พะเยา - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เผยพบผลิตภัณฑ์น้ำแร่วางจำหน่ายในร้านค้า ร้านอาหาร ที่ไม่แสดงชื่อที่อยู่ผู้ผลิตบนฉลาก พร้อมอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อซื้อมาบริโภค เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ
นายฉลอง อัครชิโนเรศ นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านส่งเสริมพัฒนา) ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตรวจพบน้ำแร่ที่เข้าข่ายไม่ได้มาตรฐานวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปแล้ว 1 รายคือ น้ำแร่ยี่ห้อบียอนด์ วอเตอร์ จึงของเตือนให้ผู้บริโภคเลือกซื้อน้ำแร่ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
น้ำแร่ ถือได้ว่าเป็นน้ำที่มีความแตกต่างจากน้ำที่เราบริโภคโดยทั่วไป โดยในน้ำแร่จะประกอบด้วยแร่ธาตุ แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ และซัลเฟต ซึ่งคุณสมบัตินี้เองทำให้น้ำแร่อาจไม่เหมาะกับผู้บริโภคบางราย เนื่องจากสภาพที่เป็นกรดหรือด่างสูง การดื่มบ่อยครั้งจะทำให้เสียสมดุลความเป็นกรดเป็นด่างของร่างกาย รวมทั้งปริมาณโซเดียมคลอไรด์ ที่สูงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนจำนวนมากได้หาซื้อมาดื่มกัน เนื่องจากเชื่อว่าการดื่มน้ำแร่จะช่วยให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางโภชนาการจากแร่ธาตุต่างๆในน้ำดื่ม รวมทั้งจะช่วยบำบัดโรคบางชนิดด้วย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ยังไม่ได้มีการวิจัยที่ให้ผลยืนยันอย่างแน่ชัด
จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำแร่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เคยรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแร่ที่มีจำหน่าย 8 ชนิด จำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า เป็นน้ำแร่ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 4 ตัวอย่าง ส่วนอีก 6 ชนิด จำนวน 9 ตัวอย่าง (ร้อยละ 69) มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากพบการปนเปื้อนของโลหะหนักที่เป็นอันตราย ได้แก่ แคดเมียม โครเมียม และตะกั่ว เกินค่ามาตรฐานที่ยอมให้มีได้ นอกจากนี้ยังพบสารปนเปื้อนอื่นๆ เช่น ผงซักฟอก ไนโตรต์ รวมทั้งพบปริมาณแบคทีเรียเกินกว่ามาตรฐานเช่นกัน
ทั้งนี้ผู้บริโภคจึงควรเลือกซื้อน้ำแร่บรรจุขวดที่มีฉลากครบถ้วน และไม่แสดงข้อความใดที่แสดงถึงการรักษาโรค หากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารรายใดไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท รวมทั้งหากตรวจพบเชื้อที่ทำให้เกิดโรคจะมีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นายฉลอง อัครชิโนเรศ นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านส่งเสริมพัฒนา) ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตรวจพบน้ำแร่ที่เข้าข่ายไม่ได้มาตรฐานวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปแล้ว 1 รายคือ น้ำแร่ยี่ห้อบียอนด์ วอเตอร์ จึงของเตือนให้ผู้บริโภคเลือกซื้อน้ำแร่ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
น้ำแร่ ถือได้ว่าเป็นน้ำที่มีความแตกต่างจากน้ำที่เราบริโภคโดยทั่วไป โดยในน้ำแร่จะประกอบด้วยแร่ธาตุ แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ และซัลเฟต ซึ่งคุณสมบัตินี้เองทำให้น้ำแร่อาจไม่เหมาะกับผู้บริโภคบางราย เนื่องจากสภาพที่เป็นกรดหรือด่างสูง การดื่มบ่อยครั้งจะทำให้เสียสมดุลความเป็นกรดเป็นด่างของร่างกาย รวมทั้งปริมาณโซเดียมคลอไรด์ ที่สูงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนจำนวนมากได้หาซื้อมาดื่มกัน เนื่องจากเชื่อว่าการดื่มน้ำแร่จะช่วยให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางโภชนาการจากแร่ธาตุต่างๆในน้ำดื่ม รวมทั้งจะช่วยบำบัดโรคบางชนิดด้วย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ยังไม่ได้มีการวิจัยที่ให้ผลยืนยันอย่างแน่ชัด
จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำแร่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เคยรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแร่ที่มีจำหน่าย 8 ชนิด จำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า เป็นน้ำแร่ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 4 ตัวอย่าง ส่วนอีก 6 ชนิด จำนวน 9 ตัวอย่าง (ร้อยละ 69) มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากพบการปนเปื้อนของโลหะหนักที่เป็นอันตราย ได้แก่ แคดเมียม โครเมียม และตะกั่ว เกินค่ามาตรฐานที่ยอมให้มีได้ นอกจากนี้ยังพบสารปนเปื้อนอื่นๆ เช่น ผงซักฟอก ไนโตรต์ รวมทั้งพบปริมาณแบคทีเรียเกินกว่ามาตรฐานเช่นกัน
ทั้งนี้ผู้บริโภคจึงควรเลือกซื้อน้ำแร่บรรจุขวดที่มีฉลากครบถ้วน และไม่แสดงข้อความใดที่แสดงถึงการรักษาโรค หากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารรายใดไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท รวมทั้งหากตรวจพบเชื้อที่ทำให้เกิดโรคจะมีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