บุรีรัมย์ – กองทุนหมู่บ้านและชุมนุมเมืองละ 1 ล้านบุรีรัมย์ มรดกบาปประชานิยมยุค“แม้ว” ครองเมือง พ่นพิษล้มเหลวอื้อ แฉโกงกันวุ่นทั้งสมาชิกเบี้ยวไม่ส่งคืนเงินกู้ - เหรัญญิก-กรรมการกองทุนฯ เชิดเงินไม่นำเข้าบัญชีธนาคาร บางแห่หอบเงินหนีเข้าถลุงในบ่อนชายแดนเขมร ชาวบ้านต้องแบกรับภาระหนี้อาน แห่แจ้งความดำเนินคดี อีกทั้งกองทุนฯหลายแห่งเจ๊งไม่มีเงินหมุนเวียนให้สมาชิกกู้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาทใน จ.บุรีรัมย์ ซึ่งนโยบายประชานิยมที่ดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้นขณะนี้พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เฉพาะในส่วนของชุมชนเมือง ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ทั้ง 17 ชุมชน ที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท หลายชุมชนบริหารจัดการเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทล้มเหลว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกองทุนชุมชนละ 1 ล้านบาทในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์รายหนึ่ง เปิดเผยว่า การบริหารเงินกองทุนชุมชนเมืองละ 1 ล้านบาท นั้นแต่ละกองทุนฯ จะปล่อยกู้ให้ประชาชนสมาชิกฯ นำเงินไปลงทุนประกอบอาชีพเฉลี่ย รายละ 20,000-30,000 บาท ทั้งเพื่อค้าขาย เปิดกิจการของตัวเองเล็กๆน้อยๆ โดยจับกลุ่มละ 3 คน ค้ำประกันกันเอง คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท/เดือน ซึ่งทุกเดือนสมาชิกที่กู้เงินไปจะต้องส่งเงินคืนแก่เหรัญญิก ของกองทุนฯ ทุกเดือน เพื่อนำเงินเข้าบัญชีธนาคารของกองทุนฯ
อย่างไรก็ตาม มีกองทุนฯ เป็นจำนวนมากประสบปัญหา หลังจากสมาชิกกู้เงินไปบางรายก็นำเงินมาส่งคืนทุกเดือน แต่บางรายไม่ส่งเงินคืนกองทุนฯ เลย ซ้ำร้ายพบว่ามีบางกองทุนฯ พอสมาชิกนำเงินมาส่งคืนให้กับเหรัญญิกกองทุนฯ ทุกเดือน เพื่อนำเงินไปเข้าบัญชีกองทุนฯ กับธนาคาร แต่ปรากฏว่าเหรัญญิก ไม่นำเงินที่สมาชิกมาส่งคืน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทุกเดือนไปเข้าบัญชีกองทุนฯ ที่ธนาคารแต่อย่างใด
จนกระทั่งสมาชิกส่งทั้งเงินต้นและดอกครบแล้ว จะมาขอกู้เงินใหม่ เพราะเป็นสมาชิกที่มีเครดิตดี แต่พอมายื่นเรื่องขอกู้เพิ่มกลับไม่สามารถกู้ได้ เนื่องจากเงินทั้งต้นและดอกเบี้ยที่ส่งมาทั้งหมดนั้น ทางเหรัญญิกไม่ได้นำส่งธนาคารแต่อย่างใด รวมเป็นยอดเงินกว่า 200,000 – 300,000 บาท ทำให้สมาชิกกลายเป็นคนที่มีเครดิตเสีย ไม่สามารถกู้เงินไปลงทุนต่อได้ จนทำให้ประธาน และรองประธานกองทุนฯ ต้องเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเหรัญญิก ฐานฉ้อโกงทรัพย์และให้รีบนำเงินมาคืนกองทุน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบว่ามีกองทุนชุมชนละ 1 ล้านบาทหลายแห่ง บริหารจัดการเงินกองทุนล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่มีเงินเหลือในการหมุนเวียนให้สมาชิกกู้เลยหรือบางแห่งเหลือไม่ถึง 100,000 บาท
ซ้ำร้ายพบมีบางกองทุนฯ กรรมการนำเงินที่เก็บจากสมาชิกที่กู้ไป แอบไปเล่นการพนันที่บ่อนกาสิโน ชายแดนฝั่งกัมพูชา ด้านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ทำให้สมาชิกหลายรายที่กู้เงินไปต้องแบกรับภาระมีหนี้สินกันจำนวนมาก ทั้งที่จ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคืนกองทุนทุกเดือนครบหมดแล้ว
“ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นความล้มเหลวของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองละ 1 ล้านบาท นโยบายประชานิยมที่เทเงินลงไปในหมู่บ้าน สร้างหนี้สินให้ประชาชนโดยที่คนและชุมชนไม่ความพร้อม โดยเฉพาะการนำไปสู่การลงทุนพัฒนาอาชีพสร้างงานสร้างรายได้อย่างแท้จริง และปัญหาเหล่านี้มีผุดมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เฉพาะที่ จ.บุรีรัมย์ แต่ได้เกิดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าไปแก้ไข ” แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาทใน จ.บุรีรัมย์ ซึ่งนโยบายประชานิยมที่ดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้นขณะนี้พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เฉพาะในส่วนของชุมชนเมือง ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ทั้ง 17 ชุมชน ที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท หลายชุมชนบริหารจัดการเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทล้มเหลว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกองทุนชุมชนละ 1 ล้านบาทในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์รายหนึ่ง เปิดเผยว่า การบริหารเงินกองทุนชุมชนเมืองละ 1 ล้านบาท นั้นแต่ละกองทุนฯ จะปล่อยกู้ให้ประชาชนสมาชิกฯ นำเงินไปลงทุนประกอบอาชีพเฉลี่ย รายละ 20,000-30,000 บาท ทั้งเพื่อค้าขาย เปิดกิจการของตัวเองเล็กๆน้อยๆ โดยจับกลุ่มละ 3 คน ค้ำประกันกันเอง คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท/เดือน ซึ่งทุกเดือนสมาชิกที่กู้เงินไปจะต้องส่งเงินคืนแก่เหรัญญิก ของกองทุนฯ ทุกเดือน เพื่อนำเงินเข้าบัญชีธนาคารของกองทุนฯ
อย่างไรก็ตาม มีกองทุนฯ เป็นจำนวนมากประสบปัญหา หลังจากสมาชิกกู้เงินไปบางรายก็นำเงินมาส่งคืนทุกเดือน แต่บางรายไม่ส่งเงินคืนกองทุนฯ เลย ซ้ำร้ายพบว่ามีบางกองทุนฯ พอสมาชิกนำเงินมาส่งคืนให้กับเหรัญญิกกองทุนฯ ทุกเดือน เพื่อนำเงินไปเข้าบัญชีกองทุนฯ กับธนาคาร แต่ปรากฏว่าเหรัญญิก ไม่นำเงินที่สมาชิกมาส่งคืน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทุกเดือนไปเข้าบัญชีกองทุนฯ ที่ธนาคารแต่อย่างใด
จนกระทั่งสมาชิกส่งทั้งเงินต้นและดอกครบแล้ว จะมาขอกู้เงินใหม่ เพราะเป็นสมาชิกที่มีเครดิตดี แต่พอมายื่นเรื่องขอกู้เพิ่มกลับไม่สามารถกู้ได้ เนื่องจากเงินทั้งต้นและดอกเบี้ยที่ส่งมาทั้งหมดนั้น ทางเหรัญญิกไม่ได้นำส่งธนาคารแต่อย่างใด รวมเป็นยอดเงินกว่า 200,000 – 300,000 บาท ทำให้สมาชิกกลายเป็นคนที่มีเครดิตเสีย ไม่สามารถกู้เงินไปลงทุนต่อได้ จนทำให้ประธาน และรองประธานกองทุนฯ ต้องเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเหรัญญิก ฐานฉ้อโกงทรัพย์และให้รีบนำเงินมาคืนกองทุน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบว่ามีกองทุนชุมชนละ 1 ล้านบาทหลายแห่ง บริหารจัดการเงินกองทุนล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ไม่มีเงินเหลือในการหมุนเวียนให้สมาชิกกู้เลยหรือบางแห่งเหลือไม่ถึง 100,000 บาท
ซ้ำร้ายพบมีบางกองทุนฯ กรรมการนำเงินที่เก็บจากสมาชิกที่กู้ไป แอบไปเล่นการพนันที่บ่อนกาสิโน ชายแดนฝั่งกัมพูชา ด้านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ทำให้สมาชิกหลายรายที่กู้เงินไปต้องแบกรับภาระมีหนี้สินกันจำนวนมาก ทั้งที่จ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคืนกองทุนทุกเดือนครบหมดแล้ว
“ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นความล้มเหลวของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองละ 1 ล้านบาท นโยบายประชานิยมที่เทเงินลงไปในหมู่บ้าน สร้างหนี้สินให้ประชาชนโดยที่คนและชุมชนไม่ความพร้อม โดยเฉพาะการนำไปสู่การลงทุนพัฒนาอาชีพสร้างงานสร้างรายได้อย่างแท้จริง และปัญหาเหล่านี้มีผุดมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เฉพาะที่ จ.บุรีรัมย์ แต่ได้เกิดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าไปแก้ไข ” แหล่งข่าวกล่าว