มหาสารคาม-หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนร่วมถกปัญหาภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างยั่งยืน
ที่ห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม นายสายยนต์ สีหาบัว หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมถกปัญหาการบริหารการจัดการน้ำภายใต้โครงการวาระน้ำภาคประชาชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งของจังหวัดมหาสารคามอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภคเหลือน้อยและอยู่ในขั้นวิกฤต
โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่ง เหลือปริมาณเก็บกักเพียง 52.78 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 64.95 ของความจุอ่าง 78 ล้านลูกบาศก์เมตร ในจำนวนนี้มีถึง 2 อ่าง คืออ่างเก็บน้ำหนองไฮ อำเภอวาปีปทุม และอ่างเก็บน้ำเอกสัตย์สุนทร อำเภอบรบือ มีปริมาณเก็บกัก เหลือปริมาณน้ำเก็บกักไม่ถึง ร้อยละ 10 ของความจุอ่าง
รวมถึงปริมาณน้ำในลำน้ำชีที่น้ำต้นทุนเหลือน้อย น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำในไร่นาเกษตรกรเริ่มแห้งขอด อันเป็นผลมาจากการทำนาปรัง รวมพื้นที่ กว่า 200,000 ไร่ สูงที่สุดในรอบ 20 ปี และสูงจากปีที่แล้ว กว่า 70,000 ไร่
การถกปัญหาครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญ ได้รวมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง พร้อมร่วมทำแผนงาน โครงการที่จะขับเคลื่อนโครงการ โดยยึดหลักให้ประชาชนทุกหมู่บ้านเข้ามีส่วนร่วมรับทราบปัญหาและสถานการณ์น้ำในพื้นที่
ที่ห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม นายสายยนต์ สีหาบัว หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมถกปัญหาการบริหารการจัดการน้ำภายใต้โครงการวาระน้ำภาคประชาชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งของจังหวัดมหาสารคามอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภคเหลือน้อยและอยู่ในขั้นวิกฤต
โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่ง เหลือปริมาณเก็บกักเพียง 52.78 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 64.95 ของความจุอ่าง 78 ล้านลูกบาศก์เมตร ในจำนวนนี้มีถึง 2 อ่าง คืออ่างเก็บน้ำหนองไฮ อำเภอวาปีปทุม และอ่างเก็บน้ำเอกสัตย์สุนทร อำเภอบรบือ มีปริมาณเก็บกัก เหลือปริมาณน้ำเก็บกักไม่ถึง ร้อยละ 10 ของความจุอ่าง
รวมถึงปริมาณน้ำในลำน้ำชีที่น้ำต้นทุนเหลือน้อย น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำในไร่นาเกษตรกรเริ่มแห้งขอด อันเป็นผลมาจากการทำนาปรัง รวมพื้นที่ กว่า 200,000 ไร่ สูงที่สุดในรอบ 20 ปี และสูงจากปีที่แล้ว กว่า 70,000 ไร่
การถกปัญหาครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญ ได้รวมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง พร้อมร่วมทำแผนงาน โครงการที่จะขับเคลื่อนโครงการ โดยยึดหลักให้ประชาชนทุกหมู่บ้านเข้ามีส่วนร่วมรับทราบปัญหาและสถานการณ์น้ำในพื้นที่