ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – สนง.กิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จัดประชุมสมัชชาสตรีภาคเหนือ 17 จังหวัด ประจำปี 2553 ระดมความคิดเห็นและรับฟังประเด็นปัญหา ด้านสตรีเพื่อรวบรวมประมวลนำเสนอในการประชุมระดับชาติ และยื่นเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายถึงนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันสตรีสากล
วันนี้ (20 ม.ค.) นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานประชุมสมัชชาสตรีภาคเหนือประจำปี 2553 โดยมีผู้นำชุมชน องค์กรสตรี อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครยุติธรรมชุมชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล และเยาวชนจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ เป็นตัวแทนเข้าร่วมจังหวัดละ 16 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่
รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติพ.ศ.2551 ที่กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัด และระดับชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สำหรับเป้าหมายการประชุมในปี 2553 จะเป็นการประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จของการดำเนินงานการรองรับปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง ตามประเด็นห่วงใย 12 ประเด็น และ 7 ประเด็นเพิ่มเติมของจังหวัด เพื่อประมวลเป็นผลสำเร็จของประเทศ และเพื่อรวบรวมปัญหาด้านสตรีของแต่ละจังหวัด ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และเป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ เพื่อประมวลเป็นข้อเสนอในการประชุมสมัชาสตรีแห่งชาติ และเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อนายกรัฐมนตรีในงานวันสตรีสากล ประจำปี 2553 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงนโยบาย ยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานต่อไป
“การแก้ไขปัญหาด้านสตรีนั้น นอกจากการร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาแล้ว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีความพร้อมที่จะรับมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย ซึ่งการประชุมสมัชชาสตรีในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งท่จะรับฟังปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นต่อสตรีในแต่ละจังหวัด เพื่อจะประมวลเป็นปัญหาในระดับภาคและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป” นางระรินทิพย์ กล่าว
สำหรับประเด็นปัญหาที่มีการเสนอสู่การประชุม สมัชชาสตรีภาคเหนือ 12 ประเด็น ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในฐานะตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในระดับการตัดสินใจ ความยากจนและเศรษฐกิจ ปัญหาการไม่ยอมรับบทบาทและสิทธิของสตรีในสังคม การถูกกดขี่ทางเพศและความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก เจตคติของสังคม ปัญหาสาววัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตามวัยอันควร ปัญหาสุขภาพอนามัยและการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ปัญหาความเข้มแข็งของสตรีและเครือข่ายในทุกระดับ ปัญหาเด็กผู้หญิง ปัญหายาเสพติด และปัญหาด้านการศึกษา
วันนี้ (20 ม.ค.) นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานประชุมสมัชชาสตรีภาคเหนือประจำปี 2553 โดยมีผู้นำชุมชน องค์กรสตรี อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครยุติธรรมชุมชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล และเยาวชนจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ เป็นตัวแทนเข้าร่วมจังหวัดละ 16 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่
รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติพ.ศ.2551 ที่กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัด และระดับชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สำหรับเป้าหมายการประชุมในปี 2553 จะเป็นการประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จของการดำเนินงานการรองรับปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง ตามประเด็นห่วงใย 12 ประเด็น และ 7 ประเด็นเพิ่มเติมของจังหวัด เพื่อประมวลเป็นผลสำเร็จของประเทศ และเพื่อรวบรวมปัญหาด้านสตรีของแต่ละจังหวัด ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และเป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ เพื่อประมวลเป็นข้อเสนอในการประชุมสมัชาสตรีแห่งชาติ และเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อนายกรัฐมนตรีในงานวันสตรีสากล ประจำปี 2553 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงนโยบาย ยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานต่อไป
“การแก้ไขปัญหาด้านสตรีนั้น นอกจากการร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาแล้ว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีความพร้อมที่จะรับมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย ซึ่งการประชุมสมัชชาสตรีในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งท่จะรับฟังปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นต่อสตรีในแต่ละจังหวัด เพื่อจะประมวลเป็นปัญหาในระดับภาคและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป” นางระรินทิพย์ กล่าว
สำหรับประเด็นปัญหาที่มีการเสนอสู่การประชุม สมัชชาสตรีภาคเหนือ 12 ประเด็น ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในฐานะตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในระดับการตัดสินใจ ความยากจนและเศรษฐกิจ ปัญหาการไม่ยอมรับบทบาทและสิทธิของสตรีในสังคม การถูกกดขี่ทางเพศและความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก เจตคติของสังคม ปัญหาสาววัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตามวัยอันควร ปัญหาสุขภาพอนามัยและการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ปัญหาความเข้มแข็งของสตรีและเครือข่ายในทุกระดับ ปัญหาเด็กผู้หญิง ปัญหายาเสพติด และปัญหาด้านการศึกษา