พะเยา - ชาวนาภูซางโวยขอเงินชดเชยกลับได้ปัจจัยการผลิตที่ไม่เหมาะสมกับฤดูกาล เผยเกษตรฯอ้างเป็นมติ กก.จังหวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เกษตรกรชาวนาในหลายพื้นที่ของ อ.ภูซาง จ.พะเยา ประสบปัญหาโรคข้าวไหม้คอรวง เมื่อฤดูแล้งที่ผ่านมา ทางสำนักงานเกษตร อ.ภูซาง ได้ส่งเจ้าหน้าที่เกษตรกรตำบล ลงสำรวจความเสียหายตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2552 เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเป็นสองแนวทาง คือ 1.การชดเชยด้วยปัจจัยการผลิต คือ ปุ๋ย สารเคมี และเมล็ดพันธุ์ข้าว และ 2.เงินสด
นางสุภัคสร วรรณปลูก ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ตนได้ประชุมทำประชาคมหมู่บ้านแล้ว มติของประชาชนในหมู่บ้านต้องการขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นเงินสด ซึ่งตนได้ติดตามข้อมูลจากต่างอำเภอทราบว่าราชการจะจ่ายชดเชยช่วยเหลือให้ในอัตราไร่ละ 606 บาท ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ที่สำรวจให้เกษตรกรแนบหลักฐานส่งทางอำเภอ ซึ่งในหลักฐานดังกล่าวมีเอกสารถ่ายสำเนาของหมายเลขบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แนบไปพร้อมในรายที่ต้องการได้รับเป็นเงินสด
แต่เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2553 ที่ผ่านมาตนได้เข้าไปติดต่อกับทางสำนักงานเกษตร อ.ภูซาง อีกครั้ง เพื่อนำเอกสารหลักฐานของเกษตรกรในหมู่บ้าน ซึ่งยืนยันขอรับเป็นเงินสด ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่เกษตรรายหนึ่งแจ้งว่าเป็นนโยบายของคณะกรรมการระดับจังหวัดให้ช่วยเหลือเป็นปัจจัยการผลิตทั้งหมด ในฐานะของเกษตรกรทำนาและผู้ที่ต้องการการชดเชยเป็นเงินสด ถึงแม้ว่าเงินจำนวนจะน้อยกว่ามูลค่าของปัจจัยการผลิตถึง 5 เท่า แต่เกษตรกรก็ยินดีที่จะขอรับเป็นเงินสด เพราะเงินสดสามารถนำไปจัดหาปัจจัยการผลิตได้ตามที่เกษตรกรต้องการ ซึ่งต่างจากปัจจัยการผลิตที่ราชการจัดหามาให้
นางสุภัคสรย้ำว่า ปัจจัยการผลิตที่ราชการจัดหามาให้ นอกจากไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกรแล้วยังมีราคาแพงทำให้สูญงบประมาณของรัฐอย่างมหาศาล จัดให้ไม่ตรงตามฤดูกาล ไม่เกิดประโยชน์ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว หรือสารเคมี หากทิ้งไว้นานคุณภาพจะเสื่อม เมล็ดพันธุ์ข้าวบางครั้งไปซื้อเหมามาให้นานไปเกือบปีกว่าเกษตรกรจะได้นำไปปลูกก็เสื่อมคุณภาพ
แต่หากเป็นเงินถึงมีจำนวนน้อยแต่ประหยัดงบประมาณของแผ่นดิน และใช้ประโยชน์ตามความต้องการของเกษตรกรด้วย ตรงนี้จึงขอฝากถึงผู้ใหญ่ในจังหวัดรับพิจารณาความต้องการของเกษตรกรด้วย ไม่ควรบังคับให้รับในสิ่งที่ไม่ต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เกษตรกรชาวนาในหลายพื้นที่ของ อ.ภูซาง จ.พะเยา ประสบปัญหาโรคข้าวไหม้คอรวง เมื่อฤดูแล้งที่ผ่านมา ทางสำนักงานเกษตร อ.ภูซาง ได้ส่งเจ้าหน้าที่เกษตรกรตำบล ลงสำรวจความเสียหายตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2552 เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเป็นสองแนวทาง คือ 1.การชดเชยด้วยปัจจัยการผลิต คือ ปุ๋ย สารเคมี และเมล็ดพันธุ์ข้าว และ 2.เงินสด
นางสุภัคสร วรรณปลูก ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ตนได้ประชุมทำประชาคมหมู่บ้านแล้ว มติของประชาชนในหมู่บ้านต้องการขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นเงินสด ซึ่งตนได้ติดตามข้อมูลจากต่างอำเภอทราบว่าราชการจะจ่ายชดเชยช่วยเหลือให้ในอัตราไร่ละ 606 บาท ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ที่สำรวจให้เกษตรกรแนบหลักฐานส่งทางอำเภอ ซึ่งในหลักฐานดังกล่าวมีเอกสารถ่ายสำเนาของหมายเลขบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แนบไปพร้อมในรายที่ต้องการได้รับเป็นเงินสด
แต่เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2553 ที่ผ่านมาตนได้เข้าไปติดต่อกับทางสำนักงานเกษตร อ.ภูซาง อีกครั้ง เพื่อนำเอกสารหลักฐานของเกษตรกรในหมู่บ้าน ซึ่งยืนยันขอรับเป็นเงินสด ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่เกษตรรายหนึ่งแจ้งว่าเป็นนโยบายของคณะกรรมการระดับจังหวัดให้ช่วยเหลือเป็นปัจจัยการผลิตทั้งหมด ในฐานะของเกษตรกรทำนาและผู้ที่ต้องการการชดเชยเป็นเงินสด ถึงแม้ว่าเงินจำนวนจะน้อยกว่ามูลค่าของปัจจัยการผลิตถึง 5 เท่า แต่เกษตรกรก็ยินดีที่จะขอรับเป็นเงินสด เพราะเงินสดสามารถนำไปจัดหาปัจจัยการผลิตได้ตามที่เกษตรกรต้องการ ซึ่งต่างจากปัจจัยการผลิตที่ราชการจัดหามาให้
นางสุภัคสรย้ำว่า ปัจจัยการผลิตที่ราชการจัดหามาให้ นอกจากไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกรแล้วยังมีราคาแพงทำให้สูญงบประมาณของรัฐอย่างมหาศาล จัดให้ไม่ตรงตามฤดูกาล ไม่เกิดประโยชน์ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว หรือสารเคมี หากทิ้งไว้นานคุณภาพจะเสื่อม เมล็ดพันธุ์ข้าวบางครั้งไปซื้อเหมามาให้นานไปเกือบปีกว่าเกษตรกรจะได้นำไปปลูกก็เสื่อมคุณภาพ
แต่หากเป็นเงินถึงมีจำนวนน้อยแต่ประหยัดงบประมาณของแผ่นดิน และใช้ประโยชน์ตามความต้องการของเกษตรกรด้วย ตรงนี้จึงขอฝากถึงผู้ใหญ่ในจังหวัดรับพิจารณาความต้องการของเกษตรกรด้วย ไม่ควรบังคับให้รับในสิ่งที่ไม่ต้องการ