ตาก - เจ้าหน้าที่เตรียมผลักดัน ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง 30 ครอบครัว กลับประเทศ ที่ชายแดนไทย-พม่าด้านตรงข้าม อ.ท่าสองยาง – ผบ.สส. KNU วอน ไทยดูแล หวั่นถูกพม่ากดขี่ข่มเหง
พ.อ.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอด ที่ดูแลงานด้านความมั่นคงชายแดนไทย-พม่า 5 อำเภอชายแดนของจังหวัดตาก ( แม่สอด-พบพระ-ท่าสองยาง-แม่ระมาดและ อุ้มผาง กล่าวว่า ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ จะมีการผลักดันผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า จำนวน 30 ครอบครัว เดินทางกลับถิ่นฐานที่อยู่บ้านเมืองของตัวเองในประเทศพม่า ภายหลังได้อพยพหนีภัยสงครามมาฝั่งไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้สถานการณ์การสู้รบได้สงบลงแล้ว และผ้อพยพยินยอมพร้อมใจและสมัครใจที่จะเดินทางกลับด้วยตัวเอง โดยไม่มีการบีบบังคับ
“ในช่วงที่เกิดการสู้รบนั้น บ้านเรือนของผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงที่อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาฝั่งนั้นในครั้งนั้นส่วนใหญ่ถูกเผาทำลาย ทำให้ในช่วงนั้น ไม่มีที่อยู่อาศัยจนต้องมาอยู่ฝั่งไทยชั่วคราว และเมื่อเหตุการณ์สงบ และแกนนำผู้อพยพได้ไปซ่อมแซมและสร้างที่พักใหม่เมื่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีความสมัครใจที่จะเดินทางกลับหมู่บ้านของตัวเอง ประกอบกับต้องการเข้าไปประกอบอาชีพ ทำไร่-นา และการเกษตร
โดยขณะนี้มีผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงที่หลงเหลืออยู่ในช่วงที่อพยพเข้ามาเมื่อปีที่แล้วจากเดิมกว่า 3,000-4,000 คน ได้ค่อยๆทยอยเดินทางกลับ และขณะนี้เหลือเพียง ที่บ้านหนองบัวประมาณ 900 ราย และท่บ้านแม่อุสุส่วนหนึ่ง โดยคาดว่าจะสมัครใจกลับถิ่นฐานบ้านเกิดเรื่อยๆ เมื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่และมีที่ทำกิน” ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอด กล่าว
ด้าน พล.อ.มูตู ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU กล่าว ณ.ฐานที่มั่นแห่งหนึ่งตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่า อยากจะขอให้ไทยและนานาชาติได้ดูแลผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงซึ่งที่ผ่านมาต้องขอขอบคุณ ที่ได้ดูแลเป็นอย่างดีมาโดยตลอด เพราะผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยที่น่าสงสาร เพราะถูกพม่ารุกรานกดขี่ข่มเหงตลอดมา
“การเดินทางกลับของผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง นั้น ขอให้เป็นไปตามความสมัครใจของพวกเค้า แต่ที่ผ่านมาทางไทยก็ดูแลอย่างดี และได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ดีมาก” ผบ.สส. KNU กล่าว
นอกจากนี้พล.อ.มูตู ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU กล่าว ณ.ฐานที่มั่นแห่งหนึ่งด้านชายแดนไทย-พม่า ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่าตามที่รัฐบาลทหารพม่า SPDC ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่และเตรียมจัดการเลือกตั้งในปี 2553 นั้น จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับประเทศพม่าได้ อีกทั้งยังจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าต่อไป โดยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่านั้นประชาชนแทบจะไม่ได้ประโยชน์เลย
แต่ในทางตรงข้ามผู้นำในรัฐบาลและผู้นำทหารจะได้ประโยชน์มากกว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้นั้นเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่ม SPDC รวมทั้งทหารในกองทัพ และหากมีการเลือกตั้งกลุ่มขั้วอำนาจเดิมจะกลับเข้ามาเพิ่มมากขึ้นอีก โดยกองทัพ กะเหรี่ยง KNU จะไม่ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการเลือกตั้ง ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความแน่นอนหรือความชัดเจนที่รัฐบาล SPDC จะจัดการเลือกตั้งได้เมื่อไร
“ผมในฐานะผู้นำทางกองกำลังของกองทัพกะเหรี่ยง KNU จะยังคงยืนหยัดต่อสู้กับรัฐบาล SPDC โดยปัจจุบันเรามีกองกำลังทหารมากกว่า 6,000-7,000 นาย พร้อมอาวุธที่จะต่อสู้กับพม่า แต่ด้วยกำลังและอาวุธที่น้อยกว่า กองทัพ KNU เราจึงต้องใช้ยุทธวิธีการรบตามแบบฉบับของจรยุทธ โดยผมมีหน้าที่รับผิดชอบกองกำลังทั้งหมด ตั้งแต่ชายแดนไทย-พม่า ด้านตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตากไปจนถึงทางด้าน กาญจนบุรี ด้วยทหารกะเหรี่ยงที่พร้อมรบและการประกาศอิสรภาพและการปกครองตนเองภายใต้กฎหมายแห่งรัฐกะเหรี่ยง” ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพ KNU กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า สถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย KNU ตามแนวชายแดนไทย-พม่า จะลดน้อยลง โดย KNU จะหันไปใช้พื้นที่ชั้นในในการสู้รบต่อสู้กับพม่า เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ชายแดนกับฝั่งไทย โดยมีการตั้งฐานบัญชาการในเขตเมืองผาปูน โดยกองทัพ KNU มี พล.อ. มูตู ควบคุมกองกำลัง แบ่งออก เป็น 7 กองพล และมี นายพลตามาราบอ เป็นประธานาธิบดีผู้นำสูงสุด ดูแลการเมือง-การทูต
