอกจากนั้น บริเวณหน้าอัสสัมชัญศรีราชา, ตลาดฉลอง และบริเวณสำนักงานสรรกรเขต 2 บริเวณโรงแรมซิตตี้ศรีราชา มีน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากลำคลองบุกรุก เกือบหมด และบางจุดกว้างเพียง 1 เมตร จากเดิมที่กว้างประมาณ 10 เมตร โดยไหลผ่านบริเวณกิจการยางผ่านถนนสุขุมวิท ผ่านศรีราชานครเพื่อออกสู่ทะเล แต่ปัจจุบันนี้ ลำคลองดังกล่าวมาตันบริเวณถนนสุขุมวิทและไม่มีเส้นทางไหลของน้ำแล้ว
ด้าน นายอาคม พันธ์เฉลิมชัย นายกเทศมนตรีตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากการบุกรุกที่ดินและลำคลองสาธารณะ ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินได้ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นเจ้าพนักงานที่ดินควรจะต้องสำรวจหรือนำแผนที่ทางอากาศมาตรวจสอบว่าพื้นที่ใดทำการบุกรุก ก็จะต้องดำเนินการเพิกถอนหรือฟ้องร้องกันต่อไป เพราะถือว่าเป็นการกระทำผิดทางกฎหมาย และหากไม่ดำเนินการ ถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะต้องเร่งดำเนินการในเรื่องนี้โดยเร็ว เพราะหากไม่ดำเนินการดังกล่าวก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้อย่างแน่นอน