มหาสารคาม - โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง สร้างเครือข่ายตำบลต้นแบบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ทารกแรกเกิดได้รับสารอาหารครบถ้วนจากแม่สู่ลูก
ที่โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล อ.เมือง จ.มหาสารคาม นายสังคม อัตถากร นายอำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการตำบลต้นแบบสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพิธีลงนามพันธะสัญญาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่สมาชิกและแม่ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน จาก14 หมู่บ้าน ในเขตตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม ตำบลเกิ้งถือเป็นตำบลต้นแบบสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของจังหวัดมหาสารคาม
ทั้งนี้ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่าของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนเติบใหญ่ซึ่งไม่มีอาหารชนิดใดที่มีคุณค่าเทียบเท่า โรงพยาบาลมหาสารคามเป็นโรงพยาบาลที่ตระหนักในคุณค่านี้ จึงได้จัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่หลังคลอดเมื่อลูกอายุครบ 1 เดือน รวมถึงการเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาสาสมัครนมแม่
โดยคัดเลือกตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นตำบลนำร่อง เพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน ภายใต้การสนับสนุน การดำเนินงานและงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และเกิดทัศนคติการยอมรับและเห็นคุณค่าของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคมสืบเนื่องต่อไป
ที่โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล อ.เมือง จ.มหาสารคาม นายสังคม อัตถากร นายอำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการตำบลต้นแบบสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพิธีลงนามพันธะสัญญาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่สมาชิกและแม่ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน จาก14 หมู่บ้าน ในเขตตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม ตำบลเกิ้งถือเป็นตำบลต้นแบบสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของจังหวัดมหาสารคาม
ทั้งนี้ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่าของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนเติบใหญ่ซึ่งไม่มีอาหารชนิดใดที่มีคุณค่าเทียบเท่า โรงพยาบาลมหาสารคามเป็นโรงพยาบาลที่ตระหนักในคุณค่านี้ จึงได้จัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่หลังคลอดเมื่อลูกอายุครบ 1 เดือน รวมถึงการเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาสาสมัครนมแม่
โดยคัดเลือกตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นตำบลนำร่อง เพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน ภายใต้การสนับสนุน การดำเนินงานและงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และเกิดทัศนคติการยอมรับและเห็นคุณค่าของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคมสืบเนื่องต่อไป