พ.อ.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอด ที่ดูแลงานด้านความมั่นคงชายแดนไทย-พม่า 5 อำเภอชายแดนของจังหวัดตาก ( แม่สอด-พบพระ-ท่าสองยาง-แม่ระมาดและ อุ้มผาง กล่าวว่า ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ จะมีการผลักดันผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า จำนวน 30 ครอบครัว เดินทางกลับถิ่นฐานที่อยู่บ้านเมืองของตัวเองในประเทศพม่า ภายหลังได้อพยพหนีภัยสงครามมาฝั่งไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้สถานการณ์การสู้รบได้สงบลงแล้ว และผ้อพยพยินยอมพร้อมใจและสมัครใจที่จะเดินทางกลับด้วยตัวเอง โดยไม่มีการบีบบังคับ
“ในช่วงที่เกิดการสู้รบนั้น บ้านเรือนของผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงที่อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาฝั่งนั้นในครั้งนั้นส่วนใหญ่ถูกเผาทำลาย ทำให้ในช่วงนั้น ไม่มีที่อยู่อาศัยจนต้องมาอยู่ฝั่งไทยชั่วคราว และเมื่อเหตุการณ์สงบ และแกนนำผู้อพยพได้ไปซ่อมแซมและสร้างที่พักใหม่เมื่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีความสมัครใจที่จะเดินทางกลับหมู่บ้านของตัวเอง ประกอบกับต้องการเข้าไปประกอบอาชีพ ทำไร่-นา และการเกษตร
โดยขณะนี้มีผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงที่หลงเหลืออยู่ในช่วงที่อพยพเข้ามาเมื่อปีที่แล้วจากเดิมกว่า 3,000-4,000 คน ได้ค่อยๆทยอยเดินทางกลับ และขณะนี้เหลือเพียง ที่บ้านหนองบัวประมาณ 900 ราย และท่บ้านแม่อุสุส่วนหนึ่ง โดยคาดว่าจะสมัครใจกลับถิ่นฐานบ้านเกิดเรื่อยๆ เมื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่และมีที่ทำกิน” ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอด กล่าว
ด้าน พล.อ.มูตู ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU กล่าว ณ.ฐานที่มั่นแห่งหนึ่งตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่า อยากจะขอให้ไทยและนานาชาติได้ดูแลผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงซึ่งที่ผ่านมาต้องขอขอบคุณ ที่ได้ดูแลเป็นอย่างดีมาโดยตลอด เพราะผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยที่น่าสงสาร เพราะถูกพม่ารุกรานกดขี่ข่มเหงตลอดมา
“การเดินทางกลับของผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง นั้น ขอให้เป็นไปตามความสมัครใจของพวกเค้า แต่ที่ผ่านมาทางไทยก็ดูแลอย่างดี และได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ดีมาก” ผบ.สส. KNU กล่าว
นอกจากนี้พล.อ.มูตู ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ KNU กล่าว ณ.ฐานที่มั่นแห่งหนึ่งด้านชายแดนไทย-พม่า ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่าตามที่รัฐบาลทหารพม่า SPDC ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่และเตรียมจัดการเลือกตั้งในปี 2553 นั้น จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับประเทศพม่าได้ อีกทั้งยังจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าต่อไป โดยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่านั้นประชาชนแทบจะไม่ได้ประโยชน์เลย
แต่ในทางตรงข้ามผู้นำในรัฐบาลและผู้นำทหารจะได้ประโยชน์มากกว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้นั้นเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่ม SPDC รวมทั้งทหารในกองทัพ และหากมีการเลือกตั้งกลุ่มขั้วอำนาจเดิมจะกลับเข้ามาเพิ่มมากขึ้นอีก โดยกองทัพ กะเหรี่ยง KNU จะไม่ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการเลือกตั้ง ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความแน่นอนหรือความชัดเจนที่รัฐบาล SPDC จะจัดการเลือกตั้งได้เมื่อไร
“ผมในฐานะผู้นำทางกองกำลังของกองทัพกะเหรี่ยง KNU จะยังคงยืนหยัดต่อสู้กับรัฐบาล SPDC โดยปัจจุบันเรามีกองกำลังทหารมากกว่า 6,000-7,000 นาย พร้อมอาวุธที่จะต่อสู้กับพม่า แต่ด้วยกำลังและอาวุธที่น้อยกว่า กองทัพ KNU เราจึงต้องใช้ยุทธวิธีการรบตามแบบฉบับของจรยุทธ โดยผมมีหน้าที่รับผิดชอบกองกำลังทั้งหมด ตั้งแต่ชายแดนไทย-พม่า ด้านตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตากไปจนถึงทางด้าน กาญจนบุรี ด้วยทหารกะเหรี่ยงที่พร้อมรบและการประกาศอิสรภาพและการปกครองตนเองภายใต้กฎหมายแห่งรัฐกะเหรี่ยง” ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพ KNU กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า สถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย KNU ตามแนวชายแดนไทย-พม่า จะลดน้อยลง โดย KNU จะหันไปใช้พื้นที่ชั้นในในการสู้รบต่อสู้กับพม่า เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ชายแดนกับฝั่งไทย โดยมีการตั้งฐานบัญชาการในเขตเมืองผาปูน โดยกองทัพ KNU มี พล.อ. มูตู ควบคุมกองกำลัง แบ่งออก เป็น 7 กองพล และมี นายพลตามาราบอ เป็นประธานาธิบดีผู้นำสูงสุด ดูแลการเมือง-การทูต