ตราด - จังหวัดตราดร่วมประชุมกระทรวงมหาดไทย ผ่าน ระบบ Video Conference เพื่อรับมอบ นโยบาย และการเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย จากพายุ “กิสนา”
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ห้องประชุมตราดสีทอง ศาลากลางจังหวัดตราด นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดร่วมประชุมกระทรวงมหาดไทยผ่านทางระบบ Video Conference โดยมีสำนักงานป้องกันและบรรเทาสธารณภัยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
นายชวรัตน์ ชาญวีกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยดังนี้
1.ให้ผู้ว่าฯกำกับดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์ป้องกันเฉพาะกิจ โดยแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ 1 คน เป็นผู้ช่วยเพื่อดูแลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งแจ้งไปยังอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เจ้าหน้าที่ติดตามการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาและเจ้าหน้าที่ชลประทานตลอด 24 ชั่วโมง
ส่วนในระดับหมู่บ้านให้จัดเตรียมกำลังคน เครื่องสูบน้ำ และเครื่องบรรเทาสาธารณภัยให้พร้อม รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เคลื่อนที่เร็ว ให้ประสานกับ อพปร.และหน่วยโอทอส เข้าร่วมปฏิบัติงาน
2.หากเกิดสถานการณ์อุทกภัยและวาตภัยให้ติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
3.ให้เยี่ยมเยียนพื้นที่ที่ประสบภัยพร้อมทั้งจัดหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่เข้าดูแลเรื่องเครื่องดื่ม เครื่องอุปโภคและบริโภค
4.ภายหลังจากน้ำลดแล้วให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายด้านการเกษตรและการคมนาคม พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือ
5.เร่งซ่อมแซมบริเวณที่สาธารณประโยชน์ให้กลับคืนสภาพเดิม และขอให้ผู้ว่าฯภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกกำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด หากเกิดเหตุรุนแรงให้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ป้องกันฯ เขตและให้รายงานทางกระทรวงมหาดไทยทราบ พร้อมทั้งช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเฝ้าระวังเหตุการณ์ และเตรียมพร้อมความช่วยเหลือ
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ห้องประชุมตราดสีทอง ศาลากลางจังหวัดตราด นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดร่วมประชุมกระทรวงมหาดไทยผ่านทางระบบ Video Conference โดยมีสำนักงานป้องกันและบรรเทาสธารณภัยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
นายชวรัตน์ ชาญวีกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยดังนี้
1.ให้ผู้ว่าฯกำกับดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์ป้องกันเฉพาะกิจ โดยแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ 1 คน เป็นผู้ช่วยเพื่อดูแลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งแจ้งไปยังอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เจ้าหน้าที่ติดตามการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาและเจ้าหน้าที่ชลประทานตลอด 24 ชั่วโมง
ส่วนในระดับหมู่บ้านให้จัดเตรียมกำลังคน เครื่องสูบน้ำ และเครื่องบรรเทาสาธารณภัยให้พร้อม รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เคลื่อนที่เร็ว ให้ประสานกับ อพปร.และหน่วยโอทอส เข้าร่วมปฏิบัติงาน
2.หากเกิดสถานการณ์อุทกภัยและวาตภัยให้ติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
3.ให้เยี่ยมเยียนพื้นที่ที่ประสบภัยพร้อมทั้งจัดหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่เข้าดูแลเรื่องเครื่องดื่ม เครื่องอุปโภคและบริโภค
4.ภายหลังจากน้ำลดแล้วให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายด้านการเกษตรและการคมนาคม พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือ
5.เร่งซ่อมแซมบริเวณที่สาธารณประโยชน์ให้กลับคืนสภาพเดิม และขอให้ผู้ว่าฯภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกกำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด หากเกิดเหตุรุนแรงให้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ป้องกันฯ เขตและให้รายงานทางกระทรวงมหาดไทยทราบ พร้อมทั้งช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเฝ้าระวังเหตุการณ์ และเตรียมพร้อมความช่วยเหลือ