ตาก- ญี่ปุ่นเปิดรับผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยงสัญชาติพม่าปีละ 30 คน เริ่มคัดเลือกเดือน ก.พ. 53
เจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งทำงาน ด้านชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จังหวัดตาก ระบุว่า ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 นี้ ทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการพิจารณาคัดเลือกผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ณ พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง โดยทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะคัดกรองผู้ลี้ภัยปีละ 30 คน
นายฉลองชัย อร่ามรุ่งโรจน์ ปลัดอำเภอท่าสองยาง ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ กล่าวว่า การที่ประเทศญี่ปุ่นรับผู้ลี้ภัยไปดูแล นับเป็นประเทศแรกของเอเชีย ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูข้อมูล และคัดกรองก่อน จำนวน 62 ครอบครัว
สำหรับพื้นที่พักพิงชั่งคราวบ้านแม่หละ มีผู้ลี้ภัยจำนวน 32,495 คน แต่ที่จดทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยกับยูเอ็นเอชซีอาร์. โดยผ่านมติของคณะกรรมการของอำเภอ กับ จังหวัดแล้ว จำนวน 3,750 ครอบครัว หรือ จำนวน 20,821 คน และแยกเป็นกลุ่มผู้พลัดถิ่น จำนวน 11,674 คน อย่างไรก็ดีมีการส่งผู้ลี้ภัยจากการสู้รบไปยังประเทศที่ 3 หรือ ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้ จำนวนกว่า 10,000 คนแล้ว
เจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งทำงาน ด้านชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จังหวัดตาก ระบุว่า ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 นี้ ทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการพิจารณาคัดเลือกผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ณ พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง โดยทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะคัดกรองผู้ลี้ภัยปีละ 30 คน
นายฉลองชัย อร่ามรุ่งโรจน์ ปลัดอำเภอท่าสองยาง ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ กล่าวว่า การที่ประเทศญี่ปุ่นรับผู้ลี้ภัยไปดูแล นับเป็นประเทศแรกของเอเชีย ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูข้อมูล และคัดกรองก่อน จำนวน 62 ครอบครัว
สำหรับพื้นที่พักพิงชั่งคราวบ้านแม่หละ มีผู้ลี้ภัยจำนวน 32,495 คน แต่ที่จดทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยกับยูเอ็นเอชซีอาร์. โดยผ่านมติของคณะกรรมการของอำเภอ กับ จังหวัดแล้ว จำนวน 3,750 ครอบครัว หรือ จำนวน 20,821 คน และแยกเป็นกลุ่มผู้พลัดถิ่น จำนวน 11,674 คน อย่างไรก็ดีมีการส่งผู้ลี้ภัยจากการสู้รบไปยังประเทศที่ 3 หรือ ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้ จำนวนกว่า 10,000 คนแล้ว